การเตรียมจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดประชุมการเตรียมงานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 โดยพระมหาสัณห์ภิชญ์ สุทฺธมโน หัวหน้ากองงานเลขานุการ วัดหนองแวง พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง รองศาสตราจารย์ดร.ชนกนารถ บุญวัฒนะกุลเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมทั้งผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ.อุบลราชธานี หัวหน้าส่วนราชการผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดงานพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของจังหวัดขอนแก่น อาทิ วัฒนธรรมจังหวัดและฝ่ายพิธีการ สำนักพระพุทธศาสนา สถานีตำรวจภูธร โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น อบจ. เทศมนตรีนครขอนแก่น สาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น และตัวแทนจากหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องในการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานได้เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2564
ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ “วิถีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” (the 1st National and the 11th International Conference on Arts and Culture: Contemporary Arts and Cultural Practices) ระหว่างวันที่ 22-23
กิจกรรม“ทำบุญ เวียนเทียน ฟังธรรม” เนื่องในวันมาฆบูชา
ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกับกองกลาง มสธ. จัดกิจกรรม“ทำบุญ เวียนเทียน ฟังธรรม” เนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ลานกิจกรรมหน้าสหกรณ์ร้านค้า (อาคารตรีศร) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อให้ผู้บริหาร บุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปร่วมทำนุบำรุง และสืบทอดพุทธศาสนา ร่วมถึงยังนับเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของศิลปวัฒนธรรรมไทยที่สืบทอดกันมานับแต่ครั้งในอดีต อีกทั้งการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยยังนับเป็นโอกาสที่ดี ที่ให้บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไป มีโอกาสได้พักผ่อนและขัดเกลาจิตใจด้วยหลักธรรมคำสอน เกิดความร่มเย็นเป็นสุข และยังนำมาซึ่งการประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี อันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและสังคม กิจกรรมประกอบด้วย การตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง
งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2563
ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง จัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2563 “ชุมชนร่วมใจ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ลอยกระทงที่ มสธ.” ครั้งที่ 13 ภายใต้ชื่องาน “ลอยกระทงวิถีใหม่” ในวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2563 ณ บริเวณสระน้ำหน้าอาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์เผยแพร่ประเพณีไทย “วันลอยกระทง” ส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดกิจกรรมทางวิชาการและนันทนาการ เปิดโอกาสให้บุคลากรและประชาชนทั่วไป ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น และเห็นคุณค่าของประเพณีที่ดีงามของไทย อีกทั้งเป็นการจัดกิจกรรมโดยความร่วมมือของหน่วยงานภายนอกซึ่งเป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในการจัดกิจกรรม ได้แก่สมาคมสุโขทัยธรรมาธิราช สโมสรสุโขทัยธรรมาธิราช สหกรณ์ร้านค้า
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2563
ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง จัดโครงการจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2563 ณ วัดป่าประดู่ พระอารามหลวง ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยจัดพิธีสมโภชองค์พระกฐินพระราชทาน วันที่ 9 ตุลาคม 2563 ณ ศาลาการเปรียญพระเทพคุณาธาร วัดป่าประดู่ จัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วันที่ 10 ตุลาคม 2563 ณ พระอุโบสถ วัดป่าประดู่ พระอารามหลวง ซึ่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา
โครงการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการทำดอกบัวประดิษฐ์จากดินไทย
ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง จัดโครงการ “โครงการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการทำดอกบัวประดิษฐ์จากดินไทย” ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารพุทธวิชชาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในวันที่ 26 สิงหาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ในการทำดอกบัวประดิษฐ์จากดินไทยรูปแบบการอบรม มีการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองและการศึกษาผ่านแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมออนไลน์ โดยได้รับเกียรติ จากวิทยากร นางสุนิภา เสือเปรียว สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บรรยาย ให้ความรู้เรื่องต่างๆ และฝึกปฏิบัติการทำดอกบัวประดิษฐ์จากดินไทย โดยผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติ “การทำดอกบัวประดิษฐ์จากดินไทย” ซึ่งมีขั้นตอนที่ต้องใช้ความละเอียด มีสมาธิ
โครงการ “อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมศิลปะการพับดอกบัวในงานบุญ”
ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง จัดโครงการ “อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมศิลปะการพับดอกบัวในงานบุญ” ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารตรีศร สำนักการศึกษาต่อเนื่อง ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ในการพับดอกบัวในงานบุญ รูปแบบ การอบรม มีการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองและการศึกษาผ่านแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมออนไลน์ โดยได้รับเกียรติ จากวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริชาติ ดิษฐกิจ บรรยายให้ความรู้เรื่องต่างๆ ของบัวไทย และนางสาว วรรณวิลัย พูลอนันต์ เป็นวิทยากรฝึกปฏิบัติ “ศิลปะการพับดอกบัวในงานบุญ”
“กาแฟ” วัฒนธรรมแห่งความรุ่มรวย
การดื่มกาแฟเป็นสิ่งที่หลายคนใบปัจจุบันลุ่มหลง ด้วยความนิยมอย่างสูงทำให้เกิดมีร้านขายกาแฟอยู่แทบทุกแห่งหน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกาแฟกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง กว่ากาแฟจะมีอิทธิพลกับคนไทยเช่นนี้ มีเส้นทางการเติบโตอย่างไร เริ่มเข้ามาในแผ่นดินไทยตั้งแต่เมื่อใด แล้ววัฒนธรรมการดื่มกาแฟมีความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคมไทยอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ เดิมคนไทยเรียกกาแฟว่า ข้าวแฝ่ และเพี้ยนมาเป็น กาแฝ่ และ กาแฟ ในปัจจุบัน กาแฟเริ่มเข้ามาสู่แผ่นดินไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เดิมคนไทยไม่นิยมดื่มกาแฟเพราะมีรสขมและคิดว่าเป็นยามากกว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3
ชีวิตวิถีใหม่ วัฒนธรรมไทยที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด – 19 ซึ่งมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงตลอดจนการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคโควิด – 19 เป็นการระบาดใหญ่ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคโควิด – 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม
“ลูกเห็ด”หรือ“ลูกเผ็ด”หรือ“ลูกหนวย”ทอดของหรอย-ทอดมันปักษ์ใต้
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้นั้นมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการค้า การเดินเรือ ของพ่อค้าจากอินเดีย จีน และชวาในอดีต ทำให้วิถีวัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีการกินของชาวใต้เป็นอย่างมาก สำหรับบทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการทำอาหารใต้ชนิดหนึ่งที่คนภาคใต้เรียกว่า “ลูกเห็ด”หรือ “ลูกเผ็ด” หรือ“ลูกหนวย”ทอด ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักสมุนไพรไทยและคุณสมบัติสมุนไพรไทย ซึ่งอยู่ในส่วนผสมของเครื่องแกงใต้กันก่อน 9 สมุนไพรไทยกับคุณประโยชน์มากมายที่อยู่ในส่วนผสมของเครื่องแกงใต้ อาหารของภาคใต้นั้นมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้ง ๒