ภาพที่ 1 การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ที่มา : (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม,2551น.1) ประเพณีสงกรานต์ จัดเป็นประเพณีที่สำคัญของไทยเราที่มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทรและเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความสนุกสนาน ความอบอุ่น เป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ในด้านของความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ญาติผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือและเพื่อนมนุษย์ในสังคม โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี และ “น้ำ”
แห่นางดาน : ประเพณีสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช
ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ และในยุคปัจจุบันได้นำเอาทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น “พิธีแห่นางดาน” เป็นประเพณีของศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับการฟื้นฟูโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน และสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวนครศรีธรรมราช ประวัติประเพณี “แห่นางดาน” จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและศาสนามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้บริเวณนี้ได้รับอารยธรรมของชนชาติอื่นๆ โดยเฉพาะอารยธรรมจากอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต
สีไทยโทน….เสน่ห์สีโบราณของคนไทย
ถ้าโลกของเรามีแค่สีขาวและสีดำ เมืองคงขาดสีสันในการดำเนินชีวิต แท้ที่จริงแล้ว “สีไทยโทน” สร้างขึ้นและมีการใช้มาตั้งแต่สมัยก่อน เห็นได้จากงานจิตรกรรมฝาผนังของไทยที่มีสีสันสวยงาม แม้เวลาผ่านมานับร้อยปี แต่สีของภาพจิตรกรรมบนฝาผนังยังคงงดงามไม่เสื่อมคลาย “สี” เป็นองค์ประกอบหลักหนึ่งของงานทัศนศิลป์ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ไปจนถึงบุคลิกภาพเฉพาะตน มนุษย์รู้จักนำสีมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการนำมาระบายลงบนสิ่งของ ภาชนะเครื่องใช้ รวมไปถึงการใช้สีวาดลงบนผนังถ้ำ หน้าผา ก้อนหิน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ให้รู้สึกถึงพลังอำนาจและสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมาย
“ต้นกัญชง” พืชมหัศจรรย์ทางวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าม้ง
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมและความเชื่อต่างๆ จนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชุมชนที่มีการสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นและยังคงมีการดำเนินอยู่ในปัจจุบัน พืชทางการเกษตรที่เรียกว่า “ต้นกัญชง” เป็นพืชตระกูลเดียวและมีลักษณะคล้ายกับ “ต้นกัญชา” ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้วยคุณสมบัติทางเส้นใยที่มีคุณภาพสูง ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้หลายชนิด และในคติความเชื่อชาวม้ง “ต้นกัญชง” เป็นสิ่งของมงคลที่ชาวม้งใช้ประกอบพิธีสำคัญของชนเผ่าตน “ต้นกัญชง” ไม่ใช่ “ต้นกัญชา” พืชทางเกษตรที่เรียกว่า “ต้นกัญชง” หรือ “เฮมพ์” เป็นพืชในสกุลเดียวกับต้นกัญชา
ภาษายุคใหม่ของวัยรุ่นไทย
ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้ภาษาไทยเข้าสู่ยุควิกฤต คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่ใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมักจะรวบคำให้สั้นลง เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร หรือ การบัญญัติคำศัพท์ใหม่ๆ ที่มีใช้เฉพาะกลุ่มขึ้นเพื่อความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งพฤติกรรม การสื่อสารในลักษณะดังกล่าว ทำให้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของไทย เกิดปัญหาภาษาวิบัติ ภาษาวิบัติคืออะไร? คำว่า “วิบัติ” มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ภาษาวิบัติ
ดอกไม้วิจิตรในงานช่างสิบหมู่
การแสดงความรัก ความศรัทธาของผู้คนมีหลากหลายรูปแบบ นอกจากการแสดงด้วยกริยาท่าทางแล้ว เรายังนำเอาสิ่งของต่างๆ มาเป็นเครื่องมือที่สื่อถึงความรักความศรัทธานั้นด้วย ในพุทธศาสนามีการนำเอาดอกไม้มาเป็นสื่อสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความศรัทธา การเคารพบูชา และการนับถือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน เมื่อพุทธศาสนิกชนจะบูชาพระรัตนตรัยจะจัดหาเครื่องสักการบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อมาบูชาศาสนวัตถุและศาสนสถานต่างๆ เรียกว่า “การบูชาด้วยอามิส” การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างสิบหมู่นำไปสร้างสรรค์ดอกไม้วิจิตรในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชาและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ช่างสิบหมู่คือใคร “งานช่างสิบหมู่”
“ผ้าบาติก” มนต์เสน่ห์ความงามและศิลปะในชายแดนใต้
ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ณ ปลายด้ามขวานทอง ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เป็นหนึ่งในพื้นที่อันสวยงาม มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นดินแดนที่มีความโดดเด่นทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ได้แก่ ไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยจีน เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนที่เป็นเอกลักษณ์และมากไปด้วยเสน่ห์ชวนค้นหา “ผ้าบาติก”
ทำบุญ เวียนเทียน ฟังธรรม วันมาฆบูชา
วันนี้ เวลา 08.30 น. ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง จัดงาน “ทำบุญ เวียนเทียน ฟังธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา” ณ ลานกิจกรรมหน้าสหกรณ์ร้านค้า (อาคารตรีศร) โดย… ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นประธานในพิธี และมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัย/บุคลากร ร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกันโดยภายในงานมีกิจกรรม ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง (พระภิกษุสงฆ์วัดน้ำวน) พิธีเวียนเทียนรอบหอพระพุทธมิ่งมงคลการแสดงสัมโมทนียกถา เนื่องในวันมาฆบูชาธรรมสถาน
งาน ชุมชนร่วมใจ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ลอยกระทงที่ มสธ. ครั้งที่ 12
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งเป็นวันลอยกระทงประจำปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้จัดงานประเพณีลอยกระทงเพื่อร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของประเทศไทย โดยจัดภายใต้งาน ชุมชนร่วมใจ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ลอยกระทงที่ มสธ. ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 12 ที่มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กรมที่ดิน โรงเรียนอนุบาลจุติพร บริษัท ออล แอดวานซ์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด สถาบันสอนภาษาอาจารย์ต้น มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร สมาคมสุโขทัยธรรมาธิราช สโมสรสุโขทัยธรรมาธิราช
พิธีถวายผ้าพระราชทาน ประจำปี 2562
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดพิธีถวายผ้าพระราชทาน ประจำปี 2562 วันที่ 26 ตุลาคม 2562 ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม