สวยดอก หรือ กรวยดอกไม้ จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลไม่ปรากฎที่มาที่แน่ชัด แต่สันนิฐานว่าเกิดจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล้านช้างในอตีต) ของไทย เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์ท้องถิ่นขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรม แต่ที่เด่นชัดและยังคงวัฒนธรรมการทำสวยดอก หรือ กรวยดอกไม้อยู่อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันนั้นคือ ภาคเหนือ (ล้านนา) ไทย สวยดอก หรือกรวยดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามความเชื่อทั้งพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมความเชื่อท้องถิ่น ในด้านประเพณี เช่นประเพณีปีใหม่ หรือ สงกรานต์ นิยมนำไปเป็นเครื่องสักการะ คาราวะดำหัวผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสของท้องถิ่น สวยดอกจะประกอบด้วยสวยหรือกรวยซึ่งจะทำจากชิ้นใบตองเย็บเป็นทรงกรวยเรียวแหลมที่ส่วนก้น
พระไทย 2 นิกาย กับความเหมือนที่แตกต่าง
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน) ซึ่งเป็นศาสนาอเทวนิยม (อเทวนิยม คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าและเชื่อในกฎธรรมชาติ) ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี ในชมพูทวีป คำว่า “ชมพูทวีป” ในที่นี้หมายถึงดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศ ในปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากสุด 3 อันดับแรกคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ
เรือพระราชพีธี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ประเทศไทยเรามีวิถีชีวิตเกี่ยวกับสายน้ำมาช้านานการเดินทางในสมัยโบราณสัญจรทางน้ำเป็นหลักรวมถึงการดำเนินชีวิต การค้าขาย แม้กระทั่งใช้ในการสงคราม ทั้งในชนชั้นผู้ปกครองและชาวบ้านสามัญชนคนธรรมดา ย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรือคือยานพาหนะที่สำคัญที่สุด วัสดุที่นำมาทำเป็นเรือส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นโดยนำต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มาขุดหรือต่อขึ้นเป็นลำเรือ ต่างกันตรงที่การต่อเรือในราชสำนักจะมีความวิจิตรประณีตสวยงาม โดยมีการแกะสลักตัวลำเรือและโขนหัวเรือเป็นรูปสัตว์ในความเชื่อ เช่น เป็นรูปพญานาค พญาครุฑ และรูปหัวหงส์ เป็นต้น “เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์” (ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา) ได้มีการจดบันทึกกล่าวถึงเรือเล็ก และเรือยาวในยุคนั้นว่า “ในเรือยาวลำหนึ่ง ลางทีก็มีฝีพายตั้งแต่ 100 ถึง 120 คน
5 อาหารเหนือสุดแสนลำ ที่ต้องไม่พลาด
ผู้คนส่วนใหญ่มักจะรู้แล้วว่าศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือมีวัฒนธรรมร่วมหรือคล้ายคลึงมาจากอาณาจักรล้านนาในอดีต อาหารพื้นเมืองของภาคเหนือก็ได้รับวัฒนธรรมร่วมอยู่ด้วย โดยอาหารพื้นเมืองภาคเหนือจะมีปัจจัยที่ทำให้อาหารพื้นเมืองแตกต่างจากภาคอื่นเลยนั้นคือสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เนื่องจากที่ตั้งของภาคเหนือตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ก็จะเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่และเป็นป่าทึบ อาหารพื้นเมือง ของภาคเหนือจะมีวัตถุดิบในการประกอบอาหารโดยมีผักเป็นส่วนประกอบหลัก ลักษณะเด่นของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ โดยเอกลักษณ์ของอาหารเหนือก็คือ อาหารภาคเหนือจะไม่นิยมใส่น้ำตาล แต่อาหารนั้นจะได้จากส่วนผสม ที่นำมาทำอาหารก็คือ ผัก โดยนำผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์มาเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน เป็นต้น และอาหารของภาคเหนือก็จะมีความผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลากหลายกลุ่มชน คนภาคเหนือจะนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก และจะรับประทานร่วมกับน้ำพริก ใส้อั่วและแคบหมู แต่อย่างที่กล่าวไปนั้นภาคเหนือมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น ดังนั้นพอรับประทานเข้าไปแล้วก็จะมีการช่วยให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น โดยน้ำพริกจะมีหลากหลายชนิดยกตัวอย่าง เช่น น้ำพริกอ่อง ,
เครื่องแต่งกายพื้นเมืองชาวเหนือ
เครื่องแต่งกายแบบพื้นเมืองของภาคเหนือ เป็นตัวบ่งบอกของคนในแต่ละถิ่น สำหรับในเขตพื้นที่ภาคเหนือซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ในอดีต ที่เป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่และครอบคลุมไปใน ๔ ประเทศได้แก่ ไทย , เมียนมาร์ (พม่า) , ลาว , และจีน ในปัจจุบัน ดังนั้นคนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปซึ่งจะบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น สำหรับพื้นที่ของอาณาจักรล้านนาที่อยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันมีอยู่ ๘ จังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
ประวัติที่มาของ ฟ้อนที
ฟ้อนที (ฟ้อนร่ม) โดยคำว่า “ที” หมายถึง ร่ม เป็นภาษาไต (ไทใหญ่,ไทลื้อ) ใช้เรียกในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฟ้อนทีจะมีการแสดงในหลายจังหวัด ในภาคเหนือและมีความแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัดฟ้อนทีของจังหวัดแม่ฮ่องสอนนิยมใช้รูปทรงสวยและใช้อุปกรณ์ประกอบการรำและลีลาในการรำ เป็นผลงานจากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฏศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอนมีการแปรแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม
ประวัติที่มาของ ฟ้อนขันดอก
ฟ้อนขันดอก” เป็นการแสดงนาฎศิลป์สร้างสรรค์ของชาวล้านนา โดยเริ่มจาก พ่อครูมานพ ยาระนะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดงพื้นบ้านประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยฟ้อนขันดอกนั้นมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงการรำประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัย เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็นให้แก่บ้านเมืองโดย มีอุปกรณ์การแสดงเป็นขันดอก หรือพานใส่ดอกไม้แบบล้านนา ซึ่งตกแต่งเพื่อใช้ในการบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ในงานบุญพิธีทางศาสนา ฟ้อนขันดอกถือว่าเป็นศิลปะการแสดงที่มีเสน่ห์ที่สำคัญอย่างมากของชาวเหนือ มีการแสดงที่มีความสวยงามและมีท่าทางที่อ่อนช้อยและมีจังหวะ ในการแสดงที่ค่อยๆเคลื่อนไปตามจังหวะบรรเลงของดนตรีอย่างช้าๆ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของฟ้อนขันดอกก็คือ การถือพานไม้แล้วด้านในพาน จะนำดอกไม้ที่ใช้ตกแต่งบูชาพระรัตนตรัย และมีท่าการฟ้อนโดยการโปรยดอกไม้ขึ้นเหนือศีรษะ และชวนให้ผู้ชมการแสดงนั้นได้เข้าสู่ห้วงภวังค์แห่งเสน่ห์ของการแสดงฟ้อนขันดอกของชาวล้านนา เครื่องแต่งกายสำหรับการแสดงฟ้อนขันดอก โดยผู้แสดงจะนุ่งผ้ามีเชิงยาวถึงเท้า สวมเสื้อเกาะอกพร้อมห่มสไบยาวคล้องคลุมปล่อยชายสไบ ลงมาถึงเข่าการแต่งกายลักษณะแบบนี้มีผลมาจากสภาพภูมิอากาศของภาคเหนือ
การฟ้อน ศิลปะการแสดงขึ้นชื่อของชาวล้านนา
การฟ้อนของชาวล้านนาในอดีตประกอบไปด้วยลีลาท่าทางที่เลียนแบบหรือดัดแปลงแบบหรือแปลงมาจากธรรมชาติ มักมีลักษณะเป็นศิลปะตาม เผ่าพันธุ์โดยแท้จริง กล่าวคือเชื่องช้าแช่มช้อยสวยงามไม่มีลีลาท่ารำที่ซับซ้อนยุ่งยาก ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับใด ๆ เป็นท่าง่ายๆสั้นๆมักแสดง เป็นชุดมีมากมายหลายรูปแบบ และขนานนามชุดการแสดงหรือกระบวนฟ้อนนั้นๆ ตามเชื้อชาติของผู้ฟ้อนซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นพื้นเมืองว่า ช่างฟ้อน ( ออกเสียงว่า “ จ้างฟ้อน ” ) และหมายรวมกันไปหมดทั้งชายและหญิง ชาวพม่าจะเรียกการแสดงหรือการฟ้อนชุดนั้นว่า ฟ้อนม่าน คนไต หรือคนไทใหญ่ ( ออกเสียงว่า “ ไต ” แต่ไม่เรียก ฟ้อนไทใหญ่ ”
ขนมหันตรา
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนม ขนมหันตรา หรือขนมฝอย เป็นขนมโบราณ ที่นำถั่วกวนมาตกแต่งให้ดูน่ากินมากขึ้น ใช้ได้ทั้ง ถั่วดำ ถั่วแดง แต่นิยมคือถั่วเขียว โดยนำไข่มาห่อให้เป็นตารางสวยงาม ขนมหันตราเป็นขนมมงคลของไทยที่มีมาแต่โบราณ ใช้สำหรับงานมงคล การทำขนมหันตราโบราณ มีวิธีการทำที่ต้องใช้เวลา ความพยายาม ความอดทน และที่สำคัญเป็นขนมไทยที่ต้องใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อนและมีความประณีต ส่วนผสม ขนมหันตรา ส่วนผสมนเำเชื่อมน้ำลอย น้ำตาลทราย ๕๐๐
ล่าเตียง
“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน” ส่วนหนึ่งจากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ “ล่าเตียง” คือ อาหารว่างไทยโบราณอย่างหนึ่ง จาก ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้กล่าวถึงล่าเตียง ว่าเป็นเครื่องเคียงในสำรับกับข้าวซึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้งผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ เป็นอาหารโบราณที่หารับประทานได้ยาก เนื่องจากมีวิธีการปรุงที่ต้องใช้ศิลปะและต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างมากอีกทั้ง ล่าเตียง ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสำรับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีหมายรับสั่งให้จัดทำไปเลี้ยงในงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกด้วย วัตถุดิบ ส่วนผสมไส้ขนม หมูสับ ๑๐๐ กรัม