กรวยดอกไม้ วัฒนธรรมโบราณกับงานพิธีกรรม

สวยดอก หรือ กรวยดอกไม้ จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลไม่ปรากฎที่มาที่แน่ชัด แต่สันนิฐานว่าเกิดจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล้านช้างในอตีต) ของไทย เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์ท้องถิ่นขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรม แต่ที่เด่นชัดและยังคงวัฒนธรรมการทำสวยดอก หรือ กรวยดอกไม้อยู่อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันนั้นคือ ภาคเหนือ (ล้านนา) ไทย สวยดอก หรือกรวยดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามความเชื่อทั้งพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมความเชื่อท้องถิ่น ในด้านประเพณี เช่นประเพณีปีใหม่ หรือ สงกรานต์ นิยมนำไปเป็นเครื่องสักการะ คาราวะดำหัวผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสของท้องถิ่น สวยดอกจะประกอบด้วยสวยหรือกรวยซึ่งจะทำจากชิ้นใบตองเย็บเป็นทรงกรวยเรียวแหลมที่ส่วนก้น

พระไทย 2 นิกาย กับความเหมือนที่แตกต่าง

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน) ซึ่งเป็นศาสนาอเทวนิยม (อเทวนิยม คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าและเชื่อในกฎธรรมชาติ) ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี ในชมพูทวีป คำว่า “ชมพูทวีป” ในที่นี้หมายถึงดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศ ในปัจจุบันเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากสุด 3 อันดับแรกคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ

เรือพระราชพีธี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ประเทศไทยเรามีวิถีชีวิตเกี่ยวกับสายน้ำมาช้านานการเดินทางในสมัยโบราณสัญจรทางน้ำเป็นหลักรวมถึงการดำเนินชีวิต การค้าขาย แม้กระทั่งใช้ในการสงคราม ทั้งในชนชั้นผู้ปกครองและชาวบ้านสามัญชนคนธรรมดา ย้อนไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรือคือยานพาหนะที่สำคัญที่สุด วัสดุที่นำมาทำเป็นเรือส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นโดยนำต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มาขุดหรือต่อขึ้นเป็นลำเรือ ต่างกันตรงที่การต่อเรือในราชสำนักจะมีความวิจิตรประณีตสวยงาม โดยมีการแกะสลักตัวลำเรือและโขนหัวเรือเป็นรูปสัตว์ในความเชื่อ เช่น เป็นรูปพญานาค พญาครุฑ และรูปหัวหงส์ เป็นต้น “เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์” (ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา) ได้มีการจดบันทึกกล่าวถึงเรือเล็ก และเรือยาวในยุคนั้นว่า     “ในเรือยาวลำหนึ่ง ลางทีก็มีฝีพายตั้งแต่ 100 ถึง 120 คน

งานลอยกระทง มสธ. ประจำปี 2567 “สีสันแห่งนที สืบสานประเพณีลอยกระทง”

งานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2567 ชุมชนร่วมใจ เชิดชูวัฒนธรรมไทย ลอยกระทงที่ มสธ. ครั้งที่ 17 ภายใต้ชื่องาน “สีสันแห่งนที สืบสานประเพณีลอยกระทง” วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณสระน้ำหน้าอาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายภายนอก ได้แก่ สมาคมสุโขทัยธรรมาธิราช สโมสรสุโขทัยธรรมาธิราช สหกรณ์ร้านค้า มสธ.จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์ มสธ.จำกัด กรมที่ดิน บริษัท อิมแพ็ค