อิ่นกอนฟ้อนแกน

โดย อาจารย์ถนอม คงยิ้มละมัย  ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ปานถนอม อิ่นกอนฟ้อนแกน เป็นประเพณีการละเล่นของคนลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ คือ  การละเล่นโยนลูกช่วง หรือเล่นคอน และร่ายรำตามจังหวะเพลงแคนและต่อกลอนกันจนดึก แล้วจึงแยกกันไปพูดคุยกันเป็นคู่ ๆ  เพื่อความสมัครสมานสามัคคี นำไปสู่ความรัก เพื่อความสนุกสนาน  ทำให้หนุ่มสาวได้รู้จักคุ้นเคยจนก่อให้เกิดความรักและแต่งงานกัน การละเล่นโยนลูกช่วง “อิ่นกอน ฟ้อนแกน” เป็นสำเนียงชาว ไทยทรงดำ อิ้น หรือ อิ่น แปลว่า เล่น ,กอน คือลูกช่วง ซึ่งคนโซ่งจะเรียก มะกอน

คณะจาก มสธ. เข้าร่วมในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 18

เมื่อวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2561  ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตสนามจันทร์  คณะนักแสดงชุด “อินกอนฟ้อนแกน” จากศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. เพชรบุรี  เข้าร่วมแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา  ครั้งที่ 18 “นาฏยปรีดิยานันท์  กึ่งศตวรรษ  สนามจันทร์  ศิลปากร”  ในปีนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน  ภายในงานมีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมกว่า 101 แห่ง  มีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมกว่า 150 ชุด  โดยจัดการแสดงตั้งแต่วันที่ 7-9 กุมภาพันธ์  ในการนี้ 

ไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี

โดย  นางสาวเพ็ชรดา  เพ็ชรรัตน์    ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เพชรบุรี  1. ประวัติไทยทรงดำ ไทยดำหรือ “ลาวโซ่ง” ซึ่งความเป็นจริงคนกลุ่มนี้มิใช่คนลาวจากประเทศลาว แต่เป็นไทยดำจากเมืองเคียนเบียนฟู (เมืองแถง) ในประเทศเวียดนามที่ถูกเรียกว่าลาวเพราะอพยพผ่านประเทศมาพร้อมกับคนลาวในเวียงจันทร์ และลาวเมืองพวน อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นเมือง 3 ลาว คือ ลาวเวียง (ต.สระพัง) ลาวพวน(ต.หนองปลาไหล) แต่ส่วนใหญ่เป็นลาวโซ่ง 80 % คำว่า “โซ่ง”

การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ : ตอนที่ 1 รัชกาลที่ 1 – 5

เมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 2325  ศิลปะ  วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามต่างๆ ถูกสืบทอดมาจากสมัยอยุธยาแทบทั้งสิ้น  รวมถึงลักษณะการแต่งกายด้วยเช่นกัน  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงใช้รูปแบบและลักษณะการแต่งกายเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา  ต่อมาภายหลังเมื่อความเจริญของชาวตะวันตกได้แพร่ขยายอิทธิพลเข้ามาจึงเริ่มมีการดัดแปลงลักษณะการแต่งกายของชาวตะวันตกผสมผสานกับการแต่งกายแบบดั้งเดิมเพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น  ผนวกกับการปรับปรุงประเทศของกษัตริย์ไทยในสมัยนั้นที่ต้องการให้ประเทศมีความก้าวหน้าทันสมัยและก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก ตั้งแต่สมัยอยุธยาจวบจนกรุงรัตนโกสินทร์ลักษณะการแต่งกายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการนุ่งหรือประเภทของผ้าที่นุ่งจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ว่าเป็นขุนนาง  เป็นชนชั้นสูง  หรือเป็นชาวบ้าน  โดยการแต่งกายในแต่ละยุคแต่ละช่วงของกรุงรัตนโกสินทร์  สามารถจำแนกตามยุคสมัยรัชกาลได้ดังนี้ สมัยรัชกาลที่ 1 – 3  พ.ศ. 2535 – 2394 ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงแต่งกายตามรูปแบบดั้งเดิมตามสมัยอยุธยา  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมดังนั้นลักษณะการแต่งกายจึงต้องมีความทะมัดทะแมง  โดยผู้ชายจะนุ่งโจงกระเบนถกสั้นเหนือเข่า  ไม่สวมเสื้อ  ไม่สวมรองเท้า  หากอยู่บ้านจะนุ่งผ้าลอยชายหรือนุ่งโสร่ง