ติวสอบกันค่ะ ^_______^

(Intercultural Communication)
KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 5:43 am

ขอบคุณที่มาให้กำลังใจกันนะคะ คุณ peaceful ^____^

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 6:31 am

Module 9 Gender Differences in Communication

มีใครยังไม่อ่านบทกวี A Work of Artifice ของ Marge Piercy ไหมคะ
หยิบหนังสือมาเปิดเลยค่ะ อยู่ในหนังสือหน้า 109 อยากให้ลองอ่านดู
แนทนี่ชอบมากมาย อ่านแล้วซาบซึ้ง ฮืออออ
เกิดเป็นผู้หญิงในสังคมเราๆ งานนอกบ้านก็ต้องเก่ง แต่ฉลาดมากไม่ได้ ต้องแกล้งโง่เป็น
งานในบ้านก็ต้องได้ สวยก็ต้องสวย
เห้อ.. ลำบากจริงๆ
อ่านเสร็จ ทุบคอม เขวี้ยงหนังสือ คว้าเฟรนชฟราย พิซซ่า โดนัทมากินให้สาแก่ใจ
555 ล้อเล่นนะคะ

ความจริงบทนี้เป็นบทที่ชอบมากที่สุดเลย จะพยายามติวบทนี้ให้สนุกสนานนะคะ ^^
อ้าว เริ่มกดดันตัวเองละ -..-

ความแตกต่างทางเพศมันเกี่ยวข้องยังไงกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
เพศชายหญิงก็เหมือน sub-culture นึง ซึ่งผู้ชายกับผู้หญิงนี่ก็จะถูกสอนให้มองโลกต่างกันไป
เช่น .. เวลาผู้ชายมีอาชีพเป็นบุรุษพยาบาล
ผู้หญิงก็จะคิดเลย เห้ย ชายแท้ป่าว?? ผู้ชายก็จะมองว่านั่นมันอาชีพผู้หญิงนะ
เห็นไหมคะ เหมือนเราถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ รูปภาพประกอบคำว่าพยาบาลมักเป็นผู้หญิงเสมอ
ในด้านของภาษาก็ยังมีการแบ่งแยกเพศ เช่น ผู้หญิงพูด คะ/ขา ผู้ชายพูดครับ
ภาษากายล่ะ ผู้หญิงต้องนั่งหนีบๆ ผู้ชายต้องนั่งอ้าซ่า
รสนิยมการแต่งกาย สีชมพูกลายเป็นสีของผู้หญิง ผู้ชายต้องใส่สีมืดๆ
อำนาจ ผู้ชายเป็นผู้นำ ผู้หญิงเป็นผู้ตาม

เพราะเราอยู่ในสังคมที่ "ผู้ชายเป็นใหญ่" (Patriarchy)
นอกบ้าน (public domain) นี่ผู้ชายใหญ่ ผู้หญิงใหญ่ได้แค่ในบ้าน (domestic domain)เท่านั้นนะ
Patriarchy Myth หรือ สิ่งที่เป็นตำนานเล่าขานต่อๆ กันมาว่า..
ผู้ชายแข็งแรงกว่าผู้หญิง ผู้ชายเกิดมาเป็นผู้นำ ผู้หญิงอ่อนแอนุ่มนวล
ผู้ชายมีหน้าที่ทำมาหากิน ผู้หญิงมีหน้าที่เป็นแม่บ้าน
มันเป็น Inducement myth หรือ make-believe world
คือเป็นแค่ความเชื่อ ไม่ใช่ความจริง
แต่เราถูกสอนให้รู้จักความเชื่อนี้ตั้งแต่เด็กๆ
เป็นผู้หญิงต้องทำงานบ้านเป็นนะ ผู้หญิงคนไหนไม่ทำงานบ้าน เป็นผู้หญิงที่ใช้ไม่ได้
ความเชื่อนี้ทำให้เกิด prejudice เกิดอคติต่อเพศสภาพ
นำไปสู่ stereotype และ ปัญหาในการสื่อสารทันที

ยกตัวอย่าง.. ไม่ทราบว่ามีใครที่นี้เคยดูหนังเรื่อง Hidden Figures ไหมคะ
ตัดเรื่องเหยียดผิวไปก่อน..
มีประโยคที่ผู้ชายคนนึงเป็นทหารยศใหญ่ อยากจีบนางเอกซึ่งมีอาชีพเป็นคณิตกร
นายทหารถามว่า คุณทำงานที่ไหน นางเอกก็บอกว่า ทำงานที่นาซ่า
นายทหารเลยพูดต่อ.. โอ้ ผมไม่ยักกะรู้ว่า มีงานให้ผู้หญิงทำที่นั่น
นางเอกเลยตอบว่า... ฉันเป็นผู้หญิงผิวสีที่จบจากมหาลัย...คนแรก และใช่ที่นาซ่ามีงานให้พวกผู้หญิงอย่างฉันทำ
และไม่ได้ให้ฉันทำเพราะว่าฉันใส่กระโปรง แต่เป็นเพราะว่าฉันใส่แว่นตา
(นางเปรียบประมาณว่า ฉันได้งานนี้เพราะฉันมีสมอง)
จากบทสนทนานี้ จะเห็นชัดเลยว่าเกิดปัญหาในการสื่อสารขึ้นทันที
แน่นอน จากจะจีบ ไม่ได้ตั้งใจจะดูถูก ก็แห้วสิคะ


Colonel Jim Johnson: They let women handle that sort of...
Colonel Jim Johnson: [sees Katherine looking offended] That's not what I mean.
Katherine Johnson: What do you mean?
Colonel Jim Johnson: I'm just surprised at something so taxing.
Katherine Johnson: Oh Mr. Johnson, if I were you, I'd quit talking right now.
Colonel Jim Johnson: I don't mean no disrespect.
Katherine Johnson: I will have you know, I was the first negro female student at West Virginia university graduate school. On any given day, I analyze the binomial levels air displacement, friction and velocity. And compute over ten thousand calculations by cosine, square root and lately analytic geometry. By hand. There are twenty, bright, highly capable negro women in the west computing group, and we're proud to be doing our part for the country. So yes, they let women do some things at NASA, Mr. Johnson. And it's not because we wear skirts. It's because we wear glasses. Have a good day.

อันนี้ quote ฉบับเต็มนะคะ แซ่บซะ ฉากนี้นี่แนทตบโต๊ะฉาดใหญ่ แล้วร้องว่า.. มันต้องยังงี้เซ่
555 โทษทีค่ะ อินไปหน่อยยย

เอาล่ะ เข้าเรื่องเราต่อ...
ในประวัติศาสตร์ไทย ผู้หญิงที่เป็นผู้นำที่มีความสำคัญ จะมีน้อยกว่าผู้นำที่เป็นผู้ชาย
ทำไมล่ะ? เพราะผู้หญิงไม่เก่งหรอ? หรือผู้หญิงเก่งมีแต่ไม่ได้บันทึกไว้?
Female genealogies คือ การศึกษาประวัติศาสตร์ผู้หญิงที่มีความสำคัญ
ถ้าเราศึกษาจริงๆ เราจะเกิดคำถามทันทีกับ Patriarchy

ในภาษาไทย เราจะเห็น Patriarchy myth ในสำนวนไทย
เช่น ผู้ชายข้าวเปลือก ผู้หญิงข้าวสาร (ผู้ชายงอกงามได้ ผู้หญิงงอกงามไม่ได้)
ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว (แล้วผู้ชายล่ะ ไม่ต้องหรอ?)
ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง
เป็นต้น

จากตัวอย่างก็จะเห็นแล้วว่า.. เราควรระมัดระวังในการสื่อสาร
ไม่ใช่แค่ชายกับหญิงนะคะ กับทุกเพศสภาพเลย
ต้องระวัง stereotype, style (รูปแบบการพูด), word choice (การเลือกคำ), ส่วนประกอบอื่นๆของเสียง (supra-segmental features)


แนะนำให้อ่านตัวอย่างเพศสภาพกับภาษาฝรั่งเศสในหน้า 113-114 ด้วยนะคะ

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 6:56 am

Intermarriage การแต่งงานระหว่างคนต่างวัฒนธรรม

อันนี้..จากที่เคยคุยกับหนุ่มต่างชาติมาบ้าง ฮี่ๆ..
พอจะรู้บ้างว่าคนต่างชาติมองคนเอเชียประมาณไหน

ยกตัวอย่างง่ายๆนะคะ คนเมกัน จะมองผู้หญิงเอเชียว่าผู้หญิงเอเชียเนี่ยไม่ทนไม้ทนมือ
ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงว่า เขาเอาเราไปเป็นกระสอบทรายนะ
หมายความว่า สมมติเขาไม่ตอบแชทแปปเดียว เราก็ตีโพยตีพาย จะเป็นจะตาย
ชักแหง่กๆๆๆ ไม่สนใจฉันแล้วหรอ

เพราะเวลาผู้ชายเอเชีย เช่น ชายไทย จีบผู้หญิงไทย
ผู้หญิงไทยจะประดุจดั่งเจ้าหญิง อยากได้อะไรประเคนให้
อยู่ใกล้ชิดสนิทสนมตลอดเวลา

แต่ผู้ชายเมกัน จีบสาวเมกัน เขามีวัฒนธรรมเล่นตัวกันค่ะ
คือ ฉันจะไม่โทรหาเธอก่อน นี่... ก็เล่นเกมส์กันไป

เพราะงั้นในสายตาฝรั่ง สาวเอเชียก็จะบอบบางกว่าสาวฝรั่ง
(เวลาเขาแบ๊คแพคมาเที่ยวบ้านเรา ก็ดูแข็งแรงจริงๆ นะ ฮ่าๆ)

ซึ่งถามว่า.. มันจริงไหม ที่หญิงไทยทุกคนเป็นแบบนี้
มีคนเถียงงงว่าไม่จริง!!! ไม่ตอบแชทช้าน ช้านก็หาใหม่เลยจ้าาา
555 แบบนี้ก็มี เพราะงั้น ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแบบนั้น ถูกไหมคะ


ตัวอย่างอีกข้อคือ ฝรั่งคิดว่าสาวเอเชียเป็นแม่ศรีเรือน
เสียใจด้วยพ่อหนุ่ม ไม่ใช่ทุกคนหรอกค่ะ ยิ่งแยกบ้านห่างสายตาพ่อแม่ตัวเองแล้วล่ะก็..

สาวไทยคิดว่าหนุ่ม ฝ. เป็นยังไง
1. รวย 2. ไม่เจ้าชู้ 3. เทคแคร์ ดูแลดี สบายทั้งครอบครัว
หืมมม... จริงไหม ไม่ใช่ทุกคนหรอกมั้งคะ

นอกจากแนวคิดฝังหัวพวกนี้จะเป็นอุปสรรคในการเลือกคู่แล้ว
ภาษาก็สำคัญ บางคนบอกว่า ภาษารักเป็นภาษาสากล
(เอ้า เพลงรักข้ามขอบฟ้า บรรเลง,,)
แนทก็เห็นด้วยอยู่นะ แต่แค่คู่คนไทยพูดภาษาเดียวกันยังไม่เข้าใจกันได้
คนต่างภาษาพูดกันไม่เข้าใจ จะไม่ยิ่งไปกันใหญ่หรอ
ภาษาสำคัญค่ะ

พออ่านมาถึงตรงนี้
โอวโนว ไม่เอา ผ. ฝรั่งแล้ว
หยุด! อย่าเพิ่งคิดงั้นถ้าความฝันคุณอยู่ตรงไหน จงบินไปหามัน หิหิ
แต่ก่อนจะบิน.. เดี๋ยวๆๆๆ
เราต้องยอมรับก่อนว่า ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง มันต้องเป็นอุปสรรคบ้างอยู่แล้ว
พอเรายอมรับแล้ว เราก็ศึกษาเขาในฐานะปัจเจกบุคคล คืออะไร ก็.. คิดว่าเขาเป็นแบบนี้
ไม่ได้เป็นตัวแทนชนชาติไหนเลย ห้ามเอาไปเหมารวมกับคนในชาติเขา

เพราะไม่ว่าจะคนต่างชาติ หรือคนไทยด้วยกันเอง
เราหลีกเลี่ยงความแตกต่างไม่ได้หรอกค่ะ อย่าลืม sub-culture ต่างกัน ยังไงก็คิดต่างกันได้

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 7:18 am

Module 10 Application

JA : ความแตกต่างทางเพศสำคัญไหมในสังคมเกาหลี บทบาทและสถานะทางสังคมของผู้หญิงในเกาหลีเป็นอย่างไร
YP : เกาหลีเหมือนไทยตรงที่เป็นสังคมที่ชายเป็นใหญ่นะคะ เพราะฉะนั้นความแตกต่างทางเพศในสังคมเกาหลีก็จะชัดเจน แต่มันดีตรงที่ว่า เริ่มมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปจากเดิมบ้างแล้ว ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง ก็ ผู้หญิงเกาหลีเนี่ยจะเป็น minority (พลเมืองชั้น 2) เพราะงั้นถ้าผู้หญิงเกาหลีอพยพไปอยู่ต่างประเทศ ก็จะปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ได้ง่ายกว่า เพราะการย้ายไปอยู่ประเทศอื่นก็เท่ากับเป็น minority แต่ผู้ชายเกาหลีนี่เคยเป็น majority ในประเทศตัวเอง เพราะฉะนั้นเขาจะเผชิญความเป็น minority ได้ยากกว่า ทุกวันนี้นะคะ ผู้หญิงเกาหลีก็จะแสดงพลังความสามารถในด้านกีฬา หรือด้านวงการบันเทิง อย่างเช่นวง Girls' Generation ก็โด่งดังมากทั้งในไทยและแถบเอเชีย ผู้หญิงเกาหลีกำลังอัพเกรดสถานะตัวเองขึ้นมาค่ะ

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 7:35 am

Module 11 Inside Thai Society

เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรม

Low-context Culture >> วัฒนธรรมที่ใช้บริบทในการทำความเข้าใจน้อย มักจะเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา ไม่ต้องแปลความให้ยาก
เช่นวัฒนธรรมในแถบอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

High-context culture >> วัฒนธรรมที่ต้องใช้บริบทในการทำความเข้าใจมากกว่า มักจะเป็นลักษณะซ่อนเร้น ต้องตีความ
เช่นวัฒนธรรมแถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ ฝรั่งเศส

ให้ศึกษาหน้า 140 - 141 นะคะว่ามันคืออะไรบ้าง


Loosely-structured society สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม จริงหรือไม่
อันนี้มีนักวิชาการถกเถียงกัน บางคนก็สนับสนุนบางคนก็เห็นต่าง
ในคลิป อาจารย์จะยกนักวิชาการขึ้นมาหลายคน
แต่ในหนังสือ เหมือนเห็นแค่สองคน
สังคมโครงสร้างแบบหลวมคือ นึกถึงตัวเอง รักอิสระ มีอัตตา ปรับตัวง่าย ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีกฎระเบียบแต่ไม่มีการลงโทษผู้ละเมิด เกิดจากคนไทยชอบหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และความขัดแย้ง จึงไม่ค่อยเคารพกฎระเบียบ

แต่เอ็ดเวิร์ด ที ฮอลล์ กล่าวว่า แม้จะดูไม่เป็นระเบียบก็ตาม แต่ก็มีแบบแผนที่ซ่อนอยู่



Thai social value ค่านิยมในสังคมไทย
1. Moral debt บุญคุณ
2. Seniority การเคารพผู้อาวุโส
3. Showing consideration ความเกรงใจ
4. Ego อัตตา หรือมีวัฒนธรรม Face culture, Self-presentation
5. Social Harmony ยอมผ่อนผันให้กันได้

ของไทยจะมีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติตามธรรมเนียม (Collectivism)
แต่ฝรั่งจะเป็นปัจเจกบุคคล บุญคุณไม่ชัดเจน (Individualism)


Module 12 Application ไม่มีไฟล์สนทนาแฮะ เดี๋ยวจะลองถามอาจารย์ดูนะคะว่ามีไฟล์ไหม ถ้ามีจะมาอัพเดทให้ค่ะ

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 8:00 am

Module 13 Cultural Adjustment and Readjustment

Acculturation การเรียนรู้และรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติ

ไม่ได้เกิดขึ้นอัตโนมัตินะคะ มันเกิดจากความตั้งใจของแต่ละบุคคล
มันจะมีศัพท์คำว่า miscommunication traps คือ ความไม่เข้าใจกันเนื่องจากความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม

Foreigners and Motivation to Adjust
1. Sojourners เช่นนักท่องเที่ยว นักเรียน คนเหล่านี้ไปอยู่ไม่นาน ยังไงก็จะกลับมาบ้านตน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับวัฒนธรรมต่างชาติมากนัก
2. Expatriates เช่น คนที่ไปทำงาน อันนี้จะมีระยะเวลาของสัญญาการทำงานที่แน่นอน คนกลุ่มนี้ก็อาจกลับประเทศเมื่อหมดสัญญา หรืออาจตั้งรกรากในประเทศนั้นๆ ก็ได้ ไม่กดดันที่จะต้องรับวัฒนธรรมต่างชาติมากนัก
3. Immigrants ผู้อพยพ จากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมือง พวกนี้ส่วนมากรวยนะ ก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี ตอนนี้ยังกลับไม่ได้ แต่ว่าถ้าสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นก็อาจจะกลับได้ แต่ก็มีความกดดันที่จะต้องรับวัฒนธรรมต่างชาติเหมือนกัน เพราะไม่รู้จะได้กลับบ้านเมืองตัวเองเมื่อไหร่
4. Refugees ผู้ลี้ภัย พวกนี้ไม่มีทางเลือกนะ กลับประเทศไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นมากที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่

Culture shock เกิดจากความวิตกกังวลเนื่องจากเราเสียสัญลักษณ์ที่เราคุ้นเคยในการสื่อสารหรือทำกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมซึ่งเราเคยยึดไว้เป็นมาตรฐานทางสังคม

Culture stress คือ ความเครียดทางวัฒนธรรม เกิดจากความกังวลใจจากความกดดันให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย




Cultural Adjustment กระบวนการเรียนรู้และการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่

1. Excitement/Honeymoon stage ยังเริงร่ากับวัฒนธรรมใหม่อยู่
2. Depression/Avoidance Stage เริ่มรู้สึกด้อย ไม่มั่นใจ หดหู่ คิดถึงบ้าน
3. Gaining Ground/ Near Recovery Stage เริ่มปรับตัวได้
4. Adjustment/Full Recovery Stage ปรับตัวได้แล้ว


ถ้าคนไปอยู่เมือกนอกนานๆ แล้วกลับมาประเทศบ้านเกิดก็ต้องมี กระบวนการปรับเข้าสู่วัฒนธรรมแม่ เรียกว่า Cultural Readjustment


Cross-small/sub-culture Communication


small culture คือ การรวมกลุ่มของคนเพื่อทำกิจกรรมหนึ่ง แล้วก็มีแนวปฏิบัติของตัวเอง คนที่อยู่ในกลุ่มก็จะคาดหวังให้ทุกคนในกลุ่มทำตามแนวปฏิบัตินั้น
เช่น วัฒนธรรมองค์กร ที่ทำงานบางทีก็ให้เอาลูกที่ปิดเทอมมาทำงานด้วยได้ บางที่นี่ไม่ได้
ที่ทำงานบางที่ ห้ามกินขนมหรือข้าวบนโต๊ะทำงานไรงี้
หรือที่ทำงานบางที่ ให้เอาหมามาด้วยได้
หรือห้องเรียนเก่ง ครูอาจจะมีวิธีการสอนที่แตกต่างจากห้องเรียนอ่อน ก็จะมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน แม้จะอยู่ในโรงเรียนเดียวกันก็ตาม
มันไม่เกี่ยวกับชนชาติ หรือภูมิศาสตร์ แม้จะชนชาติเดียวกันมารวมตัวกันก็จะสร้างวัฒนธรรมเล็กๆ ขึ้นมา

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 8:31 am

Module 14 Application

JA : ตอนที่คุณไปเรียน ป.โท และ ป.เอก ที่อเมริกา คุณมีปัญหาในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมไหม
YP : ฉันไม่คิดว่ามีปัญหาอะไรมากนะตอนไปเรียนที่โน่น ฉันก็สื่อสารกับผู้คนได้ และก็ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมได้ แต่กลับกัน ตอนที่ฉันกลับมาเกาหลีนี่สิ ฉันเนี่ยค่อนข้างจะมี culture shock แบบยกตัวอย่างนะ.. สมมติในหนังเรื่องไททานิคเนี่ย ผู้ชายเขาจะช่วยเด็กกับผู้หญิงก่อน แต่ฉันสงสัยจริงๆ ว่าถ้าไททานิคเกิดขึ้นในเกาหลีเนี่ย เขาจะช่วยผู้หญิงก่อนไหม? แต่ฉันก็หวังอ่ะนะว่าเขาจะช่วยผู้หญิงก่อน อีกอย่าง การเปิดให้ฉันหรือคนอื่น หรือ minority คนอื่นๆ เข้าประเทศนี่เป็นเรื่องธรรมดามากในสังคมตะวันตก แต่สำหรับเกาหลีนี่ไม่ใช่เลยนะ ฉันคิดว่าการเรียนภาษาจะต้องรู้วัฒนธรรมด้วย
JA : แล้วคุณคิดว่าชาวต่างชาติ มีปัญหาไหมในการปรับตัวเพื่ออยู่อาศัยในเกาหลี
YP : ฉันคิดว่าไม่มีปัญหานะ ส่วนใหญ่เพื่อนเมกันที่รู้จักมาอยู่เกาหลีและก็อยู่ต่อ ไม่ก็แต่งงานมีลูกที่นี่เลย อย่างแรกเลยคือ เรามี community ในไทยจะมีถนนข้าวสารใช่ไหม ในเกาหลีก็มี Itaewon มีร้านค้า มีร้านอาหาร มี community สำหรับชาวต่างชาติ ไม่ใช่แค่สำหรับชาวต่างชาตินะ ชาวเกาหลีก็มาแถวนี้ด้วย มันเป็นเหมือนที่ที่แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมกัน อย่างที่สองคือ คนเกาหลีใจดีเหมือนคนไทยนั่นแหละ และอย่างที่สามคือ คุณสามารถไปไหนมาไหนได้ 24 ชม. ร้านจะเปิดตลอด และมันก็มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
JA : แล้วชาวต่างชาติในเกาหลีเขามีวิธีรับมือกับ culture stress ยังไงอ่ะ
YP : อย่างแรกเลยตามทฤษฎีแล้วต้องคิดบวกไว้ ถ้าเจออะไรใหม่ๆ ก็บอกใจตัวเองไว้ว่า "ฉันกำลังเจอสิ่งใหม่ๆ มันดีนะ ฉันกำลังขยายโลกของฉันให้กว้างออกไปอีก" อะไรแบบนี้ แต่ในทางปฏิบัติ มีสองทางที่ฉันแนะนำนะ อย่างแรกเลย ไปหา community เพือแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ ซะ ถ้าคุณเครียดแล้วมีคนเครียดเหมือนคุณ คุณจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ มันก็จะระบายความเครียดออกไปได้ ก็จะรู้สึกว่า "ฉันไม่ได้เป็นแบบนี้คนเดียวนะ" อีกอย่างที่จะแนะนำคือ ขยายขอบเขตโลกนี้ให้กว้างอีก เช่น ฉันมีเพื่อนเล่นเบสอยู่ในวงดนตรีคลาสสิก แล้วพอเขามาเกาหลีเขาก็ไปเล่นเบสในวงอีก แล้วพยายามมีเพื่อนชาวเกาหลีเยอะๆ ไม่ใช่หาเพื่อนแต่คนเมกันหรือคนที่พูดอังกฤษ นั่นแหละที่ฉันจะแนะนำ
JA : ถ้าคุณมีเพื่อนต่างชาติมาเป็นเพื่อนร่วมงานในมหาลัยของคุณ คุณจะแนะนำวัฒนธรรมการทำงานอะไรให้แก่เขา หรือสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำทั่วๆไป ในเกาหลี
YP : เขามาทำงาน เพราะงั้นฉันจะแนะนำให้เขาเรียนภาษาไว้บ้างเพื่อเอาตัวรอด เช่น นับ 1 2 3 ได้ ถ้าคุณอยู่แค่ไม่กี่อาทิตย์ แค่นั้นก็โอเค แต่ถ้าทำงาน ภาษาก็ต้องดีหน่อยล่ะ อย่างที่ 2 คือค่านิยมในสังคมและการปฏิบัติตัว อย่างที่บอกไปตอนต้น ในเกาหลีมี gender difference แต่ถ้าเทียบกับ age difference แล้ว gender difference นี่เป็นเรื่องเล็กน้อยเลย ดังนั้น seniority สำคัญมาก อย่างเวลาทานอาหาร ต้องให้คนอาวุโสเริ่มกินก่อน นั่นแหละต้องสังเกตว่าคนอาวุโสทำอะไรอยู่ บางที่ทำงานถ้าคนอาวุโสกลับค่ำ เขาก็หวังให้ลูกน้องกลับค่ำเหมือนกัน

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 8:32 am

พระเจ้า จบแล้ว!!! แนทหวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ นะคะ
ถ้าผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ถ้ารู้อะไรเพิ่มเติม ก็จะเข้ามาโพสเรื่อยๆ แก้ไขเรื่อยนะคะ

ขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบค่ะ ^_________^

5910005775
Posts: 14
Joined: Sun Apr 02, 2017 1:13 pm

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by 5910005775 » Fri Jun 30, 2017 2:50 pm

ขอบคุณ คุณแนทมากครับ มีกำลังใจอ่านหนังสือเลยทีเดียว มึนๆกับหลายบทความรู้สึกว่าตัวอย่างในวิชานี้น้อยไปหน่อย

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Sat Jul 01, 2017 3:34 pm

ตัวอย่างส่วนใหญ่มาจากคลิปวิดิโอที่อาจารย์สอนค่ะ ดูคลิปแล้วกระจ่างสุดๆ แนะนำให้ไปดูนะคะ :)

Locked

Return to “14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม [1/60]”

şişli travesti

Who is online

Users browsing this forum: No registered users and 3 guests