Feedback on Module 13 Practice
Posted: Thu Jan 28, 2021 11:01 am
การตรวจให้คะแนนโมดูลนี้ใช้เกณฑ์ตามที่ระบุในตอนท้ายของ worksheet กล่าวคือ พิจารณาจากความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับตัวบท ความถูกต้องครบถ้วน และความสละสลวย นักศึกษาหลายกลุ่มแปลได้ค่อนข้างดี แต่ก็ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ยังมีข้อบกพร่องบางประการ โดยขอสรุปมาโดยสังเขปดังนี้ค่ะ
• ไม่แปลชื่อเรื่อง (หักคะแนน 0.5)
• แปลตามโครงสร้างภาษาอังกฤษมากเกินไป ทำให้อ่านไม่เข้าใจและไม่สละสลวย เช่น การตระหนักถึงความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นในความคาดหวังและพฤติกรรม.../การตระหนักถึงความแตกต่างของการคาดหวังและพฤติกรรมของคนในธุรกิจ… (Having an increased awareness of the possible differences in expectations and behavior…)
ในกรณีนี้ ไม่จำเป็นต้องเรียงตามโครงสร้างภาษาอังกฤษและสามารถเปลี่ยนชนิดของคำโดยไม่ต้องใช้รูปคำนามตามต้นฉบับ อาจแปลได้ว่า “การตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความคาดหวังและพฤติกรรมที่อาจแตกต่างกันออกไป...”
• แปลผิดความหมาย/ตีความเกินไป ไม่ตรงกับต้นฉบับ เช่น “การเพิ่มความระมัดระวัง เรื่องความแตกต่างของกริยาท่าทางการสื่อสารของผู้สนทนา.... ”(ผิดจากความหมายต้นฉบับ) “การคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมช่วยหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ แต่มีสิ่งสำคัญมากอีกประการที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดฝังหัว ที่อาจส่งผลเสียต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางธุรกิจได้”(ถ้าไม่ได้เปรียบเทียบกับต้นฉบับ อาจนับเป็นการแปลที่สละสลวย แต่ปรากฏว่ามีความที่ขาดหายไปและไม่ถูกต้องตรงตามต้นฉบับ) “ฉะนั้นเมื่อเรามีองค์ความรู้ถึงความแตกต่างระหว่างชนชาติแล้ว จึงควรเป็นสิ่งที่เราพึงระวัง แทนที่จะตัดสินว่าคนเหล่านั้น จะเป็นคนแบบไหน”(ดูเหมือนจะเข้าท่า แต่ขาดเนื้อหาที่ตรงตามต้นฉบับ) “บางครั้ง พวกเราก็ให้ความสำคัญกับการไขว่คว้าและทำในเรื่องยากๆ ที่มันนั้นกลับทำให้เราไม่มีความสุข เป็นเพียงแค่การทำเรื่องยากๆให้สำเร็จลุล่วงไปก็แค่นั้น”(ตีความเกินไปจนคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับ)
ตัวอย่างที่ดี “ในบางครั้งคนเราก็ไปจดจ่ออยู่กับอุปสรรคของการปีนป่ายขึ้นภูเขามากเกินไปจนลืมที่จะฉุกคิดไปว่าการมีภูเขาให้เราได้ปีนก็ดีแค่ไหนแล้ว”
• แปลโดยเติมความที่ไม่ได้ปรากฏในต้นฉบับ เช่น “(แต่คราวนี้ เป็นบันทึกโดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นะ ไม่ได้เขียนใส่สมุด)”, วัฒนธรรมประจำชาติหรือ วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากชาติอื่น ศาสนาที่เรานับถือ
• แปลตกหล่น ไม่ครบถ้วน เช่น คำขยายต่างๆ (crazy, largely, continuously, no doubt, newest, etc.)
• แปลโดยคงใช้เครื่องหมายตามต้นฉบับ เช่น ฉันรู้ดีว่า:
• แปลคำศัพท์ไม่ถูกต้อง เช่น stereotype ซึ่งหมายถึง แนวคิดฝังหัว (นักศึกษาน่าจะเคยพบศัพท์คำนี้แล้วจากชุดวิชา 14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม), stamina อาจแปลว่า ความทรหดอดทน, ความอึด ไม่ใช่แค่ความแข็งแกร่ง, guest room หมายถึง ห้องพักแขก ไม่ใช่ ห้องรับแขก, gratitude อาจหมายถึง ความกตัญญูรู้คุณ, สำนึกในบุญคุณ หรือความรู้สึกขอบคุณ ไม่ใช่ การตอบแทนคุณ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ส่งผิดงานคือ ส่ง task 1 มาแทน ซึ่งคะแนนจะเป็น 0 นะคะ
หวังว่านักศึกษาคงได้รับประโยชน์จาก feedback นี้ตามสมควรและนำไปปรับปรุงแก้ไขการแปลของตนให้ดีขึ้น รวมทั้งมีความรอบคอบในการส่งงานมากขึ้นด้วย ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบครั้งนี้ค่ะ:-)
• ไม่แปลชื่อเรื่อง (หักคะแนน 0.5)
• แปลตามโครงสร้างภาษาอังกฤษมากเกินไป ทำให้อ่านไม่เข้าใจและไม่สละสลวย เช่น การตระหนักถึงความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นในความคาดหวังและพฤติกรรม.../การตระหนักถึงความแตกต่างของการคาดหวังและพฤติกรรมของคนในธุรกิจ… (Having an increased awareness of the possible differences in expectations and behavior…)
ในกรณีนี้ ไม่จำเป็นต้องเรียงตามโครงสร้างภาษาอังกฤษและสามารถเปลี่ยนชนิดของคำโดยไม่ต้องใช้รูปคำนามตามต้นฉบับ อาจแปลได้ว่า “การตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความคาดหวังและพฤติกรรมที่อาจแตกต่างกันออกไป...”
• แปลผิดความหมาย/ตีความเกินไป ไม่ตรงกับต้นฉบับ เช่น “การเพิ่มความระมัดระวัง เรื่องความแตกต่างของกริยาท่าทางการสื่อสารของผู้สนทนา.... ”(ผิดจากความหมายต้นฉบับ) “การคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมช่วยหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ แต่มีสิ่งสำคัญมากอีกประการที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดฝังหัว ที่อาจส่งผลเสียต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางธุรกิจได้”(ถ้าไม่ได้เปรียบเทียบกับต้นฉบับ อาจนับเป็นการแปลที่สละสลวย แต่ปรากฏว่ามีความที่ขาดหายไปและไม่ถูกต้องตรงตามต้นฉบับ) “ฉะนั้นเมื่อเรามีองค์ความรู้ถึงความแตกต่างระหว่างชนชาติแล้ว จึงควรเป็นสิ่งที่เราพึงระวัง แทนที่จะตัดสินว่าคนเหล่านั้น จะเป็นคนแบบไหน”(ดูเหมือนจะเข้าท่า แต่ขาดเนื้อหาที่ตรงตามต้นฉบับ) “บางครั้ง พวกเราก็ให้ความสำคัญกับการไขว่คว้าและทำในเรื่องยากๆ ที่มันนั้นกลับทำให้เราไม่มีความสุข เป็นเพียงแค่การทำเรื่องยากๆให้สำเร็จลุล่วงไปก็แค่นั้น”(ตีความเกินไปจนคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับ)
ตัวอย่างที่ดี “ในบางครั้งคนเราก็ไปจดจ่ออยู่กับอุปสรรคของการปีนป่ายขึ้นภูเขามากเกินไปจนลืมที่จะฉุกคิดไปว่าการมีภูเขาให้เราได้ปีนก็ดีแค่ไหนแล้ว”
• แปลโดยเติมความที่ไม่ได้ปรากฏในต้นฉบับ เช่น “(แต่คราวนี้ เป็นบันทึกโดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นะ ไม่ได้เขียนใส่สมุด)”, วัฒนธรรมประจำชาติหรือ วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากชาติอื่น ศาสนาที่เรานับถือ
• แปลตกหล่น ไม่ครบถ้วน เช่น คำขยายต่างๆ (crazy, largely, continuously, no doubt, newest, etc.)
• แปลโดยคงใช้เครื่องหมายตามต้นฉบับ เช่น ฉันรู้ดีว่า:
• แปลคำศัพท์ไม่ถูกต้อง เช่น stereotype ซึ่งหมายถึง แนวคิดฝังหัว (นักศึกษาน่าจะเคยพบศัพท์คำนี้แล้วจากชุดวิชา 14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม), stamina อาจแปลว่า ความทรหดอดทน, ความอึด ไม่ใช่แค่ความแข็งแกร่ง, guest room หมายถึง ห้องพักแขก ไม่ใช่ ห้องรับแขก, gratitude อาจหมายถึง ความกตัญญูรู้คุณ, สำนึกในบุญคุณ หรือความรู้สึกขอบคุณ ไม่ใช่ การตอบแทนคุณ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ส่งผิดงานคือ ส่ง task 1 มาแทน ซึ่งคะแนนจะเป็น 0 นะคะ
หวังว่านักศึกษาคงได้รับประโยชน์จาก feedback นี้ตามสมควรและนำไปปรับปรุงแก้ไขการแปลของตนให้ดีขึ้น รวมทั้งมีความรอบคอบในการส่งงานมากขึ้นด้วย ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบครั้งนี้ค่ะ:-)