เกาะเกร็ดอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวและเป็นสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชาวปากเกร็ดนนทบุรีมาอย่างยาวนาน เกาะเกร็ดเป็นเกาะในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นอกจากจะเป็นแหล่งชุมชนที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน เกาะเกร็ดยังเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ทางภูมิปัญญาให้แก่ผู้ที่สนใจ รวมทั้งมีการพัฒนาสถานที่ให้เหมาะกับผู้คน และการท่องเที่ยวในปัจจุบันมากขึ้น อีกทั้งได้รู้จักกับชุมชนเกาะเกร็ดในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะชวนให้อยากเข้ามาสัมผัสบรรยากาศ ทำกิจกรรม พักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัว ทั้งสถานที่เกี่ยวกับแหล่งโบราณศิลปวัฒนธรรม แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมไปถึงที่ถ่ายรูปมากมายให้ได้เก็บภาพความทรงจำของเกาะเกร็ดอีกด้วย แหล่งท่องเที่ยวดั้งเดิม แหล่งการเรียนรู้ วิถีชุมชน และศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานในเกาะเกร็ด วัดปรมัยยิกาวาส
เปิดตำรา : วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม โดยขวัญแก้ว วัชโรทัย
วัฒนธรรมการบริโภคอาหารการกินที่กำลังได้รับความนิยม นอกเหนือจากคุณค่าทางสารอาหารที่ได้รับในแต่ละมื้อ การบริโภคอาหารสามารถสร้างความสุขจากการลิ้มลองอาหารได้ ข้อที่หนึ่งการได้ลิ้มลองอาหารที่ได้รับการยอมรับว่ามี “รสชาติ” เลิศกว่าปกติ ข้อที่สองการใช้เครื่องปรุงที่ “เลือกสรร” มาแล้วเป็นอย่างดี และข้อที่สาม “รูปลักษณ์” ของอาหารชวนให้น่าลิ้มลอง การศึกษาความรู้ในตำรา “วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม” โดยคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย จะทำให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการในการจัดโต๊ะอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสิ่งเล็กน้อยของวัฒนธรรมเกี่ยวกับวิธีการจัดเลี้ยงอาหารในโอกาสสำคัญต่างๆ ซึ่งเป็นต้นแบบหรือตำราทางวิชาการสำคัญในศิลปะการจัดโต๊ะอาหารที่ถูกต้อง
ตามรอยราชินีดอกไม้ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
หากกล่าวถึง “ราชินีดอกไม้” จะนึกถึงดอกกุหลาบภูพิงค์ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระตำหนักทรงไทยที่ตั้งอยู่ท่ามกลางดอกกุหลาบหลากสีหลายร้อยพันธุ์ ที่ส่งกลิ่นหอมตลบและประชันความงามอยู่ทั่วบริเวณพระตำหนักแห่งนี้ส่งผลให้ภูพิงคราชนิเวศน์สดสวยราวอุทยานสวรรค์ กุหลาบภูพิงค์ขึ้นจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนพันปีหลวงทรงพระราชเสาวนีย์ในการปลูกกุหลาบภูพิงค์ เป็นเวลาเกือบ 50 ปีทีได้มีสั่งสมประสบการณ์นอกเหนือตำรา จนก่อกำเนิด “กุหลาบภูพิงค์” ซึ่งได้รับคำชมว่าเป็นกุหลาบที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รูปที่ 1 พระตำหนักคราชนิเวศน์ ที่มา : http://www.bhubingpalace.org/
หลวงพระบางเมืองมรดกโลก: ช้างสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์สู่สินค้าหัตถกรรม
อาณาจักรล้านช้าง ในตำนานของขุนบรมมีคำว่าช้างปรากฏตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือประมาณปี พ.ศ.2063 ต่อมาก็ได้พบกับคำว่า ล้านช้าง ตามพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เช่น ฉบับแรก พบปรากฏอยู่กับศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา ประมาณ พ.ศ. 2016 จารึกด้วยอักษรธรรมปรากฏคำว่า ศรีสัตนาคนหุตมหานครราชธานี คำว่า สตะนาคนะหุต แปลว่า ร้อย นาคะแปลว่าช้าง และนะหุตแปลว่า หมื่น เมื่อรวมกันแล้วจะได้คำว่า ช้างล้านตัว หรือล้านช้าง (ปิยฉัตร์ สินธุสะอาด, 2540)
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
โดย นายสุรัติ หาญกำธร ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยุโขทัยธรรมาธิราช สุโขทัย พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลมาจากลังกาและพม่า นิยมแบ่งพระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น ๔ หมวด คือ หมวดใหญ่ หมวดกำแพงเพชร หมวดพระพุทธชินราช และหมวดเบ็ดเตล็ด พระพุทธรูทั้ง ๔ หมวด แบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่นแรกมีวงพระพักตร์กลมแบบลังกา รุ่นที่ ๒ มีวงพระพักตร์ยาวและพระหนุเสี้ยม รุ่นที่ ๓ พระพักตร์รูปไข่คล้ายแบบอินเดีย