สวยดอก หรือ กรวยดอกไม้ จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลไม่ปรากฎที่มาที่แน่ชัด แต่สันนิฐานว่าเกิดจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล้านช้างในอตีต) ของไทย เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์ท้องถิ่นขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรม แต่ที่เด่นชัดและยังคงวัฒนธรรมการทำสวยดอก หรือ กรวยดอกไม้อยู่อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันนั้นคือ ภาคเหนือ (ล้านนา) ไทย สวยดอก หรือกรวยดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามความเชื่อทั้งพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมความเชื่อท้องถิ่น ในด้านประเพณี เช่นประเพณีปีใหม่ หรือ สงกรานต์ นิยมนำไปเป็นเครื่องสักการะ คาราวะดำหัวผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสของท้องถิ่น สวยดอกจะประกอบด้วยสวยหรือกรวยซึ่งจะทำจากชิ้นใบตองเย็บเป็นทรงกรวยเรียวแหลมที่ส่วนก้น
ดอกไม้วิจิตรในงานช่างสิบหมู่
การแสดงความรัก ความศรัทธาของผู้คนมีหลากหลายรูปแบบ นอกจากการแสดงด้วยกริยาท่าทางแล้ว เรายังนำเอาสิ่งของต่างๆ มาเป็นเครื่องมือที่สื่อถึงความรักความศรัทธานั้นด้วย ในพุทธศาสนามีการนำเอาดอกไม้มาเป็นสื่อสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศรัทธา การเคารพบูชา และการนับถือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน เมื่อพุทธศาสนิกชนจะบูชาพระรัตนตรัยจะจัดหาเครื่องสักการบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อมาบูชาศาสนวัตถุและศาสนสถานต่างๆ เรียกว่า “การบูชาด้วยอามิส” การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างสิบหมู่นำไปสร้างสรรค์ดอกไม้วิจิตรในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ช่างสิบหมู่คือใคร “งานช่างสิบหมู่”
“ผ้าบาติก” มนต์เสน่ห์ความงามและศิลปะในชายแดนใต้
ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ณ ปลายด้ามขวานทอง ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เป็นหนึ่งในพื้นที่อันสวยงาม มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นดินแดนที่มีความโดดเด่นทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ได้แก่ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยจีน เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนที่เป็นเอกลักษณ์และมากไปด้วยเสน่ห์ชวนค้นหา “ผ้าบาติก”
เครื่องปั้นดินเผา จากอดีตสู่ปัจจุบัน
มนุษย์คือผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ “เครื่องปั้นดินเผา” เป็นหนึ่งในการประดิษฐ์ศิลปะในรูปแบบของ ดินเผาที่มีอายุนานกว่า 10,000 ปี ผ่านกระบวนการทางความคิด การสังเกต และรวบรวมเอาประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์มาถ่ายทอดเป็นชิ้นงาน ที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต ซึ่งลวดลาย รูปทรง และสีสัน ของชิ้นงานเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิศาสตร์ ความเชื่อ ศาสนาและประเพณีตามถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของเครื่องปั้นดินเผา หมายถึง วัตถุประดิษฐ์เพื่อใช้เป็นเครื่องใช้ ทำมาจากอนินทรียสารอโลหะ คือแร่ธาตุและหินเป็นหลัก โดยผ่านกรรมวิธีการเผา เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง ซึ่งปัจจุบันจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า “เซรามิค” จะให้ความหมายที่กว้างและคลอบคลุมถึงโลหะเคลือบ เช่น ช้อน สังกะสี อิฐ
“ผ้าไหมแพรวา” ราชินีแห่งไหม ชาวภูไทกาฬสินธุ์
เมื่อกล่าวถึง “ผ้าไหมแพรวา” ศิลปหัตถกรรมของชาวผู้ไทที่ได้รับสมญาณนามว่า “ราชินีแห่งผ้าไหม” ของดีประจำจังหวัด กาฬสินธุ์ สิ่งทอมือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวภูไทที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศและก้าวสู่เวทีระดับโลก แต่เดิมผ้าไหมแพรวามาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณ แคว้นสิบสองจุไทย ได้อพยพย้ายถิ่นฐานผ่าน เวียดนาม ลาวและข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร โดยชาวภูไทยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษของตนและได้รับการพัฒนาจากคนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่องผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของชาวภูไท ภาพที่ 1 สืบทอดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาวผู้ไท ที่มา: โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓
เครื่องจักสาน
ความหมาย เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า
การแทงหยวก
โดย นางสาวเพ็ชรดา เพ็ชรรัตน์ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพชรบุรี การแทงหยวกของช่างพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรีเป็นผลงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานสรุปได้ ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการแทงหยวก ดังนี้ ๑) ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ การแทงหยวกของช่างพื้นบ้าน มีการใช้วัสดุ ได้แก่ หยวกกล้วย กระดาษสี ไม้ไผ่ และอุปกรณ์ ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแทงหยวก อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบหยวก