การแสดงพระธรรมเทศนา โดย..หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม (ฝ่ายอุทยานการศึกษา) สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับกับมูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช จัดโครงการความร่วมมือด้านการส่งเสริมคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ประจำ ปี 2567  จัดการแสดงพระธรรมเทศนา โดย..หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ณ ห้องประชุมอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมีวัตถุประสงค์ให้การปฏิบัติธรรม ในชีวิตประจำวันตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปในวงกว้าง ได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมปัจจุบัน ด้วยความเข้าใจความจริงของธรรมชาติ สามารถนำหลักธรรม มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ และปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมในสังคมปัจจุบัน  มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมฟังธรรมเทศนา ประมาณ

ร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในรายการ The People Show ทาง ททบ.5

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร. ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง พร้อมด้วยคุณนิคม อิศรางกูร ณ อยุธยา นำผลงานการแกะสลักผักผลไม้ การแกะสลักสบู่ และน้องหมาส้มโอ น้องทับทิมสยาม น้องขาวน้ำผึ้ง ร่วมแถลงข่าวกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญณภัทร นิธิศวราภากุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ในรายการ The People Show

การปฏิบัติเริ่มต้นที่จิตจบลงที่จิต

การปฏิบัติเริ่มต้นที่จิตจบลงที่จิต : หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ค่อยภาวนา อย่าทิ้งจิตตัวเอง เรียนรู้จิตตัวเอง เรียนรู้จิตของเราแต่เบื้องต้น เราจะมีศีลอัตโนมัติ เพราะว่ากิเลสใดๆ เกิดขึ้นที่จิตเรารู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลอัตโนมัติจะเกิด เรียนรู้จิตตัวเอง รู้ทันจิตที่ไหลไปไหลมา จิตก็หยุดการไหล ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เราก็ได้สมาธิที่ถูกต้อง เห็นไหมเรื่องของจิตทั้งนั้นเลย แล้วในขั้นเจริญปัญญา จะเริ่มจากกาย เวทนา อะไรก็ตาม สุดท้ายมันก็ลงมาที่จิตจนได้   การแสดงพระธรรมเทศนา โดย..หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ณ ห้องพระปกเกล้า 

ร่วมประชุมเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

  เมื่อวันอังคารที่ 9 มกราคม 2567  ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าร่วมประชุมเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” THE 4th NATIONAL AND THE 14 th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ARTS AND CULTURE: SOFT POWER–ARTS

มสธ.จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566

มสธ.จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566 ณ วัดศรีโคมคำ อ.เมือง​ จ.พะเยา​ จัดเมื่อวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่ขอพระราชทานเพื่อน้อมนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลครบถ้วนไตรมาส ณ พระอารามหลวงต่างๆ เวียนไปในแต่ละภูมิภาคเป็นประจำทุกปี ในปี พ.ศ. 2566 นี้ นับเป็นครั้งที่ 43 ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้น้อมนำผ้าพระกฐินพระราชทานมาถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษากาลครบถ้วนไตรมาส โดยครั้งนี้ถวาย ณ

ขอเชิญร่วมทำบุญถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่ขอพระราชทานเพื่อน้อมนำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษากาลครบถ้วนไตรมาส ณ วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญโดยท่านสามารถ โอนเงินทำบุญ 1) กรณีเป็นเงินสด ส่งที่ กองคลัง ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) กรณีโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 147-1-03762-2 หรือ เพียงสแกน

มสธ. “พลังแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” จาก”อาชีพสู่รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ”

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมงานประชุมวิชาการเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 3 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 และ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 “พหุวัฒนธรรม ไร้พรมแดน : ส่งเสริมสู่ระดับชาติ สร้างสรรค์สู่ระดับโลก” (Multicultural Beyond Frontier : Promoted to the National Level Created to

นางถนอม คงยิ้มละมัย ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปี 2561

โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ดำเนินการคัดเลือกบุคคล ที่สมควรได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม “รางวัลเพชรพระนคร ประจำปี 2561” สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี  “ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี” นางถนอม  คงยิ้มละมัย เกิดเมื่อวันที่ 9 เดือน  กรกฎาคม  พ.ศ. 2487 สัญชาติ  ไทย  สถานที่เกิด อำเภอ เขาย้อย จังหวัด เพชรบุรี  เป็นบุตรคนที่  3  ในพี่น้อง  3  คน

นายนิคม อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปี 2565

โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ดำเนินการคัดเลือกบุคคล ที่สมควรได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม “รางวัลเพชรพระนคร ประจำปี 2565 ” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565  สาขาคหกรรมศิลป์ “การแกะสลักผักผลไม้” นายนิคม อิศรางกูร ณ อยุธยา  เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรคนที่  9  ในพี่น้อง

อบรมปฏิบัติการ “งานหัตถศิลป์จากหุ่นกระบอกไทย”

ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม (ฝ่ายอุทยานการศึกษา) สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ได้จัดการอบรมปฏิบัติการ “งานหัตถศิลป์จากหุ่นกระบอกไทย”ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) จังหวัดนครปฐม เมื่อวันเสาร์ ที่ 20 พฤษภาคม 2566 ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม (ฝ่ายอุทยานการศึกษา) สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการอบรมปฏิบัติการ “งานหัตถศิลป์จากหุ่นกระบอกไทย”  ณ ห้องประชุมศุขสวัสดิ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) จังหวัดนครปฐม โดยนางขวัญใจ  ปัญญชุณห์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก