เที่ยววันเดียวจบครบรสที่เมืองแม่กลอง

          สังคมในเมืองปัจจุบันให้ความสนใจในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในชุมชนมากขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมที่แออัดของคนในกรุงเทพมหานครทำให้การพักผ่อนในรูปแบบท่องเที่ยวจึงเป็นที่ต้องการของคนในยุคปัจจุบัน จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากคนในเมือง ด้วยระยะทางใกล้กับกรุงเทพมหานคร สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดู สมุทรสงครามในวันนี้จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในวันสุดสัปดาห์ที่นักท่องเที่ยวหลายคนติดใจในเสน่ห์และวิถีชีวิตคนในเมือง ประวัติจังหวัดสมุทรสงคราม           “เมืองแห่งวิถีชีวิต 3 น้ำอย่างยั่งยืน แหล่งอาหารทะเลและการเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ …

Read More

ขนมโคโบราณจากแหล่งใต้

          ขนมไทยโบราณ เป็นอาหารคู่สำรับกับข้าวของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดังคำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำตั้งแต่วัตถุดิบวิธีการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม และรูปลักษณะที่ชวนน่ารับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามลักษณะต้นกำเนิดของขนมในแต่ละภูมิภาค ประวัติขนมโค           “ขนมโค” มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนในพื้นถิ่นที่ว่า …

Read More

หนังประโมทัยอีสาน : หนังตะลุงของคนอีสาน

          ศิลปะการแสดงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากอารมณ์ ความรู้สึกและภูมิปัญญาถ่ายทอดมาสู่การแสดงนั้นๆ มีการรักษาให้คงอยู่ต่อไปและปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่ทันยุคสมัยในปัจจุบัน การแสดงหนังประโมทัยอีสาน เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและกลายเป็นมหรสพประจำถิ่น ที่มีชื่อเรียกต่างๆกันไปหลายชื่อ เช่น หนังปราโมทัย หมายถึง ความบันเทิงใจ, หนังปะโมทัย หมายถึง เป็นชื่อคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียง, หนังบักตื้อ …

Read More

กะเหรี่ยงโปว์ :ชนชาติต่างถิ่นในแดนไทย

         สยามเมืองยิ้ม เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยปรากฏชนชาติต่างๆตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย อาทิ ชาวพม่า ชาวไทย ชาวลาว ชาวชวา ชาวมลายู หรือชาวกระเหรี่ยง และชนชาติอื่นๆอีก ซึ่งความหลากหลายของชาติพันธุ์ดังกล่าวนี้นำมาซึ่งความแตกต่างของ            วิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมที่ปะปนอยู่ในสังคมไทยมาอย่างช้านาน “กะเหรี่ยง” …

Read More

กำเนิดระบำอัปสรา (Apsara Dance)

          “ชนชาติขอม” เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณสถานไว้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นพบประเทศไทยมีปราสาทขอมในที่ราบสูงอีสานทั้งสิ้น 155 แห่ง จังหวัดที่พบร่องรอยมากที่สุดคือ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 แห่ง การก่อสร้างปราสาทขอม สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่าเทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ …

Read More

ฟ้อนรำตังหวาย : ศิลปะแขนงนาฏศิลป์ไทยคู่อีสาน

          นาฏศิลป์และนาฎยศิลป์เป็นศิลปะการฟ้อนรำ แขนงหนึ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ ถิ่นที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพต่างๆ ภาคอีสานหรือตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย วิถีชีวิตของคนในพื้นที่นี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เกิดความเชื่อเรื่องเทพเจ้า บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา โดยเริ่มจากวิงวอนอธิษฐาน ด้วยการเล่นเครื่องดนตรี การร้องและการรำเพื่อให้เทพเจ้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุด     …

Read More

เยาวราช : ถิ่นย่านการค้าชุมชนชาวจีน

          ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ชนชาติจีน” กลุ่มคนสำคัญที่มีบทบาทในสังคมไทย ขึ้นชื่อในเรื่องการค้าขายได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาได้นำวัฒนธรรม รูปแบบการใช้ชีวิต การกิน และเทศกาลต่างๆเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ประวัติย่านไชน่าทาวน์เยาวราช           ภาพที่ ๑ …

Read More

“สังขละบุรี” : วิถีชีวิตชาวมอญลุ่มแม่น้ำซองกาเลีย

          ช่วงปลายฝนต้นหนาวกำลังมาถึง เหล่านักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยกำลังวางแพลนในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อไปสัมผัสอากาศที่หนาวเย็น เห็นได้จากโลกออนไลน์จากเพจแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้กดไลค์และให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อีกทั้งได้รับการกล่าวขานในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความน่ารักของชาวบ้านไทย-มอญที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน           ภาพที่ 1  …

Read More

ลายไทย : พุ่มข้าวบิณฑ์

 ลายไทย เป็นแขนงหนึ่งของวิชาศิลปะซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ลวดลายต่างๆที่ถูกรังสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของประติมากรรมและสถาปัตยกรรมที่ตั้งตระหง่านอยู่ในแต่ละภูมิภาคของไทย ซึ่งลวดลายต่างๆ จะให้ความรู้สึกอ่อนช้อย งดงาม นุ่มนวล เป็นลักษณะนิสัยของคนไทย จึงมีการสืบสานและวางแผนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  “ลาย” ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็นสำคัญ ลักษณะเป็นแบบซ้ำๆ เป็นหมู่ๆ หรือต่อเนื่องกันไป มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ใช้เขียน ปั้น หรือแกะสลัก จึงแบ่งความหมายของลายไทยตามลักษณะวิธีการสร้างสรรค์ได้ …

Read More

เครื่องปั้นดินเผา จากอดีตสู่ปัจจุบัน

มนุษย์คือผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ “เครื่องปั้นดินเผา” เป็นหนึ่งในการประดิษฐ์ศิลปะในรูปแบบของ       ดินเผาที่มีอายุนานกว่า 10,000 ปี ผ่านกระบวนการทางความคิด การสังเกต และรวบรวมเอาประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์มาถ่ายทอดเป็นชิ้นงาน ที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ซึ่งลวดลาย รูปทรง และสีสัน ของชิ้นงานเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิศาสตร์ ความเชื่อ ศาสนาและประเพณีตามถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของเครื่องปั้นดินเผา หมายถึง วัตถุประดิษฐ์เพื่อใช้เป็นเครื่องใช้ ทำมาจากอนินทรียสารอโลหะ …

Read More