ความหมาย เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า
หนุมานชาญสมร
ท้าวโคดม เป็นกษัตริย์ครองเมืองสาเกดมาเป็นเวลานานแต่ไม่มีโอรสธิดาเลย ต่อมามีความเบื่อหน่ายในราชสมบัติจึงออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ในป่านานถึงสองพันปี วันหนึ่งนึกขึ้นก็ได้ทำพิธีบูชาไฟแล้วนั่งหลับตาร่ายเวทนาจนกระทั่งบังเกิดสาวสวยผุดขึ้นกลางกองไฟ พระฤาษีโคดมตั้งชื่อให้นางว่า กาลอัจนาและได้นางเป็นภรรยาทั้งสองอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ต่อมาไม่นานนางกาลอัจนาก็ตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกสาวรูปร่างหน้างดงาม โดยตั้งชื่อให้ว่า สวาหะ ทุก ๆ เช้าพระฤาษีจะต้องเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาเป็นอาหาร แต่ก่อนที่จะออกจากอาศรม พระฤาษีมักจะสั่งกำชับให้นางกาลอัจนาเลี้ยงลูกอยู่แต่ในอาศรม พระอินทร์ต้องการแบ่งกำลังของพระองค์ไปเกิดในเมืองมนุษย์ เพื่อให้เป็นทหารของพระนารายณ์ซึ่งจะอวตารมาเกิดเป็นพระรามและทำสงครามกับทศกัณฐ์ วันหนึ่งจึงเหาะลงมาจากวิมาน แล้วเข้าไปหานางกาลอัจนาในอาศรม ขณะที่พระฤาษีโคดมออกไปหาผลไม้ตามปกติ พระอินทร์เพียงพูดจาเกี้ยวพาราสีและกอดจูบเล้าโลมให้นางมีความรู้สึกเคลิบเคลิ้มก็สามารถทำให้นางตั้งครรภ์ได้ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระองค์ จากนั้นพระอินทร์ก็เหาะกลับไป พอครรภ์แก่ครบกำหนดนางกาลอัจนาก็คลอดลูกออกมาเป็นชาย มีกายสีเขียวเหมมือนพระอินทร์ พระฤาษีคิดว่าเป็นลูกของตน จึงรักใคร่เลี้ยงดูอย่างทนุถนอมยิ่งกว่านางสวาหะเสียอีก อีกไม่นานต่อมาขณะที่พระฤาษีออกป่าไปหาผลไม้ นางกาลอัจนานั่งมองพระอาทิตย์อยู่ในอาศรม
การแทงหยวก
โดย นางสาวเพ็ชรดา เพ็ชรรัตน์ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพชรบุรี การแทงหยวกของช่างพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรีเป็นผลงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานสรุปได้ ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการแทงหยวก ดังนี้ ๑) ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ การแทงหยวกของช่างพื้นบ้าน มีการใช้วัสดุ ได้แก่ หยวกกล้วย กระดาษสี ไม้ไผ่ และอุปกรณ์ ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแทงหยวก อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบหยวก
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
โดย นายสุรัติ หาญกำธร ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยุโขทัยธรรมาธิราช สุโขทัย พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลมาจากลังกาและพม่า นิยมแบ่งพระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น ๔ หมวด คือ หมวดใหญ่ หมวดกำแพงเพชร หมวดพระพุทธชินราช และหมวดเบ็ดเตล็ด พระพุทธรูทั้ง ๔ หมวด แบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน คือ รุ่นแรกมีวงพระพักตร์กลมแบบลังกา รุ่นที่ ๒ มีวงพระพักตร์ยาวและพระหนุเสี้ยม รุ่นที่ ๓ พระพักตร์รูปไข่คล้ายแบบอินเดีย
อิ่นกอนฟ้อนแกน
โดย อาจารย์ถนอม คงยิ้มละมัย ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ปานถนอม อิ่นกอนฟ้อนแกน เป็นประเพณีการละเล่นของคนลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ คือ การละเล่นโยนลูกช่วง หรือเล่นคอน และร่ายรำตามจังหวะเพลงแคนและต่อกลอนกันจนดึก แล้วจึงแยกกันไปพูดคุยกันเป็นคู่ ๆ เพื่อความสมัครสมานสามัคคี นำไปสู่ความรัก เพื่อความสนุกสนาน ทำให้หนุ่มสาวได้รู้จักคุ้นเคยจนก่อให้เกิดความรักและแต่งงานกัน การละเล่นโยนลูกช่วง “อิ่นกอน ฟ้อนแกน” เป็นสำเนียงชาว ไทยทรงดำ อิ้น หรือ อิ่น แปลว่า เล่น ,กอน คือลูกช่วง ซึ่งคนโซ่งจะเรียก มะกอน
ไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี
โดย นางสาวเพ็ชรดา เพ็ชรรัตน์ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพชรบุรี 1. ประวัติไทยทรงดำ ไทยดำหรือ “ลาวโซ่ง” ซึ่งความเป็นจริงคนกลุ่มนี้มิใช่คนลาวจากประเทศลาว แต่เป็นไทยดำจากเมืองเคียนเบียนฟู (เมืองแถง) ในประเทศเวียดนามที่ถูกเรียกว่าลาวเพราะอพยพผ่านประเทศมาพร้อมกับคนลาวในเวียงจันทร์ และลาวเมืองพวน อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นเมือง 3 ลาว คือ ลาวเวียง (ต.สระพัง) ลาวพวน(ต.หนองปลาไหล) แต่ส่วนใหญ่เป็นลาวโซ่ง 80 % คำว่า “โซ่ง”
การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ : ตอนที่ 1 รัชกาลที่ 1 – 5
เมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 2325 ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามต่างๆ ถูกสืบทอดมาจากสมัยอยุธยาแทบทั้งสิ้น รวมถึงลักษณะการแต่งกายด้วยเช่นกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงใช้รูปแบบและลักษณะการแต่งกายเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ต่อมาภายหลังเมื่อความเจริญของชาวตะวันตกได้แพร่ขยายอิทธิพลเข้ามาจึงเริ่มมีการดัดแปลงลักษณะการแต่งกายของชาวตะวันตกผสมผสานกับการแต่งกายแบบดั้งเดิมเพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ผนวกกับการปรับปรุงประเทศของกษัตริย์ไทยในสมัยนั้นที่ต้องการให้ประเทศมีความก้าวหน้าทันสมัยและก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก ตั้งแต่สมัยอยุธยาจวบจนกรุงรัตนโกสินทร์ลักษณะการแต่งกายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการนุ่งหรือประเภทของผ้าที่นุ่งจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ว่าเป็นขุนนาง เป็นชนชั้นสูง หรือเป็นชาวบ้าน โดยการแต่งกายในแต่ละยุคแต่ละช่วงของกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถจำแนกตามยุคสมัยรัชกาลได้ดังนี้ สมัยรัชกาลที่ 1 – 3 พ.ศ. 2535 – 2394 ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงแต่งกายตามรูปแบบดั้งเดิมตามสมัยอยุธยา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมดังนั้นลักษณะการแต่งกายจึงต้องมีความทะมัดทะแมง โดยผู้ชายจะนุ่งโจงกระเบนถกสั้นเหนือเข่า ไม่สวมเสื้อ ไม่สวมรองเท้า หากอยู่บ้านจะนุ่งผ้าลอยชายหรือนุ่งโสร่ง