ช่วงปลายฝนต้นหนาวกำลังมาถึง เหล่านักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยกำลังวางแพลนในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อไปสัมผัสอากาศที่หนาวเย็น เห็นได้จากโลกออนไลน์จากเพจแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้กดไลค์และให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อีกทั้งได้รับการกล่าวขานในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความน่ารักของชาวบ้านไทย-มอญที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน ภาพที่ 1 อำเภอสังขละบุรี ที่มา: https://pantip.com/topic/34907371 ประวัติอำเภอสังขละบุรี สังขละบุรี
การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ : ตอนที่ 2 รัชกาลที่ 6 – 9
ในช่วงรัชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ 1-3 เป็นยุคที่ลักษณะการแต่งกายยังคงรูปแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา จนเมื่อเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระประสงค์ในการพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัยตามแบบของชาวตะวันตก เพื่อไม่ให้ประเทศไทยถูกดูถูกจากต่างชาติ จวบจบสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ทรงดำเนินตามแนวของรัชกาลที่ 4 ในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในหลายๆ ด้านดังเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป และในด้านการแต่งกายนั้นมีการผสมผสานวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวตะวันตกเข้ากับวัฒนธรรมของไทยทำให้เกิดลักษณะการแต่งกายที่งดงามซึ่งหาชาติใดเสมอเหมือนได้ยากนัก สำหรับรูปแบบการแต่งกายใน รัชสมัยรัชกาลที่ 6 ถึง รัชกาลที่ 9 ก็ยังคงลักษณะการแต่งกายที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น โดยมีวิวัฒนาการการแต่งกายตามยุคสมัยรัชกาลต่างๆ ดังนี้ สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 – 2468)
ไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี
โดย นางสาวเพ็ชรดา เพ็ชรรัตน์ ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพชรบุรี 1. ประวัติไทยทรงดำ ไทยดำหรือ “ลาวโซ่ง” ซึ่งความเป็นจริงคนกลุ่มนี้มิใช่คนลาวจากประเทศลาว แต่เป็นไทยดำจากเมืองเคียนเบียนฟู (เมืองแถง) ในประเทศเวียดนามที่ถูกเรียกว่าลาวเพราะอพยพผ่านประเทศมาพร้อมกับคนลาวในเวียงจันทร์ และลาวเมืองพวน อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นเมือง 3 ลาว คือ ลาวเวียง (ต.สระพัง) ลาวพวน(ต.หนองปลาไหล) แต่ส่วนใหญ่เป็นลาวโซ่ง 80 % คำว่า “โซ่ง”
การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ : ตอนที่ 1 รัชกาลที่ 1 – 5
เมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 2325 ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามต่างๆ ถูกสืบทอดมาจากสมัยอยุธยาแทบทั้งสิ้น รวมถึงลักษณะการแต่งกายด้วยเช่นกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงใช้รูปแบบและลักษณะการแต่งกายเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ต่อมาภายหลังเมื่อความเจริญของชาวตะวันตกได้แพร่ขยายอิทธิพลเข้ามาจึงเริ่มมีการดัดแปลงลักษณะการแต่งกายของชาวตะวันตกผสมผสานกับการแต่งกายแบบดั้งเดิมเพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ผนวกกับการปรับปรุงประเทศของกษัตริย์ไทยในสมัยนั้นที่ต้องการให้ประเทศมีความก้าวหน้าทันสมัยและก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก ตั้งแต่สมัยอยุธยาจวบจนกรุงรัตนโกสินทร์ลักษณะการแต่งกายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการนุ่งหรือประเภทของผ้าที่นุ่งจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ว่าเป็นขุนนาง เป็นชนชั้นสูง หรือเป็นชาวบ้าน โดยการแต่งกายในแต่ละยุคแต่ละช่วงของกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถจำแนกตามยุคสมัยรัชกาลได้ดังนี้ สมัยรัชกาลที่ 1 – 3 พ.ศ. 2535 – 2394 ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงแต่งกายตามรูปแบบดั้งเดิมตามสมัยอยุธยา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมดังนั้นลักษณะการแต่งกายจึงต้องมีความทะมัดทะแมง โดยผู้ชายจะนุ่งโจงกระเบนถกสั้นเหนือเข่า ไม่สวมเสื้อ ไม่สวมรองเท้า หากอยู่บ้านจะนุ่งผ้าลอยชายหรือนุ่งโสร่ง