ภาษายุคใหม่ของวัยรุ่นไทย

          ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้ภาษาไทยเข้าสู่ยุควิกฤต คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่ใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมักจะรวบคำให้สั้นลง เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร หรือ  การบัญญัติคำศัพท์ใหม่ๆ ที่มีใช้เฉพาะกลุ่มขึ้นเพื่อความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งพฤติกรรม  การสื่อสารในลักษณะดังกล่าว ทำให้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของไทย เกิดปัญหาภาษาวิบัติ ภาษาวิบัติคืออะไร?           คำว่า “วิบัติ” มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ภาษาวิบัติ

ดอกไม้วิจิตรในงานช่างสิบหมู่

          การแสดงความรัก ความศรัทธาของผู้คนมีหลากหลายรูปแบบ นอกจากการแสดงด้วยกริยาท่าทางแล้ว เรายังนำเอาสิ่งของต่างๆ มาเป็นเครื่องมือที่สื่อถึงความรักความศรัทธานั้นด้วย ในพุทธศาสนามีการนำเอาดอกไม้มาเป็นสื่อสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศรัทธา การเคารพบูชา และการนับถือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน เมื่อพุทธศาสนิกชนจะบูชาพระรัตนตรัยจะจัดหาเครื่องสักการบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อมาบูชาศาสนวัตถุและศาสนสถานต่างๆ เรียกว่า “การบูชาด้วยอามิส” การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างสิบหมู่นำไปสร้างสรรค์ดอกไม้วิจิตรในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ช่างสิบหมู่คือใคร           “งานช่างสิบหมู่”

“ผ้าบาติก” มนต์เสน่ห์ความงามและศิลปะในชายแดนใต้

          ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ณ ปลายด้ามขวานทอง ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เป็นหนึ่งในพื้นที่อันสวยงาม มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นดินแดนที่มีความโดดเด่นทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ได้แก่ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยจีน เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนที่เป็นเอกลักษณ์และมากไปด้วยเสน่ห์ชวนค้นหา           “ผ้าบาติก”

เปิดตำรา : วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม โดยขวัญแก้ว วัชโรทัย

          วัฒนธรรมการบริโภคอาหารการกินที่กำลังได้รับความนิยม นอกเหนือจากคุณค่าทางสารอาหารที่ได้รับในแต่ละมื้อ การบริโภคอาหารสามารถสร้างความสุขจากการลิ้มลองอาหารได้ ข้อที่หนึ่งการได้ลิ้มลองอาหารที่ได้รับการยอมรับว่ามี “รสชาติ” เลิศกว่าปกติ ข้อที่สองการใช้เครื่องปรุงที่ “เลือกสรร” มาแล้วเป็นอย่างดี และข้อที่สาม “รูปลักษณ์” ของอาหารชวนให้น่าลิ้มลอง การศึกษาความรู้ในตำรา “วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม” โดยคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย จะทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการในการจัดโต๊ะอาหาร  การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสิ่งเล็กน้อยของวัฒนธรรมเกี่ยวกับวิธีการจัดเลี้ยงอาหารในโอกาสสำคัญต่างๆ ซึ่งเป็นต้นแบบหรือตำราทางวิชาการสำคัญในศิลปะการจัดโต๊ะอาหารที่ถูกต้อง        

งิ้ว : เปิดตำนานมหรสพจีนที่กำลังเลือนรางไป

          อุปรากรจีนหรืองิ้ว อยู่คู่สังคมไทยมาร้อยปี ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน ในสมัยสุโขทัยและได้เข้ามาตั้งหลักปักฐานในเมืองไทยในสมัยอยุธยา จึงเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมร่วมกับชาวจีน “งิ้ว” หนึ่งในมหรสพที่เกี่ยวข้องกับสังคม วัฒนธรรมและแนวคิดการดำรงชีวิตของชาวจีน ที่ยังได้รับการสืบทอดและปรับเปลี่ยนให้สามารถอยู่คู่กับสังคมไทยท่ามกลางความบันเทิงสมัยใหม่หลั่งไหลเข้ามา           คนไทยเรารู้จัก “งิ้ว”มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากบันทึกรายวันและจดหมายเหตุ กล่าวถึง  การเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงเดอ ชัวสี ตาชารต์ ทูตพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในคราวที่ติดตาม มองซิเออร์ เลอ เชอวาเลีย เตอโซมองต์ เมื่อวันที่

ตามรอยราชินีดอกไม้ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

          หากกล่าวถึง “ราชินีดอกไม้” จะนึกถึงดอกกุหลาบภูพิงค์ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์    พระตำหนักทรงไทยที่ตั้งอยู่ท่ามกลางดอกกุหลาบหลากสีหลายร้อยพันธุ์ ที่ส่งกลิ่นหอมตลบและประชันความงามอยู่ทั่วบริเวณพระตำหนักแห่งนี้ส่งผลให้ภูพิงคราชนิเวศน์สดสวยราวอุทยานสวรรค์ กุหลาบภูพิงค์ขึ้นจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนพันปีหลวงทรงพระราชเสาวนีย์ในการปลูกกุหลาบภูพิงค์ เป็นเวลาเกือบ 50 ปีทีได้มีสั่งสมประสบการณ์นอกเหนือตำรา จนก่อกำเนิด “กุหลาบภูพิงค์” ซึ่งได้รับคำชมว่าเป็นกุหลาบที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก   รูปที่ 1 พระตำหนักคราชนิเวศน์ ที่มา : http://www.bhubingpalace.org/  

มาลัยข้าวตอก : ธัญพืชแห่งศรัทธาแห่งลุ่มน้ำชี

          ประเทศไทยเป็นประเทศการเกษตรมีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนในประเทศและเหลือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย สังคมไทยนิยมปลูกข้าวเพื่อบริโภคมาตั้งแต่ยุคโบราณ เรียกได้ว่า ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมไทย พิธีกรรมการปลูกข้าว การแปรรูปข้าวจึงเกิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่ชาวบ้านในแต่ละท้องที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งประเพณีที่เกิดจากข้าว ได้แก่ พิธีแห่นางแมวขอฝน พิธีแรกนาขวัญ พิธีขนข้าวเข้ายุ้ง พิธีล้อมข้าว และพิธีแห่มาลัยข้าวตอก   ภาพที่ 1 ประเพณีมาลัยข้าวตอก ที่มา : http://www.fayardmun.go.th/index.php    

เที่ยววันเดียวจบครบรสที่เมืองแม่กลอง

          สังคมในเมืองปัจจุบันให้ความสนใจในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในชุมชนมากขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมที่แออัดของคนในกรุงเทพมหานครทำให้การพักผ่อนในรูปแบบท่องเที่ยวจึงเป็นที่ต้องการของคนในยุคปัจจุบัน จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคนในเมือง ด้วยระยะทางใกล้กับกรุงเทพมหานคร สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดู สมุทรสงครามในวันนี้จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในวันสุดสัปดาห์ที่นักท่องเที่ยวหลายคนติดใจในเสน่ห์และวิถีชีวิตคนในเมือง ประวัติจังหวัดสมุทรสงคราม           “เมืองแห่งวิถีชีวิต 3 น้ำอย่างยั่งยืน แหล่งอาหารทะเลและการเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง” คำขวัญประจำจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเล็กๆที่ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทยค่อนลงมาทางใต้ตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านตะวันตก ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบชายฝั่งทะเลบริเวณปากน้ำแม่กลอง จึงได้นามว่า “เมืองแม่กลอง” แต่เดิมเมืองแม่กลองเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานชื่อเมืองในพระไอยการนาทหารหัวเมืองกฎหมายตราสามดวงซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีอายุมากกว่า 500

ขนมโคโบราณจากแหล่งใต้

          ขนมไทยโบราณ เป็นอาหารคู่สำรับกับข้าวของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดังคำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำตั้งแต่วัตถุดิบวิธีการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม และรูปลักษณะที่ชวนน่ารับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามลักษณะต้นกำเนิดของขนมในแต่ละภูมิภาค ประวัติขนมโค           “ขนมโค” มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนในพื้นถิ่นที่ว่า ขนมโคเป็นขนมมงคลใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้บูชาผี-เทวดา  เช่น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระพิฆเนศ เป็นต้น ขนมอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้นิยมนำวัสดุในท้องถิ่นมาทำเป็นขนมเพื่อบูชาองค์พิฆเนศ ซึ่งทางปักษ์ใต้เองก็มีขนมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ขนมดู ทำจากแป้งข้าวเจ้า

หนังประโมทัยอีสาน : หนังตะลุงของคนอีสาน

          ศิลปะการแสดงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากอารมณ์ ความรู้สึกและภูมิปัญญาถ่ายทอดมาสู่การแสดงนั้นๆ มีการรักษาให้คงอยู่ต่อไปและปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่ทันยุคสมัยในปัจจุบัน การแสดงหนังประโมทัยอีสาน เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและกลายเป็นมหรสพประจำถิ่น ที่มีชื่อเรียกต่างๆกันไปหลายชื่อ เช่น หนังปราโมทัย หมายถึง ความบันเทิงใจ, หนังปะโมทัย หมายถึง เป็นชื่อคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียง, หนังบักตื้อ หรือปลัดตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว เป็นต้น         ภาพที่ 1 :