ขนมหันตรา

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนม ขนมหันตรา หรือขนมฝอย เป็นขนมโบราณ ที่นำถั่วกวนมาตกแต่งให้ดูน่ากินมากขึ้น ใช้ได้ทั้ง ถั่วดำ ถั่วแดง แต่นิยมคือถั่วเขียว โดยนำไข่มาห่อให้เป็นตารางสวยงาม ขนมหันตราเป็นขนมมงคลของไทยที่มีมาแต่โบราณ ใช้สำหรับงานมงคล การทำขนมหันตราโบราณ มีวิธีการทำที่ต้องใช้เวลา ความพยายาม ความอดทน และที่สำคัญเป็นขนมไทยที่ต้องใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อนและมีความประณีต ส่วนผสม ขนมหันตรา ส่วนผสมนเำเชื่อมน้ำลอย น้ำตาลทราย ๕๐๐

ล่าเตียง

“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน” ส่วนหนึ่งจากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ “ล่าเตียง” คือ อาหารว่างไทยโบราณอย่างหนึ่ง จาก ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้กล่าวถึงล่าเตียง ว่าเป็นเครื่องเคียงในสำรับกับข้าวซึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้งผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ เป็นอาหารโบราณที่หารับประทานได้ยาก เนื่องจากมีวิธีการปรุงที่ต้องใช้ศิลปะและต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างมากอีกทั้ง ล่าเตียง ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสำรับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีหมายรับสั่งให้จัดทำไปเลี้ยงในงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกด้วย วัตถุดิบ ส่วนผสมไส้ขนม หมูสับ ๑๐๐ กรัม

เกาะเกร็ดเลื่องลือ ขึ้นชื่อทอดมันหน่อกะลา เพิ่มคุณค่าอาหารท้องถิ่น

        ที่มา:  https://www.chillpainai.com/scoop/8924/ ลําน้ำเจ้าพระยาที่ไหลจากทางเหนือผ่านบ้านบางตะไนย์ บ้านใหม่ บ้านบางพูด และบ้าน ปากเกร็ด จากบ้านปากเกร็ดตรงบริเวณที่ลําน้ำไหลโค้งอ้อมเป็นรูปเกือกม้า ทําให้เกิดผืนดินเป็นแหลม ยื่นไปตามความโค้งของลําน้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนแคบที่สุดของแหลมได้มีการขุดทางน้ำเล็กๆ ที่ชาวบ้าน เรียกว่า เกร็ด หรือ เตร็ดมาก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดเกร็ดเป็นทางการ เกาะเกร็ด เป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ประมาณ 2,820 ไร่ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นมากมายไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามหรือจะล่องเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยาสู่คลองสวนผลไม้และคลองขนมหวาน เกาะเกร็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยวลือชื่อของเมืองนนท์รู้จักกันดีในฐานะแหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียง ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี เกาะเกร็ดเป็นสถานที่ขึ้นชื่อของชุมชนกลุ่มชาวมอญและมีเครื่องปั้นดินเผา

“ลูกเห็ด”หรือ“ลูกเผ็ด”หรือ“ลูกหนวย”ทอดของหรอย-ทอดมันปักษ์ใต้

อาหารพื้นบ้านภาคใต้           อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการค้า การเดินเรือ ของพ่อค้าจากอินเดีย จีน และชวาในอดีต ทำให้วิถีวัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีการกินของชาวใต้เป็นอย่างมาก สำหรับบทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการทำอาหารใต้ชนิดหนึ่งที่คนภาคใต้เรียกว่า “ลูกเห็ด”หรือ “ลูกเผ็ด” หรือ“ลูกหนวย”ทอด ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักสมุนไพรไทยและคุณสมบัติสมุนไพรไทย ซึ่งอยู่ในส่วนผสมของเครื่องแกงใต้กันก่อน 9 สมุนไพรไทยกับคุณประโยชน์มากมายที่อยู่ในส่วนผสมของเครื่องแกงใต้            อาหารของภาคใต้นั้นมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้ง ๒

ขนมโคโบราณจากแหล่งใต้

          ขนมไทยโบราณ เป็นอาหารคู่สำรับกับข้าวของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดังคำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำตั้งแต่วัตถุดิบวิธีการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม และรูปลักษณะที่ชวนน่ารับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามลักษณะต้นกำเนิดของขนมในแต่ละภูมิภาค ประวัติขนมโค           “ขนมโค” มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนในพื้นถิ่นที่ว่า ขนมโคเป็นขนมมงคลใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้บูชาผี-เทวดา  เช่น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระพิฆเนศ เป็นต้น ขนมอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้นิยมนำวัสดุในท้องถิ่นมาทำเป็นขนมเพื่อบูชาองค์พิฆเนศ ซึ่งทางปักษ์ใต้เองก็มีขนมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ขนมดู ทำจากแป้งข้าวเจ้า