พิธีทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรม | เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2568

ภาพบรรยากาศ “ทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรม เนื่องใน วันวิสาขบูชา” ประจำปี 2568 วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม ๒๕๖8 ณ ลานปาริชาต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง แด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๙ รูป และฟังธรรมสัมโมทนียกถา เนื่องในวันวิสาขบูชา สามารถชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ คลิกที่นี่  

“สงกรานต์ร่วมสมัย วิถีไทยรดน้ำขอพร” | งานประเพณีสงกรานต์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประจำปี 2568

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) จัดงานประเพณีสงกรานต์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประจำปี 2568 “สงกรานต์ร่วมสมัย วิถีไทยรดน้ำขอพร” ผู้ร่วมงานจำนวนมากร่วมสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ สนุกสนานกับการเล่นน้ำสงกรานต์ การแสดงดนตรี ศิลปวัฒนธรรม และเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทยภาคกลาง วันนี้ (10 เม.ย. 2568) ผศ.ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) รักษาการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงานสงกรานต์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประจำปี 2568 “สงกรานต์ร่วมสมัย วิถีไทยรดน้ำขอพร” ในโอกาสนี้ ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

งานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 15 ปี 2568

วันที่ 27 มีนาคม 2568 ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับศูนย์สัมมนาและฝึกอบรม ศวช.มสธ.นครศรีธรรมราช เข้าร่วมจัดนิทรรศการและสาธิตงานด้านศิลปวัฒนธรรม “ของดีบ้านฉัน” นำผลงานการแกะสลักผักผลไม้ โดย.คุณนิคม อิศรางกูร ณ อยุธยา สาธิตและจัดแสดงผลงานการแกะสลักผักผลไม้ อาทิ การแกะสลักชิ้นงาน น้องหมาส้มโอ (น้องสตางค์ น้องสแตมป์ ตั้งชื่อโดยท่านอธิการบดี มรภ. ราชภัฏสุราษฎร์ธานี) ตุ๊กตาบาร์บี้จากแคนตาลูป ตัวหงส์ จากมะละกอ และการแกะสลัก ผัก ผลไม้อื่นๆ

การแสดงธรรมหลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช | 20 เม.ย. 68

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 เวลา 08.30 – 12.00 น. ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่องร่วมกับ มูลนิธิสื่อธรรมหลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช จัดโครงการความร่วมมือด้านการส่งเสริมคุณธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา “การแสดงธรรมหลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช” เพื่อให้ผู้สนใจที่เข้าฟังได้นำไปการปฏิบัติธรรม/ความรู้ในการแสดงธรรม ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 โดยหลังจบการแสดงธรรม อ.มาลี ปาละวงศ์ ร่วมสนทนาธรรมกับผู้เข้าฟังธรรมด้วย การแสดงธรรมหลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในครั้งนี้มีบุคลากรของมหาวิทยาลัย ผู้เกษียณอายุราชการ และบุคคลภายนอกสนใจเข้าร่วมฟัง ดังนี้

กรวยดอกไม้ วัฒนธรรมโบราณกับงานพิธีกรรม

  สวยดอก หรือ กรวยดอกไม้ จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลไม่ปรากฎที่มาที่แน่ชัด แต่สันนิฐานว่าเกิดจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล้านช้างในอตีต) ของไทย เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์ท้องถิ่นขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรม แต่ที่เด่นชัดและยังคงวัฒนธรรมการทำสวยดอก หรือ กรวยดอกไม้อยู่อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันนั้นคือ ภาคเหนือ (ล้านนา) ไทย สวยดอก หรือกรวยดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามความเชื่อทั้งพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมความเชื่อท้องถิ่น ในด้านประเพณี เช่นประเพณีปีใหม่ หรือ สงกรานต์ นิยมนำไปเป็นเครื่องสักการะ คาราวะดำหัวผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสของท้องถิ่น

พระไทย 2 นิกาย กับความเหมือนที่แตกต่าง

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน) ซึ่งเป็นศาสนาอเทวนิยม (อเทวนิยม คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าและเชื่อในกฎธรรมชาติ) ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี ในชมพูทวีป คำว่า “ชมพูทวีป” ในที่นี้หมายถึงดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศ ในปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากสุด 3 อันดับแรกคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ

เรือพระราชพีธี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

  ประเทศไทยเรามีวิถีชีวิตเกี่ยวกับสายน้ำมาช้านานการเดินทางในสมัยโบราณสัญจรทางน้ำเป็นหลักรวมถึงการดำเนินชีวิต การค้าขาย แม้กระทั่งใช้ในการสงคราม ทั้งในชนชั้นผู้ปกครองและชาวบ้านสามัญชนคนธรรมดา ย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรือคือยานพาหนะที่สำคัญที่สุด วัสดุที่นำมาทำเป็นเรือส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นโดยนำต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มาขุดหรือต่อขึ้นเป็นลำเรือ ต่างกันตรงที่การต่อเรือในราชสำนักจะมีความวิจิตรประณีตสวยงาม โดยมีการแกะสลักตัวลำเรือและโขนหัวเรือเป็นรูปสัตว์ในความเชื่อ เช่น เป็นรูปพญานาค พญาครุฑ และรูปหัวหงส์ เป็นต้น “เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์” (ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา) ได้มีการจดบันทึกกล่าวถึงเรือเล็ก และเรือยาวในยุคนั้นว่า     “ในเรือยาวลำหนึ่ง ลางทีก็มีฝีพายตั้งแต่ 100 ถึง 120

งานลอยกระทง มสธ. ประจำปี 2567 “สีสันแห่งนที สืบสานประเพณีลอยกระทง”

งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2567 ชุมชนร่วมใจ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ลอยกระทงที่ มสธ. ครั้งที่ 17 ภายใต้ชื่องาน “สีสันแห่งนที สืบสานประเพณีลอยกระทง” วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณสระน้ำหน้าอาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายภายนอก ได้แก่ สมาคมสุโขทัยธรรมาธิราช สโมสรสุโขทัยธรรมาธิราช สหกรณ์ร้านค้า มสธ.จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์ มสธ.จำกัด กรมที่ดิน บริษัท อิมแพ็ค

รับชม VR Tour “พุทธอุทยานเพชรบุระ”

ขอเชิญผู้สนใจเข้ารับชมสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว “พุทธอุทยานเพชบุระ” ณ วัดเพชรวราราม จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ทางพุทธศาสนาที่สำคัญของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสื่อประชาสัมพันธ์เป็นรูปแบบ Virtual Reality หรือ VR ซึ่งจะให้ผู้รับชมสามารถดูสถานที่ตามมุมต่าง ๆ ของวัดในมุม 360 องศาอย่างอิสระ พร้อมทั้งมีสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพุทธอุทยานเพชบุระอีกด้วย โดยผู้สนใจสามารถคลิก Click Here เพื่อเข้ารับชม VR Tour “พุทธอุทยานเพชบุระ” จัดทำโดย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มสธ.

ประมวลภาพกิจกรรมโครงการ : การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะบนผิวน้ำ” วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

เมื่อวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับ สถานสื่อสารองค์กร นำโดย รศ.ดร.ชนกนารถ บุญวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าร่วม “กิจกรรมสร้างสรรค์ เสริมสุขภาพใจ-ปัญญาดี อโศกโมเดล” ณ บริเวณเนินสนามหญ้า สนามกีฬากลาง ม.ร.ว.จุรีพรหม กมลาศน์ มศว. ซึ่งจัดโดยส่วนกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมี รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม พร้อมด้วย