หลวงพระบางเมืองมรดกโลก: ช้างสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์สู่สินค้าหัตถกรรม

อาณาจักรล้านช้าง
ในตำนานของขุนบรมมีคำว่าช้างปรากฏตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือประมาณปี พ.ศ.2063  ต่อมาก็ได้พบกับคำว่า ล้านช้าง ตามพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เช่น ฉบับแรก พบปรากฏอยู่กับศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา ประมาณ พ.ศ. 2016 จารึกด้วยอักษรธรรมปรากฏคำว่า ศรีสัตนาคนหุตมหานครราชธานี คำว่า สตะนาคนะหุต แปลว่า ร้อย นาคะแปลว่าช้าง และนะหุตแปลว่า หมื่น เมื่อรวมกันแล้วจะได้คำว่า ช้างล้านตัว หรือล้านช้าง (ปิยฉัตร์ สินธุสะอาด, 2540)

อาณาจักรล้าน ในยุคหนึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 ราชอาณาจักร คือ 1) อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ 2) อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และ3)อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เหตุการณ์แบ่งแยกอาณาจักรในครั้งนี้เกิด จากอาณาจักรล้านช้างแก่งแย่งอำนาจของเหล่าเชื้อพระวงศ์ จะสังเกตได้ว่าถึงแม้อาณาจักรล้านช้างจะแตกออกเป็น 3 อาณาจักรแล้วก็ตาม แต่ก็ยังใช้คำว่า “อาณาจักรล้านช้าง” ขึ้นต้นเป็นชื่อเรียกก่อนเสมอแสดงให้เห็น ว่าช้างมีความสำคัญมากกับคนในอาณาจักรนี้

 ช้าง: สัญลักษณ์และความศักดิ์สิทธิ์ 

ธงชาติลาว  (ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ธงชาติลาว)

คนลาวนับถือช้างเป็นสัตว์ประจ าชาติ เนื่องจากประเทศลาวมีช้างเป็นจำนวนมาก และในอดีตประเทศลาว ยังใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ประจำธงอีกด้วย (เสมา อุปถัมภ์, 2558: เว็บไซต์)

สัญลักษณ์
ธงชาติลาว พ.ศ. 2495-2518  สมัยพระราชอาณาจักรมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง มีรูปช้าง เอราวัณ 3 เศียรสีขาว ยืนอยู่บนแท่น 5 ชั้น ซึ่งช้างเอราวัณ 3 เศียร หมายถึง เอกภาพของชาติ 3 อาณาจัก รูปพระมหาเศวตฉัตร หมายถึง เขาพระสุเมรุอันเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาร พื้นธงสีแดงคือ เลือดของประชาชนลาว และท่ายืนของช้างเอราวัณคือ กฎหมายของชาติ

ความศักดิ์สิทธิ์
ประเทศลาวให้ความสำาคัญกับช้างมากโดยเฉพาะช้างเอราวัณ 3 เศียร ซึ่งหมายถึงตัวแทนของพระอินทร์ และเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ โดยช้างเอราวัณเป็นพาหนะของพระอินทร์บนสวรรค์ (วิยะดา ทองมิตร, ม.ป.ป.: เว็บไซต์) และชื่อของช้างเอราวัณ ยังหมายถึง น้ำ เมฆฝน รุ้ง หากรวมกันแล้วอาจแสดงความหมายว่า พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่องเที่ยวไปบนสวรรค์แล้วโปรยฝนลงมายังโลกมนุษย์ ซึ่งในไตรภูมิพระร่วงได้พรรณนาถึง ความใหญํโตของช้างเอราวัณว่า ช้างเอราวัณเป็นช้างผิวกายเผือก มีขนาดใหญ่เท่ากับภูเขา มี 33 หัว แต่ละหัวมีงา 7  งา แต่ละงายาว 4 ล้านวา รวม  231 งา  มีสระบัว 1,617 สระ  มีกอบัว 11,319 กอ มีดอกบัว 79,233 ดอก  มีกลีบบัว 554,631 กลีบ มีเทพธิดา 3,882,417 องค์ และมีบริวารของเทพธิดาอีก 27,176,919 นาง และมีหน้าที่เป็นพาหนะที่นำเสด็จพระ อินทร์ ไปดูแลทุกข์สุขบนสวรรค์และโลกมนุษย์ รวมทั้งเป็นช้างศึกให้พระอินทร์ออกไปทำการรบกับพวกอสูรอีก ด้วย ช้างเอราวัณ

จึงถือได้ว่าเป็นเจ้าแห่งช้างทั้งปวงในจักรวาลนี้ เป็นสัญลักษณ์ของพระอินทร์ การทำความดี ความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น รวมถึงเป็นช้างที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ดังจะเห็นได้จากงานศิลปกรรมต่าง ๆ ที่นิยมทำรูป ช้างเอราวัณควบคู่กับพระอินทร์ (พิทักษ์ โค้ววันชัย, ม.ป.ป.: เว็บไซต์) จนกระทั้งได้นำมาใช้เป็นตราธงของ อาณาจักรลาว ปี พ.ศ.2495-2518

หลวงพระบาง: เมืองมรดกโลก
เป็นเวลากว่า 23 ปี ที่ประเทศลาวใช้สัญลักษณ์ช้าง 3 เศียรเป็นธงประจำประเทศจากการพัฒนาของ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศลาวมาจาก ยุค Indochina, Revolution, New Economic Mechanism, จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศให้ เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก (ลาวเจาะลึกหลวงพระบาง, 2555: เว็บไซต์) ซึ่งทำให้ หลวงพระบางเป็นที่รู้จักอย่งแพร่หลายทั่วโลก เกี่ยวกับการ อนุรักษ์โบราณสถาน เช่น วัดเก่าแก่ที่ส าคัญ พระราชวังเจ้ามหาชีวิต รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันเมืองหลวงพระบางเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับชาติไปแล้ว (ภูษนิศา นันตยุ,  2554: เว็บไซต์)

สํงผลให้หลวงพระบางในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวกว่า ห้าแสนคนต่อปี  (ประชาชาติธุรกิจ, 2558: เว็บไซต์) ส่วนใหญ่ก็จะมาเที่ยวชมโบราณสถาน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่วิจิตรงดงาม และสถานที่ ท่องเที่ยวที่เป็นสินค้าหัตถกรรมด้วย (ปณิตา  สระวาสี,  2558: เว็บไซต์)

สินค้าหัตถกรรม: หลวงพระบาง
สินค้าหัตถกรรมของหลวงพระบางส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ใช้ช่างฝีมือในการประดิษฐ์ และมีความงดงามด๎านศิลปะ (หัตถกรรมพื้นบ๎าน, 2556: เว็บไซต์) งานหัตถกรรมพื้นบ้านจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ ชาวหลวงพระบางให้ความสนใจ (ออรินตา ลีเคอร์, ม.ป.ป.: เว็บไซต์) ร๎านที่จ าหนํายงานหัตถกรรมที่ ขึ้นชื่อใน หลวงพระบางได้แก่ ร้าน ออก พบ ตก ร้าน มาแต่ใส เป็นต้น

 แหล่งที่พบการจำหน่ายสินค่าหัตถกรรมมากที่สุดในช่วงกลางคืนที่เรียกว่า ตลาดมืดซึ่งเป็นตลาดที่น า สินค้าพื้นเมือง เสื้อผ้า ผ้าไหม ผ้าพันคอ กระเป๋าถือ ของที่ละลึก สินค้าที่ท าจากประชาชนเผ่าตาง ๆ มาวางขายบน ถนนสีสว่างทอดยาวไปจรดถนน สักกะสินในช่วงเย็น ประมาณ 17.00-22.00 น. (หลวงพระบางตลาดมืด,  ม.ป.ป.: เว็บไซต์) จากการสังเกตของผู้เขียนพบว่า ร้านขายของที่ละลึกส่วนใหญ่จะขายสินค่าที่มีลักษณะที่เหมือนกัน อาทิ ผ้าทอพื้นเมือง ผ้าเย็บมือของม้ง (ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ย่าม ผ้ากันเปื้อน รองเท้าแตะ กระเป๋าใส่สตางค์) ลายที่เห็น มากที่สุดก็คือ “ช้าง”

กระเป๋ารูปช้าง
หมวกรูปช้าง
 

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า “ช้าง” มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญกับคนลาวในอดีตแต่ในปัจจุบัน ช้างที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของธงลาว ได้ปรากฏอยู่ตามงานหัตถกรรม ได๎แก่ 
 

กางเกงรูปช้าง
กระโปรงรูปช้าง
ตุ๊กตาผ้าช้าง
ตุ๊กตาไม้ช้าง
กล่องใส่ทิชชูรูปช้าง
กระเป๋ารูปช้าง

 ด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นผู้เขียนจึงได้ทำการสัมภาษณ์คนลาวที่มีหลากหลายอาชีพได้แก่ หลวงปู่ แสง กิตติสาโร, นางอัมพร พนาวัน อาชีพค้าขายของชำ, นางลัดดาวัน ชุมพนภักดี อาชีพค้าขายของที่ละลึก, ดร.นิดถาพง สมสนิท ผู๎เชี่ยวชาญผ้า และ อาจารย์บัวเคน อนุรักษ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาลัยวิจิตรศิลป์ พื้นเมืองหลวงพระบาง ต่างก็ให้ความเห็นที่สองคล้องกันว่า การที่คนลาวนำช้างมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในงาน หัตถกรรมเป็นเรื่องปกติไมํได้เสียหายแต่อย่างไร และทุกทํานได้กล่าวสอดคล้องกันอีกว่า ช้างเปรียบเสมือนเป็น ตัวแทนของพระอินทร์ และพระมหากษัตริย์ และรัฐบาลลาวก็จัดให๎มีประเพณีแห้ช้างขึ้นที่แขวงไชยะบุรี ซึ่งก็ สอดคล้องกับนิตยสารลาว อับเดท ท้ายเดือน มังกอน 2016 ที่ได้ลงขําวบุญช้างที่แขวงไชยบุรี ที่จัดขึ้นระหว้างวันที่ 19-21  กุมภาพันธ์ ซึ่งมีช้างร่วมแสดง 67  ตัว ซึ่งในอดีตลาวมีช้างมากมายจนเป็นที่มาของ “ลาวล้านช้าง” (อัปเดทวารสาร, 2559) และดร.นิดถาพง สมสนิท ยังได้กล่าวอีกว่า “หากจะนำรูปช้างมาทำงานหัตถกรรมก็ไม่ แปลก แต่ต้องนำมาใช้กับสิ่งของที่เหมาะสม เช่น นำมาทำเป็นกระเป๋า โดยเฉพาะช้างสามเศียร เป็นต้น”

จากการเปลี่ยนแปลงตามโลกโลกาภิวัตรของลาว โดยเฉพาะหลวงพระบางที่เป็นเมืองมรดกโลก ทำให้ วัฒนธรรมได้มีการเปลี่ยนไปด้วยเช่นเดียวกับ รูปช้างที่ปรากฏอยู่ตามงานหัตถกรรมต่างๆ ที่วางขายภายในลาว เช่นในตลาดมืด เมืองหลวงพระบางซึ่งผู้เขียนมีมุมสะท้อนอยู่ 2 ประเด็น คือ 1) การที่นำช้างมาเป็นสัญลักษณ์ใน

งานหัตถกรรม เช่น กระเป๋า หมอน ฯลฯ ถือว่าเป็นการสร๎างอัตลักษณ์ในเชิญสัญลักษณ์ให้สอดคล้องกับความ เข้าใจของคนลาวที่ว่า “ลาวล้านช้าง” คือ มีช้างจำ นวนมาก เป็นการสร้างรายได๎ในการท่องเที่ยว 2) การนำช้างที่ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ศักดิสิทธิ์เช่นช้างสามเศียรมาทำกระเป๋าหรือของใช้ที่เหมาะสมก็ถือว่ายังพอนุโลมและ สามารถทำได้เพราะรัฐบาลลาวนั้นได้ส่งเสริมช้างโดยนำมาจัดเป็นประเพณีบุญช้างอยู่ที่แขวงไชยะบุรี แต่ต้องระวัง ในการนำรูปช้างมาใช๎ในที่เหมาะสม

รองเท้ารูปช้าง
กระเป๋ารูปช้างสามเศียร

 ดังนั้น จึงสะท้อนให้เห็นวําสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อันเป็นตัวแทนทางจิตใจของคนชาติลาว ถึงแม้ว่าวันนี้หลวง พระบางจะเปลี่ยนสถานะเป็นเมืองมรดกโลกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงอัตลักษณ์ไว้ โดยเอารูปช้างมาประดิษฐ์เป็นงาน หัตถกรรมเพิ่มเศรษฐกิจล่อเลี้ยงชีพของพวกเขา ซึ่งได่ทั้งรายได้และคงความเป็นอัตลักษณ์ด้วย เช่นเดียวกันกับ งานหัตถกรรมสัญลักษณ์รูปช้างลาวที่ปรากฏอยู่ตามตลาดมืดและที่อื่นๆ ในหลวงพระบางและในประเทศลาว

เรียบเรียงโดย : นายวิทยา  มีกลิ่นหอม  ผู้ปฏิบัติงานบริหารชำนาญงาน  ฝ่ายอุทยานการศึกษา  สำนักการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อ้างอิง
 ประชาชาติธุรกิจท่องเที่ยว.  (2558, 19 ตุลาคม).  หลวงพระบาง 2020″ ปั้นรายได้ท่องเที่ยว “กลุ่มพรีเมี่ยม.  ค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.prachachat.net/news_ detail.php?newsid=1445228567

ปณิตา สระวาสี. (2558, 22 กันยายน). บันทึกการเดินทาง: หลวงพระบาง ผู้คน ชีวิต และพิพิธภัณฑ์  ค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.sac.or.th/databases/ museumdatabase/article_inside.php?id=2011

ปิยฉัตร์ สินธุสะอาด. (2540). สังคมล้านช้างตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23.

วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิทักษ์ โค้ววันชัย. [ม.ป.ป.]. พระอินทร์ ราชาผู้ครองสวรรค์. ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2559, จาก http://www.siamganesh.com/indra.html

ภูษนิศา นันตยุ (2554,  22 กันยายน).  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว). ค๎นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559, จาก http://www.opsmoac.go.th/download/BOFAA/Laos%2054.pdf

ลาวเจาะลึกหลวงพระบาง. (2555, 11 ธันวาคม). ค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559,จาก http://2g.pantip.com/cafe/silom/topic/B13050606/B13050606.html

วิยะดา ทองมิตร. [ม.ป.ป.]. นิตยสารสารคดี. ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559,จาก http://travel.kapook.com/view5329.html

เสมา อุปถัมภ์. (2558, 10 กันยายน). สัตว์ประจ าชาติลาว. ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559, จาก http://laos-db.blogspot.com/2015/09/blog-post_9.html

หลวงพระบาง ตลาดมืด. [ม.ป.ป.]. ค๎นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559,จาก http://www.louangprabang.net/content.asp?id=167

หัตถกรรมพื้นบ้าน. (2556, 26 พฤศจิกายน). ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2559,จาก http://guru.sanook.com/6988/

ออรินตา ลีเคอร์.  [ม.ป.ป.].  ความหมายของ ” หัตถกรรม”.  ค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.orientadecor.com/template/e1/show_article.php?shopid=10737&qid=15093

อัปเดทวารสาร, (2559). บุญช้างแขวงไชยะบุรี. วารสาร. หลวงพระบาง