Module 1 Culture, Language and Personality
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication)
เพื่อนๆ คิดว่า ถ้าเราพูดภาษาอังกฤษได้ แล้วเราก็จะพูดคุยกับคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างราบรื่นหรือไม่?
ความจริงแล้ว ภาษาไม่ใช่อุปสรรคอย่างเดียวของการสื่อสาร ค่ะ
ถ้าเราจะท่องแกรมม่าเป๊ะๆ ท่องศัพท์ทั้งหมดในพจนานุกรม เราก็ยังพบว่า การสื่อสารมีปัญหาได้
ทำไมล่ะ?
เพราะมันมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร นั่นก็คือ Culture
Culture แปลเป็นไทยว่า วัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมคืออะไรล่ะ?
วัฒนธรรมมีนิยามเฉพาะกิจ (working definition) ที่หลากหลายมากค่ะ
ขึ้นอยู่กับบริบทที่เราพูด ดูตัวอย่างได้ในหน้า 7-8
แล้ว culture มันเกี่ยวกับการสื่อสารได้ไง
เรามารู้จักคำว่า
culture framework ก่อน มันคือกรอบของวัฒนธรรมแต่ละชนชาติ
เราเป็นคนไทย เราก็จะมีกรอบวัฒนธรรมของเราเอง ชาติอื่นก็มีของเขา
กรอบนี้จะเป็นตัวกำหนดว่า สิ่งไหนดีหรือไม่ดี อาหารนี้อร่อยหรือไม่อร่อย คนนี้สวยหรือไม่สวย
เพราะฉะนั้น คนสวยของคนไทย คนสวยของคนฝรั่ง อาจจะไม่เหมือนกันเลย เพราะ culture framework
ถ้าเราไปนั่งเถียงกับฝรั่งเรื่องนี้ คาดว่าเถียงไม่จบ โกรธกันก่อน
นั่นแหละค่ะ สาเหตุที่เราต้องรู้จักคำว่า culture framework ก่อน
ทีนี้.. แม้แต่คนชาติเดียวกัน บางทีเราก็มองต่างกันได้
เราจึงต้องรู้จักคำว่า
culture diversity ค่ะ
มันคือ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ทำไมคนชาติเดียวกันยังมองต่างกันล่ะ เพราะว่าคนเราก็มีประสบการณ์เรื่องต่างๆ ไม่เหมือนกัน
เช่น บางคนครอบครัวมีเงิน บางคนครอบครัวยากลำบาก
บางคนเรียนโรงเรียนอินเตอร์ บางคนเรียนโรงเรียนชายล้วน
บางคนอยู่ชมรมปั่นจักรยาน บางคนอยู่ชมรมบาส
ซึ่งแต่ละสังคมย่อยๆ ที่เราอยู่ ก็จะมีวัฒนธรรมต่างกัน
เขาเรียกว่ามี subculture ย่อยๆ ลงไปอีก
เพราะฉะนั้น แม้ว่าเราจะเป็นคนไทยด้วยกัน
แต่เราก็มีโอกาสที่จะเห็นต่างกันได้อยู่ดีค่ะ นับประสาอะไรกับคนต่างชาติละเนาะ
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องสนใจและสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรม หรือ
culture awareness ค่ะ
มันคือการรับรู้ว่า วัฒนธรรมของชาตินี้ หรือคนนี้ต่างจากเราอย่างไร
แต่การตระหนักนี้ เราไม่ต้องไปพยายามตัดสินอะไร ว่าดีไม่ดี
ถ้าเรารู้ว่า อ้อ เรากับเขาโตมาคนละแบบนะ เราคิดแบบนี้ เขาอาจจะคิดอีกแบบนึงก็ได้
ถ้าเราตระหนักรู้แบบนี้ เราก็จะระมัดระวังในการสื่อสาร
ก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพค่ะ