พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน) ซึ่งเป็นศาสนาอเทวนิยม (อเทวนิยม คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าและเชื่อในกฎธรรมชาติ) ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี
ในชมพูทวีป คำว่า “ชมพูทวีป” ในที่นี้หมายถึงดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศ ในปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากสุด 3 อันดับแรกคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ พระโคตมพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้า-สุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล
พระโคตมพุทธเจ้า เป็น ศาสดาของศาสนาพุทธที่มีตัวตนสามารถสืบค้นหลักฐานการมีอยู่ของพระองค์ทั้งจากหลักฐานทางวัตถุและหลักฐานจากการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการทั่วโลก
พระโคตมพุทธเจ้าทรงใช้หลักธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เองในการสั่งสอนและเผยแพร่ศาสนาของพระองค์ โดยมีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาและปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายนั้นก็คือ “พระนิพพาน” และสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ – อุบาสก และอุบาสิกา) หากรวมประเภทบุคคลที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาแล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4
เหตุการณ์หลังจากพระโคตมพุทธเจ้า เสด็จดับขันปรินิพพานไปแล้ว 100 ปี ศาสนาพุทธเริ่มมีการแตกแยกนิกายครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ในอนุทวีปอินเดีย เนื่องจากมีความคิดเห็นและข้อปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่แตกต่างกัน ซึ่งแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่คือ มหายาน (ยานใหญ่) นิกายนี้ ได้เข้าไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ในทิเบต จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม หีนยาน (ยานเล็ก ซึ่งเป็นคำที่ มหายานตั้งให้) แต่ฝ่ายหีนยาน จะเรียกตัวเองว่า “เถรวาท” นิกายนี้มีผู้นับถือมาก ในประเทศศรีลังกา ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ดินแดนประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณ-ทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา เวียดนาม กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากพบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น พระปฐมเจดีย์และธรรมจักรกวางหมอบ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้โดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ซึ่งในช่วงแรกไทยรับพระพุทธศาสนาแบบนิกายเถรวาท ซึ่งเชื่อว่าหลายคนมีคำถาม
แล้วประเทศไทยแยกเป็น 2 นิกาย (2 นิกายในที่นี้หมายถึง มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย) ตั้งแต่เมื่อไหร่?
ประเทศไทยแต่เดิมเรานับถือพระพุทธศาสนาแบบนิกายเถรวาทมาอย่างยาวนานล่วงเลยมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์
เมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ขณะที่ผนวชอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย พุทฺธวโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ ในวงศ์พระสงฆ์มอญ (รามัญนิกาย) เมื่อปี พ.ศ. 2372 และทรงตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย ขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และได้ตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกนิกาย แยกออกจากคณะสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิม ที่เป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิม ว่า “มหานิกาย” จวบจนถึงปัจจุบัน
ฝ่ายมหานิกาย
ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าระหว่าง มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย นั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เนื้อหาในตารางต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อย่างไรก็ดี พระสงฆ์ไทยทั้ง ฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ก็ล้วนเป็นสงฆ์สาวกของพระศาสดาสมณะโคตม
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน พระธรรมวินัยของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายนั้น
ก็คือ “พระนิพพาน” สืบทอดคำสอนและทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาของพระองค์และสั่งสอนพุทธศาสนิกชน ผู้นับถือพระพุทธศาสนา
ให้ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม
จะเห็นได้ว่าพระสงฆ์ ไม่ว่านิกายใดก็ล้วนมีวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามคำสอนของพระศาสดาทั้งนั้น แม้จะมีข้อแตกต่าง
กันอยู่บ้าง ดังคำที่พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี เคยแสดงพระธรรมเทศนาไว้เมื่อปี 2545 ว่า “ไม่ต้องญัตติ คำว่าธรรมยุต -มหานิกาย เป็นชื่ออันหนึ่งต่างหาก ส่วนสุปฏิปนฺโน อุชุ ญาย สามีจิปฏิปนฺโน นี้
เป็นพื้นฐานของศาสดาองค์เอก ที่ประทานไว้ให้พระสงฆ์ปฏิบัติตัวอย่างนี้ เหล่านี้แลเป็นเนื้อเป็นหนังอันแท้จริง ไม่ได้เป็นอยู่กับธรรมยุต-มหานิกาย”
ผู้รวบรวม/เรียบเรียงข้อมูล : ณกรณ์ ไตรบำรุง
แหล่งที่มา : งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม) ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
อ้างอิง : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ National Office of Buddhism. (2566, 8 กุมภาพันธ์). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา. https://www.onab.go.th/th/page/item/index/id/1
ESAN INFORMATION @UBON RATCHATHANI สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ณ อุบลราชธานี. (2566, 27 กุมภาพันธ์). สถาปัตย์ธรรมยุติ ใอุบลราชธานี.https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=6230
กรมประชาสัมพันธ์ PRD TOP NEWS. (2566, 31 พฤษภาคม). สมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย.
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/2113/iid/186039
คมชัดลึก. (2567, 24 มีนาคม). “มหานิกาย-ธรรมยุติกนิกาย” ความเหมือนที่แตกต่าง การเมืองใน “ศาสนจักร”. https://www.komchadluek.net/news/general-news/491603
ศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2559, 14 มิถุนายน). สถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าเจดีย์พุทธคยา. https://dept.npru.ac.th/buddhapat/index.php?act=6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype=extmod&sys=sys_article&dat=index&mac_id=443
สัมพันธ์มหาวัชรยาน – GONGHOOG ก่งฮุก 供佛. (2555,10 พฤศจิกายน).ประมวญกำหนดสิกขาบทใน อุตตรนิกาย. https://www.gonghoog.com/main/index.php/2012-11-10-06-47-07