ติวสอบกันค่ะ ^_______^

(Intercultural Communication)
KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 9:57 am

สวัสดีค่ะ ขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เก่งอะไรมาก
ไม่มีอะไรการันตีว่าที่เราติวๆ กันอยู่นี่ถูกต้อง ออกข้อสอบแน่นอน
***ต้องยึดข้อมูลในตำราและที่อาจารย์สอนนะคะ***
อยากให้เพื่อนๆ เข้าใจว่าเรามาแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ผิดบ้างถูกบ้างจะได้แก้ไขความเข้าใจกันก่อนสอบ

แนะนำให้อ่านจบก่อน 1 รอบ แล้วการติวครั้งนี้จะเห็นผลสวยงาม
การติวครั้งนี้ เราอ้างอิงจากหนังสือเรียนและคลิปวิดิโอที่อาจารย์สอนนะคะ

ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการอ่านหนังสือสอบ
และโชคดีในการสอบค่ะ

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 10:16 am

Module 1 Culture, Language and Personality

การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication)
เพื่อนๆ คิดว่า ถ้าเราพูดภาษาอังกฤษได้ แล้วเราก็จะพูดคุยกับคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างราบรื่นหรือไม่?

ความจริงแล้ว ภาษาไม่ใช่อุปสรรคอย่างเดียวของการสื่อสาร ค่ะ
ถ้าเราจะท่องแกรมม่าเป๊ะๆ ท่องศัพท์ทั้งหมดในพจนานุกรม เราก็ยังพบว่า การสื่อสารมีปัญหาได้

ทำไมล่ะ?

เพราะมันมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร นั่นก็คือ Culture

Culture แปลเป็นไทยว่า วัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมคืออะไรล่ะ?
วัฒนธรรมมีนิยามเฉพาะกิจ (working definition) ที่หลากหลายมากค่ะ
ขึ้นอยู่กับบริบทที่เราพูด ดูตัวอย่างได้ในหน้า 7-8

แล้ว culture มันเกี่ยวกับการสื่อสารได้ไง

เรามารู้จักคำว่า culture framework ก่อน มันคือกรอบของวัฒนธรรมแต่ละชนชาติ
เราเป็นคนไทย เราก็จะมีกรอบวัฒนธรรมของเราเอง ชาติอื่นก็มีของเขา
กรอบนี้จะเป็นตัวกำหนดว่า สิ่งไหนดีหรือไม่ดี อาหารนี้อร่อยหรือไม่อร่อย คนนี้สวยหรือไม่สวย

เพราะฉะนั้น คนสวยของคนไทย คนสวยของคนฝรั่ง อาจจะไม่เหมือนกันเลย เพราะ culture framework
ถ้าเราไปนั่งเถียงกับฝรั่งเรื่องนี้ คาดว่าเถียงไม่จบ โกรธกันก่อน
นั่นแหละค่ะ สาเหตุที่เราต้องรู้จักคำว่า culture framework ก่อน

ทีนี้.. แม้แต่คนชาติเดียวกัน บางทีเราก็มองต่างกันได้
เราจึงต้องรู้จักคำว่า culture diversity ค่ะ
มันคือ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ทำไมคนชาติเดียวกันยังมองต่างกันล่ะ เพราะว่าคนเราก็มีประสบการณ์เรื่องต่างๆ ไม่เหมือนกัน
เช่น บางคนครอบครัวมีเงิน บางคนครอบครัวยากลำบาก
บางคนเรียนโรงเรียนอินเตอร์ บางคนเรียนโรงเรียนชายล้วน
บางคนอยู่ชมรมปั่นจักรยาน บางคนอยู่ชมรมบาส
ซึ่งแต่ละสังคมย่อยๆ ที่เราอยู่ ก็จะมีวัฒนธรรมต่างกัน
เขาเรียกว่ามี subculture ย่อยๆ ลงไปอีก
เพราะฉะนั้น แม้ว่าเราจะเป็นคนไทยด้วยกัน
แต่เราก็มีโอกาสที่จะเห็นต่างกันได้อยู่ดีค่ะ นับประสาอะไรกับคนต่างชาติละเนาะ

เพราะฉะนั้น เราจึงต้องสนใจและสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรม หรือ culture awareness ค่ะ
มันคือการรับรู้ว่า วัฒนธรรมของชาตินี้ หรือคนนี้ต่างจากเราอย่างไร
แต่การตระหนักนี้ เราไม่ต้องไปพยายามตัดสินอะไร ว่าดีไม่ดี
ถ้าเรารู้ว่า อ้อ เรากับเขาโตมาคนละแบบนะ เราคิดแบบนี้ เขาอาจจะคิดอีกแบบนึงก็ได้
ถ้าเราตระหนักรู้แบบนี้ เราก็จะระมัดระวังในการสื่อสาร
ก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพค่ะ :)

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 10:23 am

แผนภูมิภูเขาน้ำแข็ง Gary Weaver's Iceberg Diagram (หน้า 10)

รูปนี้จะค่อนข้างขัดกับความรู้สึกแปลกๆ
เพราะยอดภูเขาน้ำแข็งเป็นส่วนน้อยๆ แต่เรียกว่า Big C
ซึ่งมันคือวัฒนธรรมส่วนย่อยที่เราจะมองเห็นกัน
เช่น.. การแต่งกาย, การเต้นรำ, วัฒนธรรมการทานอาหาร

แต่ฐานภูเขาน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ แต่เรียกว่า Little C หรือ Small C
มันคือ วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่เรามองไม่ค่อยเห็น
เช่น.. ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ปรัชญา แนวคิดการเกิดศาสนา เศรษฐกิจ การศึกษา

และส่วน Small C นี่แหละ เป็นส่วนที่คนมองข้ามไป เวลานึกถึงความหมายของคำว่า Culture

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 10:50 am

Edward Sapir's Definition

Culture = เกิดเมื่อคนมีการปฎิสัมพันธ์กัน

ปฏิสัมพันธ์คืออะไร เช่น... คนสองคนไหว้กัน เราเห็นเราก็รู้ว่า เอ้อนี่วัฒนธรรมไทย นี่คนไทย
คนสองคนโค้งคำนับกัน เราเห็นเราก็รู้ว่า เอ้อนี่วัฒนธรรมญี่ปุ่น นี่คนญี่ปุ่น

อาจารย์ยกตัวอย่างว่า แล้วถ้าเห็นแต่เราไม่รู้ล่ะ?
เช่น บางวัฒนธรรมการทักทายแบบเจอหน้ากันหลับตาสองข้างถือว่าทักทายกัน
เราเห็น เราอาจไม่รู้ว่าเขาทักทายเรา เราอาจนึกว่าเขาหลับตาเฉยๆ
แบบนี้ มีวัฒนธรรมเกิดขึ้น แต่เราก็ไม่เข้าใจมัน ก็ไม่เห็นวัฒนธรรมนั้น

คนเรามี sub-culture หรือวัฒนธรรมย่อยๆ ที่กล่าวไปแล้ว มากกว่า 1 sub-culture
เช่น มีวัฒนธรรมถิ่น, ศาสนา, โรงเรียน, ครอบครัว, สิ่งที่ชอบ ต่างกัน
การเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มนึง ก็จะมีวัฒนธรรมของกลุ่มย่อยๆ นั้นติดตัวเรามาด้วย



Language = เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็นกุญแจที่ไขไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงของแต่ละสังคม
ทำไมถึงบอกว่า "เป็นกุญแจที่ไขไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงของแต่ละสังคม"
เพราะว่าวัฒนธรรมแสดงออกมาทางภาษาได้
เช่น บ้านเรามีกล้วยมีมะพร้าวเยอะ เราก็จะมีศัพท์เกี่ยวกับกล้วยและมะพร้าวที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเมนูอาหาร กล้วยตาก กล้วยทับ กล้วยทอด
หรือจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น กระต่ายขูดมะพร้าว
ซึ่งบ้านเมืองอื่นที่ไม่ได้ฮิตปลูกกล้วย ปลูกมะพร้าวอย่างเรา ก็อาจจะมีศัพท์เกี่ยวกับพวกนี้น้อย
เพราะงั้นภาษาเลยเกี่ยวข้องกับโลกแห่งความจริง

อีกตัวอย่างก็เช่น.. บ้านเรามีคำราชาศัพท์ มันก็แสดงให้เห็นว่า บ้านเมืองเรามีวัฒนธรรมเกี่ยวกับลำดับชนชั้นในสังคม


Personality = การเลี้ยงดูของครอบครัว + cultural framework
คนไทยก็ถูกเลี้ยงดูมาให้มีนิสัย อ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส เกรงใจผู้อื่น ประมาณนี้
แต่บุคลิกในวัฒนธรรมนึง ก็อาจไม่เป็นที่ชื่นชมของอีกวัฒนธรรมนึงก็ได้
เช่น เด็กไทยไม่ถามในห้องเรียน ครูฝรั่งไม่ชอบ


สามอย่างนี้ เกี่ยวข้องกันยังไง...
สมมติว่า...
คนไทยมีวัฒนธรรมที่แบ่งลำดับชนชั้น
คนไทยก็จะมีนิสัย อ่อนน้อม สุภาพ
ภาษาไทยก็จะมีคำว่า คะ/ขา/ครับ

เพราะงั้นทั้งสามอย่างนี้ เกี่ยวข้องกันหมด ^______^

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 12:41 pm

ปัญหาด้านการแปล (Problems of Interpretation)

เคยสังเกตไหมคะ เวลาเราเปิดพจนานุกรมแปลคำศัพท์อะไรก็ตาม มักมีคำแปลหลายๆคำ ให้เราเลือกใช้
คนที่เก่งภาษาก็จะเลือกใช้คำที่เข้ากับบริบทนั้นๆ แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยเก่งภาษาบางทีไม่รู้จะเลือกความหมายไหนดี
ไม่มีคำใดที่แปลออกมาได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน งงไหม
เพราะคำหรือสัญลักษณ์ใดๆ ก็ตาม มันจะมีความหมายที่เข้าใจร่วมกับคนอื่นๆ และความหมายที่เข้าใจจากประสบการณ์ของตน
เช่น.... ตัวอย่าง หน้า 13
ชาวอินุอิทใกล้ชิดธรรมชาติและสัตว์ เปรียบความรักของแม่ที่มีต่อลูก เหมือนดังนกเรเวิน (ตระกูลอีกา) หวงสมบัติมัน
คือแบบ.. คนไทยมาอ่านอาจไม่อิน เพราะคนไทยมองว่าอีกาเป็นสัญลักษณ์ของความตาย ความอัปมงคล อะไรแบบนี้
เพราะงั้น นี่คือตัวอย่างนึงของ สัญลักษณ์ที่มีความหมายที่เข้าใจได้จากประสบการณ์ของตน

คนที่ได้เปรียบในการแปล คือคนที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมนั้นๆ หรือเคยไปอยู่เมืองนั้นๆ มาก่อน

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 12:58 pm

Module 2 Application

เป็นบทสัมภาษณ์ของ อาจารย์ฝรั่ง Joel Akins และอาจารย์เกาหลี Yunjoo Park

JA : คุณมีปัญหาด้านวัฒนธรรมไหม ตอนมาอยู่ไทย หรือว่ามีปัญหาแค่ภาษา
YP : ฉันเพิ่งมาอยู่ไม่กี่อาทิตย์ มีปัญหาเวลาอ่านเมนูอาหารไทย บางทีก็ชี้ว่า เอาอันนี้ เอาอันนั้น ไม่ก็บอกเป็นหมายเลขเอา แต่ก็ไม่เชิงว่ามีปัญหาด้านวัฒนธรรมนะ แต่มีปัญหาด้านภาษาแน่ๆ แหละ
JA : แล้วคุณทำไงอ่ะ
YP : ฉันก็ยิ้มก่อนเลย ถ้าฉันยิ้มแย้ม ก็รู้สึกได้ว่าผู้คนอยากจะช่วยเหลือ และก็แสดงออกทางสีหน้าท่าทางเอา แล้วก็จำคำไทยบางคำไว้ใช้ พวกเขาก็จะต้อนรับฉัน และพยายามที่จะฟังว่าฉันอยากจะพูดอะไร
JA : การพยายามพูดภาษาไทย ทำให้คนไทยรู้สึกเชื่อใจ หรือรู้สึกดีใช่ไหม
YP : ช่ายยยย เหมือนเปิดประตูใจไรงี้ ทักทายว่าสวัสดีค่ะแบบนี้ก็เวิร์คเหมือนกัน


แปลตามใจฉันค่ะ อ่านฉบับเต็มได้ที่โมดูล 2 นะคะ

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 1:11 pm

Module 3 Effects of Cultural Experience on Ideas and Perception

Enculturation กระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมแม่ มี 3 รูปแบบ ทุกคนผ่านมาครบ 3 แบบ

1. Formal learning ผ่านภาษาพูด คำสอน สำนวนสุภาษิต
ตอนเด็กๆ เรายังไม่ตั้งคำถามมากมาย ว่าทำไมผู้ใหญ่สอนแบบนี้
ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่สอนอะไร เด็กก็จะเชื่อและทำตามเลย

2. Informal learning เด็กทำตามจากการสังเกต การไหว้ การเดินก้มหลังเวลาเดินผ่านผู้ใหญ่

3. Technical learning อยู่ในแบบเรียน เป็นการเรียนการสอนที่มีรูปแบบปฏิบัติ
มีการให้เหตุผล มีขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น การหัดกราบในรูปแบบต่างๆ

ข้อ 1-3 ก็เกิดพร้อมๆ กันไป แต่ 1 และ 2 นี่ส่วนใหญ่พ่อแม่สอน แต่ 3 มักเกิดที่โรงเรียน


ลักษณะการเรียนรู้วัฒนธรรมแม่
คือ เป็นแบบซ้ำไปซ้ำมา เรียกว่า mobius strip (สัญลักษณ์รูปเลข 8 แนวนอน)
เช่น พ่อแม่ที่บ้านก็สอนไหว้ ครูที่โรงเรียนก็สอนไหว้ ที่ทำงานก็สอนไหว้

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 1:30 pm

Culture awareness and Enculturation

เมื่อกี๊บอกไปแล้วว่า Culture awareness คือ การที่เราตระหนักว่าวัฒนธรรมของแต่ละที่ต่างกัน รู้ว่าต่าง แต่ไม่ต้องไปตัดสินว่าดีหรือเลว

แล้วมันเกี่ยวกับ Enculturation ยังไง

Enculturation คือ การเรียนรู้วัฒนธรรมแม่ หมายความว่าคนนึงเกิดมา เขาต้องถูกหล่อหลอมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์คนในสังคมให้ปฏิบัติตัวแบบนี้นะ นี่เป็นสิ่งที่ดีงาม เขาก็เชื่อแต่เล็กๆ ว่า แบบนี้แหละหนา สิ่งที่ถูกที่ควร

เพราะฉะนั้นเรายิ่งต้องตระหนักเกี่ยวกับวัฒนธรรมแม่มากๆ
เช่น บางวัฒนธรรมเขากินหมากัน เราก็ยี้กินหมา รับไม่ได้ต่อต้าน ทำไมกินหมา ไม่สงสารหมาหรอ
แบบนี้ คุยกันไปคุยกันมามีตบกันนะคะ
ถ้าเขากินหมากัน เราไม่กิน เราก็แค่รับรู้ อ๋อบ้านเมืองเขากิน เราไม่กิน แค่นี้จบ
ถ้าจะดิสคัสแตกประเด็นต่างๆ ต่อ
ก็ต้องลองคิดว่า ถ้าเราเกิดมาในบ้านเมืองเขา ป่านนี้เราก็คงกินหมาแซ่บเหมือนกันแหละเนาะ
ถ้าเราคิดแบบนี้ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ empathy คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
เราก็จะไม่เผลอพูดจากระทบใจเขา

การยึดมั่นถือมั่นว่า โอยย กินหมา ใจจืดใจดำ ฉันรักหมา รักหมาสิถูก หมาเป็นเพื่อนเรานะ
หรือ โอยยยย โง่ ของอร่อย ไม่รู้จัก นี่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ใช่ของถูกๆ นะ
ถ้าต่างคนต่างคิดแบบนี้ แน่นอนว่าจะคุยกันไม่รู้เรื่องแน่ๆ
เปรียบเสมือนคนใส่แว่นตาทางวัฒนธรรมสองคน
คนนึงเห็นหมาน้อยเป็นอาหาร คนนึงเห็นหมาน้อยเป็นเพื่อน
ถ้าเถียงกันว่า เธอต้องมองแบบฉันสิ เถียงกันกี่วันก็ไม่จบ อาจจะตบกันก่อน
เพราะงั้นเราต้องตระหนักมากๆๆๆ แล้วเราถึงจะสื่อสารประสบความสำเร็จค่ะ

เวลาที่เราเห็นสิ่งที่แตกต่างจากวัฒนธรรมเรา ให้เราลองตั้งคำถามกับตัวเองดู
แล้วเราอาจได้มุมมองต่างออกไป
แต่ถ้าเรายึดมั่นกับวัฒนธรรมแม่ของเรา คิดว่าของเราดีสุด ต่อให้ไปมาหลายประเทศ
ก็อาจจะไม่ได้เรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรมอื่นเลย

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 2:05 pm

มาถึงคำศัพท์สำคัญที่มีการถกเถียงกันเยอะๆ แนทมือสั่นๆ กลัวบอกผิดไปแล้วจะโดนดักตี
แนะนำให้อ่าน หน้า 36-39 วนไปค่ะ ถ้ายัง งงๆ ว่าอันไหนเป็นอันไหน

Nationalism >> ชาตินิยม คือการรักในความเป็นชาติ และชื่นชมสิ่งต่างๆ ที่เป็นของชาตินั้น
ตัวอย่างยอดฮิต คือ จอมพล ป. พิบูลสงครามเนาะ ทีมีการแต่งเพลงปลุกใจให้รักชาติ อะไรเทือกนั้น

Ethnocentrism >> ความลุ่มหลงในชาติพันธุ์ เมื่อความรักขับเคลื่อนด้วยแรงริษยา 55 ไม่ใช่!
เมื่อไหร่ที่รักชาติตัวเอง จนรู้สึกว่าเหยียดชาติอื่น ชาติฉันสิดีที่สุด อะไรประมาณนี้
แสดงว่าอาการใช่ รับยาช่อง 6 ค่ะ 555
พูดเป็นเล่นไป การเหยียดชาติอื่นน่ากลัวนะ เหมือนตอนเขาฆ่าชาวยิวสมัยฮิตเลอร์
แบบนั้นเป็นอะไรที่ตลกไม่ออกจริงๆ แต่อันนั้นคือหมายความว่ามีความเป็น ethnocentrism เข้มข้น
ถ้าไปทำร้ายคนอื่นได้นี่หนัก

แต่เชื่อไหมว่าเราทุกคนก็มีความลุ่มหลงในชาติพันธุ์ตัวเองกันทุกคน แล้วแต่คนว่าจะเข้มข้นหรืออ่อนๆ
ถ้าแบบอ่อนๆ จางๆ ก็จะแบบคิดว่า ผ้าไหมไทยสวยสุดจ้า ไม่ก็คิดว่า นางสาวไทยสวยสุดสิ!!! อะไรแบบนี้

stereotype >> แนวคิดฝังหัว
((จะคล้ายๆ กับแนวคิดเหมารวม หรือเรียกว่า overgeneralization อันนี้จะกล่าวในโมดูล 5 นะคะ))
คือแบบถ้าสมมติเรารักชาติตัวเองมากๆ เราก็จะเริ่มแบ่งแยกแล้วว่า "คนไทย" กับ "ไม่ใช่คนไทย"
เริ่มคิดไปเองว่าชาติเราเป็นงั้น ชาติเขาเป็นงี้
ซึ่งอย่าลืมสิจ๊ะ ว่าคนในชาติเองก็ยังมีความเห็นต่างกันได้นะ ชาติอื่นก็เหมือนกัน
จะเหมารวมมิได้เด็ดขาด

แนวคิดฝังหัวที่ต่างชาติมองไทย เช่น...
- คนไทยเฉื่อยชา
- คนไทยยากจน
- คนไทยชอบหลอกขายของให้นักท่องเที่ยว
- คนไทยเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง
- คนไทยชอบกินอาหารเผ็ดๆ (แนทคนนึงแหละไม่กินเผ็ด แต่ก็เป็นคนไทยนะ)

แนวคิดฝังหัวที่ไทยมองต่างชาติ เช่น...
- ฝรั่งกินเผ็ดไม่ได้ (แน่ใจ?)
- ฝรั่งชอบเที่ยวผับ ชอบไปพัทยา (ฝรั่งทุกคนไหม? จังหวัดอื่นก็มีฝรั่งนา)
- นักท่องเที่ยวจีนไม่มีมารยาท (เหมารวมทุกคนไปก่อน แม้ไม่เคยประสบด้วยตนเอง)

Stereotype ทำให้เกิด prejudice (อคติ) ได้ค่ะ



Communicative distance >> การสร้างระยะห่างในการสื่อสาร
นึกถึงเรื่องบ้านทรายทองค่ะ พจมานถูกหญิงแม่ หญิงเล็ก โขกสับด้วยคำพูดคำจาเหยียดหยาม
นั่นแหละค่ะ คือการสร้างระยะห่างในการสื่อสารอย่างนึง
บางที ก็ใช้น้ำเสียงที่แสดงตนว่าเหนือกว่าคู่สนทนา
ดูคำพูดคำจาของ สเนป ในหนังแฮร์รี่ พอตเตอร์ก็ได้ค่ะ พูดช้าๆ ชัดๆ สั้นๆ
แต่ฟังแล้ว หืมมมม อยากตบ ไม่อยากยุ่งกับสเนป อะไรแบบนั้น
หรือแบบไปตั้งฉายาให้ชนชาติอื่น เรียกคนผิวดำว่า ไอ้มืด เรียนคนจีนว่า ไอ้เจ๊ก แบบนี้
ที่ยกตัวอย่างนี่คือไม่ให้ทำนะคะ ไม่ใช่ให้ไปทำ
อย่าทำค่ะ ถ้าทำคือสื่อสารมีปัญหาแน่ๆ ล่ะ


คราวนี้... Nationalism กับ Patriotism ต่างกันยังไงน้อ
อันนี้ ยังไม่กล้าตอบค่ะ รอไลฟ์แชทกับอาจารย์ก่อนนะ ^______^
ปล. ยังไม่เคยเข้าไลฟ์แชทเลย แต่ก็ตามอ่านที่เขาคุยกันอยู่นะ
ใครตอบได้ มาแชร์กันนะคะ
Last edited by KrittayaLee on Wed Jun 28, 2017 2:36 pm, edited 2 times in total.

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 2:21 pm

Module 4 Application

ตัวละครเดิมนะคะ JA และ YP

JA : ในเกาหลีเขามีการปลูกฝังแนวคิด nationalism อย่างไร สอนกันตั้งแต่เด็กๆ เลยไหม
YP : ไม่เชิงนะคะ เราก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ nationalism แต่เป็นทางอ้อมนะ เพราะว่าเราเป็นประเทศที่มีการแบ่งเป็นเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ อะไรแบบนี้ เราจะโฟกัสเรื่องแอนตี้คอมมิวนิสมากกว่า แต่ nationalism นี่ไม่มีสอนตรงๆ ทุกวันนี้ก็ใช้กีฬา อย่างพวกโอลิมปิก เราก็จะโชว์ความเป็น patriotism ของเรา โดยการใส่เสื้อสีแดง ร้องตะโกนว่า Taehamingu! เหมือนเรียกชื่อประเทศเราอะไรแบบนั้น

ลองไปศึกษาเองนะคะ อันนี้อย่างย่อค่ะ

Locked

Return to “14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม [1/60]”

şişli travesti

Who is online

Users browsing this forum: No registered users and 2 guests