กิจกรรมทางพุทธศาสนาเนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา ประจำปี 2565

งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มสธ.  ร่วมสืบสาน​ รักษา​ ทำนุ​บำรุงพระพุทธศาสนา​ เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา​ ประจำปี​ 2565​  จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาเนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา​ ประจำปี​ 2565​ (16/02/65) ​ เพื่อร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา​ และสืบสาน​ รักษาวัฒนธรรมอันงดงามของชาวไทย​ วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญต่อการสืบทอดพุทธศาสนาของชาวพุทธทั่วโลก โดยมีเหตุการณ์สำคัญในทางพุทธศาสนา คือเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  มีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นคือ เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป

งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20

งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษา มสธ. ร่วมผนึกพลังกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ส่งเสริม สืบสานรักษา สร้างสรรค์การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และการแสดง/สาธิตภูมิปัญญาของดีเมืองลำปาง เพื่อนำพาสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนของชุมชน ในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 ที่ มรภ.ลำปาง “ข่วงวัฒนธรรมล้ำค่า สืบสานมรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน” “ถ้าความเจริญบนผืนแผ่นดินเป็นเหมือนร่างกาย ศิลปวัฒนธรรมก็คือจิตวิญญาณของแผ่นดิน สมควรอย่างยิ่งที่ต้องร่วมสืบสาน รักษา และทำนุบำรุงคงไว้คู่กับความเป็นชาติสืบไป” วันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเจ้าภาพจัดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 “ข่วงวัฒนธรรมล้ำค่า สืบสานมรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน” โดยพิธีเปิดมีขึ้นในช่วงเย็นของวันที่

อย่าพลาด รับชมการแสดง “ฟ้อนวิถีคนเมือง” จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20🌟 “ข่วงวัฒนธรรมล้ำค่า สืบสานมรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ⭕️ ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2565 ▶️ ติดตามข่าวสารของงานได้ที่ เพจ Facebook Fanpage : งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 📍https://shorturl.asia/qO309 หรือ เว็บไซต์ของงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 20 📍https://www.lpru.ac.th/event/culture/

โครงการแสดงศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา

ความเป็นมา งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีเสน่ห์อยู่ภายในตัวเองที่จะดึงดูดให้ผู้คนได้สัมผัสทั้งด้าน นาฏศิลป์ คีตศิลป์และวิจิตรศิลป์ เดิมใช้ชื่อว่า “งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมทบวงมหาวิทยาลัย” (ครั้งที่ 1 – 5) ซึ่งต่อมาเมื่อมีการปรับโครงสร้างของส่วนราชการทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการจึงได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ “งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา” ตั้งแต่ครั้งที่ 6 และเปลี่ยนเป็น “งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา”  จนถึงปัจจุบัน https://siam.edu/culturalart19-and-higher-education-no-19-buriram-rajabhat-university-2-4feb2019/ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ตั้งแต่ ปี 2561 ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิก กว่า 100

งานประเพณีลอยกระทง ครั้งที่ 14 ประจำปี 2564 ภายใต้ชื่องาน “ลอยกระทงวิถีใหม่”

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ร่วมกับหน่วยงานและชุมชนจัดงานประเพณีลอยกระทงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการร่วมส่งเสริม สืบทอด ทำนุบำรุง เผยแพร่ และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงามของไทยอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในปี 2564  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้กำหนดจัดงานประเพณีลอยกระทง ครั้งที่ 14 ประจำปี 2564 ชุมชนร่วมใจ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ลอยกระทงที่ มสธ. ภายใต้ชื่องาน “ลอยกระทงวิถีใหม่” โดยมหาวิทยาลัย มีเป้าหมายที่จะเชิญชวนหน่วยงานใกล้เคียงที่มีความพร้อมเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบที่ยังคงไว้เช่นเดิม เพื่อเป็นศูนย์กลางชุมชนในการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม และนันทนาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยฯตามปณิธานที่ตั้งไว้ โดยในการจัดงานคณะผู้บริหาร/บุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมาธิราชและประชาชนทั่วไป

พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 ณ วัดหนองแวง พระอารามหลวง

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดงานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 ณ วัดหนองแวง พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น​ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยมีจำนวนเงินกฐินพระราชทาน เป็นเงิน 1,108,687.25 (หนึ่งล้านหนึ่งแสนแปดพันหกร้อยแปดสิบเจ็บบาทยี่สิบห้าสตางค์) โดยการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัย ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยความสำคัญและภารกิจดังกล่าวมหาวิทยาลัย ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารและบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ  ของมหาวิทยาลัยชมรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ตลอดจนประชาชนผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดที่จัดงาน จะได้มีส่วนร่วมในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เพื่อเป็นการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาให้มีความเจริญมั่นคง อนุรักษ์ สืบสาน

ขนมหันตรา

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนม ขนมหันตรา หรือขนมฝอย เป็นขนมโบราณ ที่นำถั่วกวนมาตกแต่งให้ดูน่ากินมากขึ้น ใช้ได้ทั้ง ถั่วดำ ถั่วแดง แต่นิยมคือถั่วเขียว โดยนำไข่มาห่อให้เป็นตารางสวยงาม ขนมหันตราเป็นขนมมงคลของไทยที่มีมาแต่โบราณ ใช้สำหรับงานมงคล การทำขนมหันตราโบราณ มีวิธีการทำที่ต้องใช้เวลา ความพยายาม ความอดทน และที่สำคัญเป็นขนมไทยที่ต้องใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อนและมีความประณีต ส่วนผสม ขนมหันตรา ส่วนผสมนเำเชื่อมน้ำลอย น้ำตาลทราย ๕๐๐

ล่าเตียง

“ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน” ส่วนหนึ่งจากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ “ล่าเตียง” คือ อาหารว่างไทยโบราณอย่างหนึ่ง จาก ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้กล่าวถึงล่าเตียง ว่าเป็นเครื่องเคียงในสำรับกับข้าวซึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้งผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ เป็นอาหารโบราณที่หารับประทานได้ยาก เนื่องจากมีวิธีการปรุงที่ต้องใช้ศิลปะและต้องใช้ความประณีตในการทำเป็นอย่างมากอีกทั้ง ล่าเตียง ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสำรับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีหมายรับสั่งให้จัดทำไปเลี้ยงในงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกด้วย วัตถุดิบ ส่วนผสมไส้ขนม หมูสับ ๑๐๐ กรัม

เกาะเกร็ดเลื่องลือ ขึ้นชื่อทอดมันหน่อกะลา เพิ่มคุณค่าอาหารท้องถิ่น

        ที่มา:  https://www.chillpainai.com/scoop/8924/ ลําน้ำเจ้าพระยาที่ไหลจากทางเหนือผ่านบ้านบางตะไนย์ บ้านใหม่ บ้านบางพูด และบ้าน ปากเกร็ด จากบ้านปากเกร็ดตรงบริเวณที่ลําน้ำไหลโค้งอ้อมเป็นรูปเกือกม้า ทําให้เกิดผืนดินเป็นแหลม ยื่นไปตามความโค้งของลําน้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนแคบที่สุดของแหลมได้มีการขุดทางน้ำเล็กๆ ที่ชาวบ้าน เรียกว่า เกร็ด หรือ เตร็ดมาก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดเกร็ดเป็นทางการ เกาะเกร็ด เป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ประมาณ 2,820 ไร่ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นมากมายไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามหรือจะล่องเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยาสู่คลองสวนผลไม้และคลองขนมหวาน เกาะเกร็ดเป็นแหล่งท่องเที่ยวลือชื่อของเมืองนนท์รู้จักกันดีในฐานะแหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียง ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี เกาะเกร็ดเป็นสถานที่ขึ้นชื่อของชุมชนกลุ่มชาวมอญและมีเครื่องปั้นดินเผา