นักศึกษามีความสงสัยในเรื่องแนวทางการแปล เนื่องจากในโมดูลที่1 อธิบายว่าการแปลแบบตรงตัวใช้กับเรื่องใดบ้าง และการแปลแบบเอาความใช้กับเรื่องใดบ้าง แต่ในโมดูลที่4 ค่อนข้างจะขัดแย้งกับโมดูลที่1 เช่นตารางในหน้า 4-19 ยกตัวอย่างในตารางบอกว่า คู่มือและสนธิสัญญาให้แปลแบบเอาความแทนที่จะให้แปลแบบตรงตัวอย่างที่โมดูล1กล่าวไว้ เป็นต้น จึงอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบาย เผื่อว่านักศึกษาเข้าใจจุดไหนผิดไป
ขอบคุณค่ะ
แนวทางการแปลที่ขัดแย้งกันโมดูล1และ4
Re: แนวทางการแปลที่ขัดแย้งกันโมดูล1และ4
สวัสดีค่ะนักศึกษา
ก่อนอื่นขอขอบคุณมากสำหรับคำถาม และขอแสดงความชื่นชมที่นักศึกษาอ่านบทเรียนละเอียดถี่ถ้วน จากที่อ่านเข้าใจว่าปัญหาน่าจะมาจากคำว่า “แปลเอาความ” ที่ปรากฏในโมดูล 1 และโมดูล 4 ซึ่งผู้เขียนบทเรียนใช้ในความหมายที่ไม่ตรงกันเสียทีเดียว (จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องปกติในวงวิชาการที่นักวิชาการแต่ละสำนักอาจใช้คำเดียวกันแต่มีความหมายต่างกันไป) โดยจะขออธิบายส่วนที่นักศึกษาถามมาดังนี้ค่ะ
ในโมดูล 1 การแปลเอาความ หมายถึง หมายถึงการแปลโดยปรับเปลี่ยน (เช่น ตัด เติม ดัดแปลง) ให้เข้ากับผู้อ่านเป้าหมาย จะเรียกว่าแปลแบบเรียบเรียงก็ได้ ส่วนในโมดูลที่ 4 นั้น การแปลเอาความ มีความหมายว่าแปลโดยไม่เกาะติดกับรูปภาษาในต้นฉบับ แต่เน้นการถ่ายทอดความหมายเป็นภาษาไทยที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสละสลวย แม้ในโมดูล 4 จะใช้ว่าแปลเอาความ แต่มิได้หมายความว่านักแปลมีอิสระตัดหรือเติมได้เหมือนดังที่ยกตัวอย่างในโมดูล 1 (เช่นเรื่อง Vendetta) ส่วนที่ยกตัวอย่างว่าคู่มือ สนธิสัญญา ให้แปลเอาความนั้น เป็นเพราะเนื้อหาของสารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จึงควรแปลโดยยึดเอาความหมายเป็นหลัก ไม่เกาะติดกับรูปภาษาอันจะทำให้บทแปลเข้าใจยาก หากเปรียบเทียบแนวทางการแปลในทั้งสองโมดูลจะได้ดังนี้ค่ะ
ก่อนอื่นขอขอบคุณมากสำหรับคำถาม และขอแสดงความชื่นชมที่นักศึกษาอ่านบทเรียนละเอียดถี่ถ้วน จากที่อ่านเข้าใจว่าปัญหาน่าจะมาจากคำว่า “แปลเอาความ” ที่ปรากฏในโมดูล 1 และโมดูล 4 ซึ่งผู้เขียนบทเรียนใช้ในความหมายที่ไม่ตรงกันเสียทีเดียว (จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องปกติในวงวิชาการที่นักวิชาการแต่ละสำนักอาจใช้คำเดียวกันแต่มีความหมายต่างกันไป) โดยจะขออธิบายส่วนที่นักศึกษาถามมาดังนี้ค่ะ
ในโมดูล 1 การแปลเอาความ หมายถึง หมายถึงการแปลโดยปรับเปลี่ยน (เช่น ตัด เติม ดัดแปลง) ให้เข้ากับผู้อ่านเป้าหมาย จะเรียกว่าแปลแบบเรียบเรียงก็ได้ ส่วนในโมดูลที่ 4 นั้น การแปลเอาความ มีความหมายว่าแปลโดยไม่เกาะติดกับรูปภาษาในต้นฉบับ แต่เน้นการถ่ายทอดความหมายเป็นภาษาไทยที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสละสลวย แม้ในโมดูล 4 จะใช้ว่าแปลเอาความ แต่มิได้หมายความว่านักแปลมีอิสระตัดหรือเติมได้เหมือนดังที่ยกตัวอย่างในโมดูล 1 (เช่นเรื่อง Vendetta) ส่วนที่ยกตัวอย่างว่าคู่มือ สนธิสัญญา ให้แปลเอาความนั้น เป็นเพราะเนื้อหาของสารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จึงควรแปลโดยยึดเอาความหมายเป็นหลัก ไม่เกาะติดกับรูปภาษาอันจะทำให้บทแปลเข้าใจยาก หากเปรียบเทียบแนวทางการแปลในทั้งสองโมดูลจะได้ดังนี้ค่ะ
- Attachments
-
- Picture1.png (29.74 KiB) Viewed 3758 times
Re: แนวทางการแปลที่ขัดแย้งกันโมดูล1และ4
ทั้งนี้ โมดูลที่ 1 จะเน้นให้ภาพกว้างๆ ในลักษณะที่เป็น “ปรากฏการณ์” ให้นักศึกษาทราบว่าแนวทางการแปลที่พบมีอะไรบ้างโดยยกตัวอย่างตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ส่วนโมดูลที่ 4 จะเป็นแนวบอกคร่าวๆ ว่าควรจะแปลอย่างไร โดยใช้ประเภทของตัวบทเป็นตัวตั้ง อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเป็นตัวกำหนดแนวทางการแปล เช่น คำสั่งผู้ว่าจ้าง กลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย ตลอดจนบรรทัดฐานหรือขนบในการแปลตัวบทประเภทนั้นๆ ค่ะ
Re: แนวทางการแปลที่ขัดแย้งกันโมดูล1และ4
เข้าใจแล้วค่ะอาจารย์ ขอบคุณมากค่ะ
şişli travesti
Who is online
Users browsing this forum: No registered users and 8 guests