งานสงกรานต์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย มสธ. “ม่วนชื่น ประเพณี ปีใหม่เมือง” ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ (11 เม.ย. 66)  ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) จัดงานประเพณีสงกรานต์
อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยประจำปี 2566 “ ม่วนชื่น ประเพณี ปีใหม่เมือง” ณ บริเวณโถงชั้นล่างอาคารวิชาการ 3

โดยในการจัดงานครั้งนี้  ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัย และเป็นอธิการบดีคนแรกของ มสธ. ได้กล่าวให้พรแก่ผู้เข้าร่วมงาน
ประเพณีสงกรานต์อนุรักษวัฒนธรรมไทย

ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้จัดงานประเพณีสงกรานต์ขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชาติ สำหรับในปีนี้การจัดงานจัดในรูปแบบวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางภาคเหนือของไทย
โดยมหาวิทยาลัยได้ถือเอาพิธีสำคัญในแต่ละปีที่จะมีการน้อมนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายยังพระอารามหลวงในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
ซึ่งปี 2566 นี้ มหาวิทยาลัยมีกำหนดน้อมนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายยังวัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา การจัดงานเพื่อร่วมสืบสานประเพณีและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยตลอดทุกกิจกรรมในปีนี้จึงจัดในรูปแบบทางภาคเหนือ ภายใต้ชื่องาน “ ม่วนชื่น ประเพณี ปีใหม่เมือง”

การจัดงานสงกรานต์วันนี้ มี รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดีเป็นประธานเปิดงาน โดยกิจกรรมสำคัญได้แก่ พิธีรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่แบบล้านนา โดยมีผู้ร่วมในพิธีรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ได้แก่ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัย  รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายยุทธศาสตร์ แผนนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล
รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี
และนายชาตรี  วงศ์มาสา อดีตผู้อำนวยการ ศวช.มสธ.นครนายก  ซึ่ง “วิถีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่แบบล้านนา” จะนำน้ำส้มป่อยพร้อมเครื่องสักการะไปมอบ
ให้ผู้ใหญ่ โดยอาการนอบน้อม เมื่อผู้ใหญ่ได้รับแล้วก็จะเอามือจุ่มน้ำส้มป่อยขึ้นลูบศีรษะและอาจสลัดใส่ผู้ไปดำหัว คล้ายกับปะพรมน้ำมนต์พร้อมกล่าวคำอันเป็นมงคลและให้พร

นอกจากพิธีรดน้ำดำหัวแล้ว ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปและพระบรมรูปจำลอง รัชกาลที่ 7 ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด“ฟ้อนขันดอก” และ “ฟ้อนที (ฟ้อนร่ม)” จากคณะนาฏศิลป์และการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี การแสดงดนตรีรูปแบบล้านนาโดยวงดนตรี “สะบัดศิลป์”
ชมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการทำโคมล้านนา รวมถึงการสาธิตการทำอาหารทางภาคเหนือได้แก่ การทำข้าวซอยและขนมจีนน้ำเงี้ยว ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมงานและสนับสนุนจัดซุ้มอาหารว่าง เครื่องดื่ม ขนมหวานเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้รับประทานร่วมกัน และบุคลากร ของ มสธ.
ร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทยภาคเหนือร่วมงานสงกรานต์” อีกด้วย

หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดซุ้มอาหาร เครื่องดื่ม

1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

2. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา

4. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

5. สำนักคอมพิวเตอร์

6. สาขาวิชารัฐศาสตร์

หน่วยงานสนับสนุนจัดซุ้มอาหาร/เครื่องดื่ม

1. คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย: ไอศครีม 2 ถัง

2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ : ขนมจีบ

3. ศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา : น้ำลำไย

4. กองทรัพยากรบุคคล: ข้าวเหนียวหน้าต่าง ๆ/ ขนมใส่ไส้

5. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: ข้าวซอยตัด+น้ำสมุนไพร

6. สำนักวิชาการ : ขนมไทย

7. สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด : ขนมจีนน้ำยา

8. สาขาวิชานิติศาสตร์ : ข้าวเหนียวหน้าต่าง ๆ/ขนมไทย

9. กองแผนงาน: ขนมกล้วย/ขนมฟักทอง

10. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ: ขนมตาล

11. กองกลาง: ไอศกรีม

12. สหกรณ์ร้านค้า มสธ. : ลูกชิ้นนึ่ง

13. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์: เต้าฮวยฟรุ๊ตสลัด/ข้าวต้มมัด

14. สถาบันวิจัยและพัฒนา: ใส้อั่ว ข้าวเหนียว น้ำพริกหนุ่ม

15. สำนักบรรณสารสนเทศ: ขนมจีบ

16. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์: ขนมไทย

17. สำนักบริการการศึกษา: ข้าวต้มมัด

18. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์: ขนมไทย

19. ศูนย์สัมมนาและฝึกอบรม: ลอดช่องสิงค์โปร์ และเครื่องดื่ม

ข้อมูลข่าวและที่มา ภาพ/ผู้เรียบเรียง : บุญทิพย์ ช่วยรัตแก้ว
ภาพ : สถานสื่อสารองค์กร  / สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
แหล่งที่มา : งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม) ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง