ประวัติที่มาของ ฟ้อนที

     ฟ้อนที (ฟ้อนร่ม) โดยคำว่า “ที” หมายถึง ร่ม เป็นภาษาไต (ไทใหญ่,ไทลื้อ) ใช้เรียกในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฟ้อนทีจะมีการแสดงในหลายจังหวัด
ในภาคเหนือและมีความแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัดฟ้อนทีของจังหวัดแม่ฮ่องสอนนิยมใช้รูปทรงสวยและใช้อุปกรณ์ประกอบการรำและลีลาในการรำ
เป็นผลงานจากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฏศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอนมีการแปรแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม การหุบร่ม

ดนตรีที่ใช้ประกอบในการแสดง จะเป็นดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึงใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย กรับคู่
และกลองพื้นเมือง

เครื่องแต่งกายประกอบการแสดงฟ้อนที โดยการแต่งกายจะมุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมภาคเหนือแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบหญิงไทลื้อ และแบบหญิงล้านนาแบบไทลื้อ นุ่งซิ่นลายขวางเสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบ
ล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้าคาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว เกล้าผมมวยตั้งกระบังผมหน้าสูง ประดับดอกไม้เงินเครื่องประดับมีเข็มขัด กำไลข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู และการแสดงฟ้อนที จะใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที

ข้อมูลข่าวและที่มา ภาพ/ผู้เรียบเรียง : เดชนรินทร์ ชุบขุนทด
แหล่งที่มา : งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม) ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง

อ้างอิง :

pawarisilp. [ออนไลน์]. ประวัติฟ้อนที. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 จาก

https://www.pawarisilp.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5/

Youtube. [ออนไลน์]. รำไทย ฟ้อนที (ฟ้อนร่ม) โดย ไอยรัศมิ์ Traditional Thai dance.

สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 จาก

https://youtu.be/5tPpk9edPXs

ชมรมสรีนาฏล้านนา. [ออนไลน์]. ฟ้อนที. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 จาก

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2028922880669905&type=3