การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2564

ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ “วิถีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” (the 1st National and the 11th International Conference on Arts and Culture: Contemporary Arts and Cultural Practices) ระหว่างวันที่ 22-23 มีนาคม พ.ศ.2564 ณ อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม (พุทธวิชชาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยร่วมกับเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยครั้งนี้ คณะกรรมการจัดงานได้รับเกียรติ จากศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ต่องานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม” นอกจากกิจกรรมการปาฐกถาแล้ว ยังมีการบรรยายพิเศษหัวข้อ “วิถีศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ในการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งนี้ สำนักการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่องได้ร่วมลงนามความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม กับหน่วยงานและมหาวิทยาลัยระดับอุดมศึกษา จำนวน 14 สถาบัน

ทั้งนี้ สำนักการศึกษาต่อเนื่องได้จัดแสดงนิทรรศการและการสาธิตและฝึกปฏิบัติ “การแกะสลักเครื่องปั้นดินเผาลายโบราณ”งานหัตกรรมพื้นบ้านเก่าแก่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเชื้อสายมอญ
ที่อาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเกาะเกร็ดจังหวัดนนทบุรี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชมผลงานเครื่องปั้นดินเผารูปทรงต่างๆ โดยเฉพาะรูปทรงฟักทอง อันเป็นรูปทรงสัญลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรี และฝึกปฏิบัติแกะสลักลายโบราณ เพื่อเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าที่ควรอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางภูมิปัญญาให้คงอยู่ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านได้มีโอกาสเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากนิทรรศการด้วย รวมถึงทำให้ตระหนักว่างานศิลปวัฒนธรรมเป็นศิลปะที่พัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างรายได้ ไม่ต่างจากคนที่มีงานประจำ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศสู่ความมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

ข่าว : บุญทิพย์  ช่วยรัตแก้ว ฝ่ายอุทยานการศึกษา  สำนักการศึกษาต่อเนื่อง