ติวสอบกันค่ะ ^_______^

(Intercultural Communication)
KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 3:15 pm

Module 5 Communicative Strategies

เราเคยพูดถึงกรอบวัฒนธรรมกันใช่ไหมคะ ในช่วงแรกๆ
โมดูลนี้จะเป็นการมองให้ทะลุกรอบวัฒนธรรมแม่ตัวเอง
คือไรฟะ?
มันคือการที่เราดูวัฒนธรรมอื่น แล้วตั้งคำถามกับวัฒนธรรมแม่ตัวเอง
ว่าที่เขาสอนฉันมาเนี่ย ดีไหม ถูกต้องแล้วไหม
อย่าลืมว่า ตอนที่เราเรียนรู้วัฒนธรรมแม่นั้น เราเด็กน้อย
แม่บอกอะไรก็ทำ เข้าใจหรือไม่เข้าใจก็อีกเรื่อง
แต่ตอนนี้ เราเริ่มรู้จักวัฒนธรรมอื่นๆ ลองคิดดูใหม่ซิ (reflective thinking)
ว่าเอ๊ะมันยังไง คือถ้าเราคิด เราก็จะเริ่มตระหนักได้
ว่า.. เออ ไอ้ที่เราทำกันมา มันใช่จะมีเหตุผลรองรับนะ
แต่ถ้าเรายังเพิกเฉยต่อการเรียนรู้วัฒนธรรมอื่นๆ
คิดว่าวัฒนธรรมฉันนี่แหละดีแล้ว จะไปเรียนรู้อะไรอีกให้มันยุ่งยาก
แบบนี้ เราก็จะไม่ค่อยมี culture awareness

ปัจจัยที่สำคัญในการสื่อสาร
- ภาษา
- ใครเป็นผู้พูด ใครเป็นผู้ฟัง เราจะได้เลือกระดับภาษาได้
- ในสถานการณ์นั้นต้องพูดอย่างไร ไม่ใช่คนกำลังทุกข์อยู่ ไปพูดเรื่องตลกแบบผิดกาลเทศะ
- พูดเมื่อไหร่
- Sociocultural schemata ตัวช่วยให้เราเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นๆ เช่น ความรู้ด้านสังคมวัฒนธรรม

**** Sociocultural schemata หรือ meta-message หรือ high-contextualized message
สามคำนี้ คืออันเดียวกัน หมายถึงการถอดรหัส การตีความในบริบท ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากๆ ในการสื่อสาร
ไม่ใช่แค่ภาษาดีเท่านั้น แต่ต้องมีความมรู้ด้านสังคมวัฒนธรรมด้วย

เช่น เดินเข้าไปในห้อง แล้วทุกคนหน้าเครียด ดูทุกข์ เราก็แปลความได้เลยว่า มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น ไรงี้




Communicative competences >> ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถ 3 อันนี้ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสื่อสาร

1. Linguistic skills ทั้งภาษาพูด ภาษากาย น้ำเสียงเป็นไง ประชดหรือเปล่า ถ้าจะพูดกับตายายแก่ๆ ใช้ภาษาถิ่นดีกว่าไหม หรือต้องใช้ภาษาราชการเป็นทางกลาง

2. Interaction skills ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการใช้รูปแบบการปฏิบัติตนให้เหมาะสมต่อความคาดหวังของสังคม เช่น ทักทายกัน จะจับมือ กอดกัน หรือจุ๊ฟแก้ม แต่ละชาติก็ไม่เหมือนกัน ญี่ปุ่นจะยื่นนามบัตรต้องยื่นสองมือ อะไรแบบนั้น
แต่ก็อย่าลืมว่ามันมี sub-culture อีก เราต้องเรียนรู้ culture ย่อยๆ ของคนนั้นอีก
แค่คนไทยพยายามเรียนรู้ sub-culture ของคนไทยด้วยกันเอง ยังยากเลย เช่น เหนือ อีสาน ใต้ กลาง ก็มีวัฒนธรรมต่างกันนะ
แล้วคนต่างชาติจะมาเลียนแบบไทย ยิ่งยากหนัก

3. Cultural knowledge ความรู้เรื่องวัฒนธรรม
เช่น คุยกับชาวบ้านก็อาจจะต้องพูดจากันเอง, ชนชาตินั้นมีค่านิยมอย่างไร, เราพูดหน้าห้อง แต่เพื่อนไม่ฟังจะดึงความสนใจกลับมายังไง, ถ้าจะพูดเรื่องที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมแม่ อาจต้องพูดด้วยความสุภาพ ไม่งั้นมีเรื่อง อะไรแบบนี้


อุปสรรคอื่นๆ ต่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม


เมื่อกี๊พูดเรื่อง stereotype ไปแล้ว ว่ามันทำให้เกิด prejudice
บางทีเราได้ยินว่ากลุ่มคนชาตินี้เป็นงี้ เราก็เชื่อไปแล้ว
คราวนี้ มาพูดถึง overgeneralization กันบ้าง มันคือ การเหมารวม
ความจริงมันใกล้เคียงกันมากสองคำนี้
แต่เหมารวมไม่ฝังรากลึกเท่าฝังหัว ถ้าเราให้เหตุผล ก็อาจพอเปลี่ยนความคิดได้
ถ้าเราเหมารวม เช่น ผู้ชายเป็นงั้น ผู้หญิงเป็นงี้
หรือ วิศวกรเจ้าชู้ขี้เหล้า แบบนี้
แสดงว่าเราเพิกเฉยต่อความหลากหลาย
อย่าลืม culture diversity เพราะคนเรามี sub-culture อย่าลืม!!
เพราะงั้น ต่อให้ชาติเดียวกันก็ต่างกัน
ต่อให้เพศเดียวกันก็ต่างกัน
ต่อให้อาชีพเดียวกันก็ต่างกัน
อย่าเหมารวม!!!!

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 3:28 pm

การศึกษาการสื่อสารเชิงชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography of Communication)

อ่านชื่อแล้วอุทานทันที "อีหยังวะ"

มันคือ การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาและวัฒนธรรมกับการสื่อสารนั้น
เช่น ถ้าเราจะศึกษาการสื่อสารเชิงชาติพันธุ์วรรณาของเด็กไทยในห้องเรียน
ก็เข้าไปนั่งสังเกตการณ์ในห้องเรียน ดูว่าเขาทักทายครูยังไง มีภาษากายยังไง กล่าวลายังไง อะไรประมาณนั้น

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 3:36 pm

Module 6 Application

ตัวละครเดิมนะคะ JA และ YP

JA : ในเกาหลี มีแนวคิดฝังหัว การเหมารวม อคติอะไรไหม กับชาวต่างชาติ
YP : มีสิ ถ้าบอกว่า intermarriage (การแต่งงานกับคนต่างชาติ)
ไปถาม ผญ เกาหลี เขาจะคิดถึง เจ้าสาวชาวเกาหลี กับ เจ้าบ่าวฝรั่ง
แต่ถ้าไปถาม ผช เกาหลี เขาจะคิดถึง เจ้าสาวชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับเจ้าบ่าวเกาหลี
แบบเนี้ย ก็เป็นความคิดฝังหัวนึง หรือการเหมารวมหน่อยๆ แต่นี่เอามาจากการสำรวจของ นสพ นะ
JA : คุณเคยสังเกตไหมว่าแนวคิดฝังหัวมีผลอย่างไรกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นชาวเกาหลีเอง หรือชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเกาหลี
YP : คนเกาหลีถามกันว่า คุณแต่งงานรึยัง เป็นเหมือนคำทักทายทั่วไป
แต่ถ้าฝรั่งเนี่ยจะถามว่า คุณแต่งงานรึยัง อาจหมายถึง 1.ฉันจะจีบนะถ้ายังไม่แต่ง หรือ 2.ฉันจะจับคู่ให้
เพราะงั้นเพื่อนชาวเกาหลีของฉันซึ่งไปอยู่เยอรมันมา 13 ปี แล้วกลับมาเจอคนเกาหลีถามว่าแต่งงานรึยัง ก็อาจจะเข้าใจไปว่า เขาจะจีบ หรือเขาจะหาคู่ให้ อะไรแบบนั้น

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Wed Jun 28, 2017 3:39 pm

วันนี้ พอแค่นี้ก่อนนะคะ ถ้ามีโอกาสจะมาต่อโมดูลถัดๆ ไปค่ะ ^____^

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 3:48 am

Module 7 Verbal and Nonverbal Communication

Verbal language = ภาษาพูด
นอกจากจะกังวลแกรมม่า คำศัพท์แล้ว มันยังมีปัจจัยอื่นอีกนะ ที่สำคัญในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ

มันคือ.. วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อภาษา!!
ตัวอย่าง วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อภาษาก็จะยกภาษาญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบกับภาษาไทย

Japanese language and Wrapping
ภาษาเป็นภาษาที่ห่อหุ้มสิ่งที่เราอยากจะสื่อสาร
บางทีเราอยากพูดอะไร เราพูดมาตรงๆ ไม่ได้เลย
มันจะมีบางอย่างที่ห่อหุ้มภาษาพูดเราไว้

เช่น ในภาษาญี่ปุ่น ก็มีความโดดเด่นในเรื่องความสุภาพ นุ่มนวล อ่อนน้อมถ่อมตน
(respect, humble and polite)
เรียกว่า Honorifics Language หรือ Respect Language
ซึ่งถือว่าเป็นความงดงามของภาษา (Precious beauty)
จริงๆ แล้ว ภาษาที่ใช้ก็เหมือนกับกระดาษห่อของขวัญ

ภาษาญีปุ่นและไทยจะมี..
1. Term of Address คือสิ่งที่เรียกคนอื่น
2. Self-reference คือสิ่งที่แทนตัวเอง
ซึ่งวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและไทยมีวัฒนธรรมลำดับชนชั้น
ก็เลยมีคำเรียกคนอื่น และคำแทนตัวเองมากมาย ขึ้นกับคนที่เราคุยด้วย
อย่างภาษาไทย ก็จะมีเติม คะ/ขา/ครับ เพิ่มความสุภาพ
คำว่า ไม่รู้ ก็พูดว่า ไม่ทราบ สุภาพกว่า อะไรแบบนี้

กับบางคนที่เราสนิทด้วย เช่นเพื่อน เราอาจจะ wrap คำพูดเราบางๆ
แต่กับบางคน เราอาจจะต้อง wrap ภาษาเราให้วิจิตรบรรจงมากกว่า
ขึ้นกับฐานะของคนพูดและคนฟัง

นอกจากนี้ ภาษายังแสดงความรู้สึกห่วงใยได้
เช่น We choose the best ingredients here. เราเลือกเครื่องปรุงอย่างดี
Our coffee is freshly roasted. กาแฟของเราคั่วใหม่สด
Whole grained bread is good for you digestion. ขนมปังโฮลเกรนดีต่อระบบการย่อย
ทั้งหมดนี้ แม้ไม่ได้บอกว่าเราห่วงใยสุขภาพเขาตรงๆ
แต่ลูกค้าที่มาอ่าน ก็รู้ได้ว่าเจ้าของร้านห่วงใย
นี่ก็คือ การ wrap แบบนึง
ในไทยก็มี ร้านอาหารบอกว่า กรุณาชิมก่อนปรุง ร้านนี้ใช้น้ำแข็งอนามัย

เนื้อหาที่แท้จริง ถูกห่อหุ้มอยู่ ซึ่งบางทีเนื้อหาอาจจะไม่ได้สำคัญก็ได้
เช่น พระสวด เราอาจจะแปลไม่ออก ไม่เข้าใจ แต่เราก็รู้สึกได้ว่าเรากำลังทำดีนะ
ทั้งเสียง ทั้งภาษาบาลีที่ใช้ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รู้สึกว่าศักดิ์สิทธิ์

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 3:56 am

นอกจากนี้ ภาษายังมีความซับซ้อนที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้

Cross-cultural problems
1. ภาษาญี่ปุ่นนี่ยากสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา
2. ถ้าคนไม่ใช่เจ้าของภาษาพูดญี่ปุ่น เจ้าของภาษาอาจแปลความหมายผิดได้
3. คนญี่ปุ่นจะคาดหวังต่ำว่าคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาจะพูดได้ถูก
แม้ว่าคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาจะพูดได้ดี
เช่น ถ้าเป็นคนไทย เจอฝรั่งพูดว่า "สวัสดีจ้ะ น้องสาว" เราก็จะงงๆ ว่า
เขาแซวเรา หรือเขาไม่รู้ว่าแบบนี้มันคือ แซว
เพราะงั้น คนญี่ปุ่นก็จะคิดแบบเดียวกัน เวลาเจอคนต่างชาติพูดญี่ปุ่น
เขาจะคิดว่าไม่น่าจะพูดได้ดี ยิ่งพูดเก่ง เขายิ่งคิดว่าเข้าใจจริงป่าว

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 4:02 am

เนื่องจากสังคมเราเป็นแบบลำดับชนชั้น เราอาจจะต้องปรับคำพูดให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของเรา

การพูดแบบ talking up >> ใช้คำแทนตัวว่า ดิฉัน/ผม พูดสำเนียงคนกรุงเทพ หรือ พูดทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
เพื่อที่จะแสดงการเป็นคนที่มีวัฒนธรรม หรือเป็นคนที่ผ่านการขัดเกลาให้งดงาม

การพูดแบบ talking down >> ใช้คำแทนตัวว่า ฉัน/หนู, คำลงท้ายว่า "จ้ะ", พูดสำเนียงถิ่น
เพื่อที่จะแสดงความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 4:36 am

Nonverbal language = ภาษากาย
สำคัญนะ เพราะบางที เราจะเชื่อภาษากายมากกว่าภาษาพูด

มีบทบาท 5 อย่าง
1. Repetition = เพื่อย้ำข้อความที่พูดไป
2. Contradiction = แสดงท่าทางตรงข้ามกับคำพูด เช่น เวลามีคนถามว่าสบายดีไหม แล้วเราตอบแบบหน้าบูดๆ ว่าสบายดี
3. Substitution = ใช้แทนภาษาพูด เช่น ทำมือโอเค ทำนิ้วชี้วางที่ปาก(ให้เงียบ)
4. Complementing = เน้นข้อความ เช่น พูดชมแล้วตบไหล่
5. Accenting = เน้นมาก เช่น ทุบโต๊ะให้หยุดพูด

เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสาร เราต้องใส่ใจถึงภาษากาย ดังนี้
>> Kinesics = ท่าทาง การแสดงออกทางสีหน้า การสบสายตา และการวางท่วงท่า อิริยาบถ
>> Proxemics = การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส การมีระยะห่างระหว่างบุคคล การรับรู้เรื่องเวลา การรับรู้เรื่องความเงียบหรือการไม่ออกเสียง

การยิ้มเป็นสิ่งที่คนทั่วโลกทำได้ใช่ไหมคะ
แต่รอยยิ้มนี้บางทีก็ไม่แปลออกมาได้เหมือนกันนะ
ยกตัวอย่างเช่น คนไทยจะมีนิสัย รักษาหน้า
เพราะงั้นบางที มีคนเดินหกกะล้มลงไป ถ้าลุกขึ้นมาแล้วยิ้มเขินๆ นี่เดาได้ว่าคนไทยแน่ๆ
แต่แบบฝรั่งอาจจะงงๆ กับรอยยิ้มนี้ มันแปลว่าไงฟะ?
บางทีทำผิด คนไทยก็จะยิ้ม เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียด
ฝรั่งมาเห็น ก็อาจจะแบบ "คิดว่านี่ตลกหรอ" อะไรแบบนี้
เพราะฉะนั้น ภาษากายบางอย่างก็ไปผูกกับวัฒนธรรมด้วยเหมือนกัน
อาจทำให้เกิดความสับสนได้


สิ่งที่เราควรตระหนักเวลาสื่อสารด้วยภาษาพูดและภาษากาย มี..
1. Cultural framework มาอีกแล้วคำนี้ กรอบวัฒนธรรม จำกันได้ยัง
เช่น สมมติบางชาติ ยกน้ำซุป สูดฟรืดเสียงดัง เป็นการแสดงว่าอร่อย
คนไทยอาจจะมองว่า เห้ย ไร้มารยาท
หยุดก่อน!! คุณมาจากคนละวัฒนธรรมกันนะ เพราะงั้นภาษากายพวกนี้คุณควรทำความรู้จักและความเข้าใจ
อย่าตัดสิน เพราะวัฒนธรรมในสังคมเขาเป็นยังงั้นเอง

2. Interpretation การตีความ
เช่น เวลาไปบ้านคนอื่น เจ้าบ้านถามกินอะไรไหม ดื่มน้ำอะไรไหม พี่ไทยนี่เซย์โนก่อนเลย เพราะเกรงใจ
เพราะว่าเกรงใจเป็นวัฒนธรรมของเรา ถ้าเจ้าของบ้านเป็นพี่ไทยเหมือนกัน เจ้าของบ้านก็จะมีวัฒนธรรมบังคับกินจ้ะ
เกรงใจใช่ไหมฉันรู้ กินซะดีๆๆๆ
แต่ถ้าฝรั่งไปบ้านพี่ไทยล่ะ ถ้าฝรั่งเซย์โนกับของกิน
แล้วเราไปคะยั้นคะยอให้เขากิน เขาอาจจะคิดว่าเราไปบังคับจิตใจเขาทำไม
"ฉานโตแร้วนาจา ฉานดูแลกระเพาะอาหารของฉานได้ ขอบจายยยย" (สำเนียงฝรั่ง)
เพราะงั้น การตีความคำว่า "ไม่" ของคนแต่ละชาติก็ยากอยู่ ถ้าเราไม่นึกถึงวัฒนธรรมเขาด้วย

3. Cultural context บริบททางวัฒนธรรม
เช่น เวลาเราไปงานศพเนาะ เราก็รู้ว่าต้องใส่ชุดสีดำไม่ก็ขาว เราก็มั่นใจมากจ้ะ สีดำเซฟๆ
ไปถึงงาน เขาแต่งแดงกันทั้งงาน แบบนี้ก็มี เพราะงั้นเราต้องดูวัฒนธรรมเขาด้วย
อย่าเพิ่งคิดว่าเรื่องทั่วๆไป ทุกชาติน่าจะเหมือนกัน
อย่างเวลาคนไทยเดินผ่านผู้ใหญ่จะค้อมหลังเนาะ เป็นกริยาที่เหมาะสม
ฝรั่งมาเห็น เอ๊ะยูเจ็บหลังหรอ 555
ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้
Last edited by KrittayaLee on Thu Jun 29, 2017 4:52 am, edited 1 time in total.

KrittayaLee
Posts: 203
Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by KrittayaLee » Thu Jun 29, 2017 4:47 am

Module 8 Application
ตัวละครเดิมค่ะ JA และ YP

JA : นักการเมืองเกาหลีหรือใครก็ตาม เขามีวิธีเปลี่ยนวิธีในการสื่อสารให้เหมาะกับกลุ่มคนไหม
YP : ก็อย่างนักการเมืองนะ ภาษาที่เขาพูดตอนหาเสียงก็จะเป็นภาษาถิ่น บอกว่าตัวเองเป็นพี่เป็นน้องกับคนในชุมชน นอกจากนี้ก็ใส่ชุดสบายๆ ไปเดินตลาด ปกติต้องแต่งเต็มยศใช่ป้ะ แต่พอไปหาเสียงก็ต้องแต่งให้กลมกลืนหน่อย
JA : ภาษากายนี่สำคัญไหมในเกาหลี
YP : ไม่สำคัญเท่าไหร่นะ เพราะว่าวัฒนธรรมเกาหลีจะค่อนข้างเป็นแบบอนุรักษ์นิยม เราถูกสอนไม่ให้แสดงออกทางสีหน้า หรือท่าทางมากนัก ก็จะนิ่งๆ เฉยๆ ดูเชื่อฟัง

peaceful
Posts: 21
Joined: Wed Mar 15, 2017 10:35 am

Re: ติวสอบกันค่ะ ^_______^

Post by peaceful » Thu Jun 29, 2017 5:17 am

ขอบคุณมากนะคะ ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

Locked

Return to “14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม [1/60]”

Who is online

Users browsing this forum: No registered users and 1 guest