งาน “ทำบุญ เวียนเทียน ฟังธรรม วันมาฆบูชา”

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561  ณ บริเวณอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก  รศ.ดร.ภานุมาศ  ขัดเงางาม  รักษาการแทนอธิการบดี  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  คณาจารย์  บุคลากร  และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ร่วมทำบุญในงาน “ทำบุญ เวียนเทียน ฟังธรรม วันมาฆบูชา”  ภายในงานมีการทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง  ฟังธรรมเทศนาจากพระภิกษุสงฆ์  และร่วมเวียนเทียน  ณ บริเวณหอพระพุทธมิ่งมงคลธรรมสถาน  

อบรม “การทำเครื่องแขวนดอกไม้สด”

ฝ่ายอุทยานการศึกษาจัดกิจกรรมการฝึกอบรมการทำเครื่องแขวนดอกไม้สด  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน  และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี  โดยได้เชิญทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพมาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำเครื่องแขวนดอกไม้สด  เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561  ณ อาคารตรีศร  สำนักการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  

การประชุมวิชาการนานาชาติเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  วิทยาเขตหันตรา  คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เข้าร่วมการประชุมการประชุมวิชาการนานาชาติเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8  มรดกโลก : ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์  ซึ่งในปีนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเป็นเจ้าภาพจัดงาน  ในการนี้ รศ.ดร. ภานุมาศ ขัดเงางาม รักษาการแทนอธิการบดี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอุมศึกษา 14 แห่งทั่วประเทศ และ รศ.ดร. ฐปนรรต

หลวงพระบางเมืองมรดกโลก: ช้างสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์สู่สินค้าหัตถกรรม

อาณาจักรล้านช้าง ในตำนานของขุนบรมมีคำว่าช้างปรากฏตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือประมาณปี พ.ศ.2063  ต่อมาก็ได้พบกับคำว่า ล้านช้าง ตามพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เช่น ฉบับแรก พบปรากฏอยู่กับศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา ประมาณ พ.ศ. 2016 จารึกด้วยอักษรธรรมปรากฏคำว่า ศรีสัตนาคนหุตมหานครราชธานี คำว่า สตะนาคนะหุต แปลว่า ร้อย นาคะแปลว่าช้าง และนะหุตแปลว่า หมื่น เมื่อรวมกันแล้วจะได้คำว่า ช้างล้านตัว หรือล้านช้าง (ปิยฉัตร์ สินธุสะอาด, 2540)

เครื่องจักสาน

ความหมาย เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า

หนุมานชาญสมร

ท้าวโคดม  เป็นกษัตริย์ครองเมืองสาเกดมาเป็นเวลานานแต่ไม่มีโอรสธิดาเลย  ต่อมามีความเบื่อหน่ายในราชสมบัติจึงออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ในป่านานถึงสองพันปี  วันหนึ่งนึกขึ้นก็ได้ทำพิธีบูชาไฟแล้วนั่งหลับตาร่ายเวทนาจนกระทั่งบังเกิดสาวสวยผุดขึ้นกลางกองไฟ    พระฤาษีโคดมตั้งชื่อให้นางว่า  กาลอัจนาและได้นางเป็นภรรยาทั้งสองอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข  ต่อมาไม่นานนางกาลอัจนาก็ตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกสาวรูปร่างหน้างดงาม  โดยตั้งชื่อให้ว่า  สวาหะ           ทุก ๆ เช้าพระฤาษีจะต้องเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาเป็นอาหาร  แต่ก่อนที่จะออกจากอาศรม  พระฤาษีมักจะสั่งกำชับให้นางกาลอัจนาเลี้ยงลูกอยู่แต่ในอาศรม          พระอินทร์ต้องการแบ่งกำลังของพระองค์ไปเกิดในเมืองมนุษย์  เพื่อให้เป็นทหารของพระนารายณ์ซึ่งจะอวตารมาเกิดเป็นพระรามและทำสงครามกับทศกัณฐ์  วันหนึ่งจึงเหาะลงมาจากวิมาน   แล้วเข้าไปหานางกาลอัจนาในอาศรม  ขณะที่พระฤาษีโคดมออกไปหาผลไม้ตามปกติ  พระอินทร์เพียงพูดจาเกี้ยวพาราสีและกอดจูบเล้าโลมให้นางมีความรู้สึกเคลิบเคลิ้มก็สามารถทำให้นางตั้งครรภ์ได้ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระองค์  จากนั้นพระอินทร์ก็เหาะกลับไป  พอครรภ์แก่ครบกำหนดนางกาลอัจนาก็คลอดลูกออกมาเป็นชาย  มีกายสีเขียวเหมมือนพระอินทร์  พระฤาษีคิดว่าเป็นลูกของตน  จึงรักใคร่เลี้ยงดูอย่างทนุถนอมยิ่งกว่านางสวาหะเสียอีก    อีกไม่นานต่อมาขณะที่พระฤาษีออกป่าไปหาผลไม้  นางกาลอัจนานั่งมองพระอาทิตย์อยู่ในอาศรม 

การแทงหยวก

โดย  นางสาวเพ็ชรดา  เพ็ชรรัตน์    ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เพชรบุรี การแทงหยวกของช่างพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรีเป็นผลงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน  มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานสรุปได้ ๒ ขั้นตอน  คือ  ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  และขั้นตอนการแทงหยวก  ดังนี้ ๑) ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  การแทงหยวกของช่างพื้นบ้าน  มีการใช้วัสดุ  ได้แก่  หยวกกล้วย  กระดาษสี  ไม้ไผ่  และอุปกรณ์  ได้แก่  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการแทงหยวก  อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบหยวก 

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

โดย  นายสุรัติ  หาญกำธร  ศูนย์วิทยพัฒนา  มหาวิทยาลัยุโขทัยธรรมาธิราช  สุโขทัย   พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลมาจากลังกาและพม่า  นิยมแบ่งพระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น ๔ หมวด  คือ  หมวดใหญ่  หมวดกำแพงเพชร  หมวดพระพุทธชินราช  และหมวดเบ็ดเตล็ด  พระพุทธรูทั้ง ๔ หมวด  แบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน  คือ   รุ่นแรกมีวงพระพักตร์กลมแบบลังกา  รุ่นที่ ๒ มีวงพระพักตร์ยาวและพระหนุเสี้ยม  รุ่นที่ ๓ พระพักตร์รูปไข่คล้ายแบบอินเดีย 

อิ่นกอนฟ้อนแกน

โดย อาจารย์ถนอม คงยิ้มละมัย  ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ปานถนอม อิ่นกอนฟ้อนแกน เป็นประเพณีการละเล่นของคนลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ คือ  การละเล่นโยนลูกช่วง หรือเล่นคอน และร่ายรำตามจังหวะเพลงแคนและต่อกลอนกันจนดึก แล้วจึงแยกกันไปพูดคุยกันเป็นคู่ ๆ  เพื่อความสมัครสมานสามัคคี นำไปสู่ความรัก เพื่อความสนุกสนาน  ทำให้หนุ่มสาวได้รู้จักคุ้นเคยจนก่อให้เกิดความรักและแต่งงานกัน การละเล่นโยนลูกช่วง “อิ่นกอน ฟ้อนแกน” เป็นสำเนียงชาว ไทยทรงดำ อิ้น หรือ อิ่น แปลว่า เล่น ,กอน คือลูกช่วง ซึ่งคนโซ่งจะเรียก มะกอน

คณะจาก มสธ. เข้าร่วมในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 18

เมื่อวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2561  ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตสนามจันทร์  คณะนักแสดงชุด “อินกอนฟ้อนแกน” จากศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. เพชรบุรี  เข้าร่วมแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา  ครั้งที่ 18 “นาฏยปรีดิยานันท์  กึ่งศตวรรษ  สนามจันทร์  ศิลปากร”  ในปีนี้มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน  ภายในงานมีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมกว่า 101 แห่ง  มีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมกว่า 150 ชุด  โดยจัดการแสดงตั้งแต่วันที่ 7-9 กุมภาพันธ์  ในการนี้