เรื่องการทับศัพท์ในการแปล
Posted: Fri Sep 20, 2019 6:48 am
Hi everybody. How come it’s so quiet? I’m really bored. So, I’ll start a conversation.
เวลาทำงานแปลแล้วเจอคำว่า London กับ Paris เราทับศัพท์เป็น ลอนดอน กับ ปารีส มันก็ดูปกติเพราะ (ตามที่ตัวเองเข้าใจ) ลอนดอน กับ ปารีส มันน่าจะเป็นวิสามานยนามในภาษาไทยไปซะแล้ว
แต่เวลาเจอคำว่า village กับ package ถ้าผู้แปลทับศัพท์เป็น วิลลิจ กับ แพคกิจ เพราะตัว a ใน village และ ตัว a ตัวที่สองใน package ที่ถูกต้องออกเสียงเป็น /ɪ/ หากแต่คนไทยเป็นจำนวนมากออกเสียงผิดเป็น /eɪ/ ในกรณีที่นักแปลทับศัพท์ตามการออกเสียงที่ถูกต้องไป แล้ว (กรณีแปลหนังสือ) โดนบรรณาธิการต้นฉบับแก้มา หรือ (กรณีแปลเอกสาร) โดนลูกค้าต่อว่ามา ว่าต้องเป็น วิลเลจ กับ แพคเกจ นักแปลมีทางโต้แย้งหรือดำเนินการเช่นใด
คำศัพท์อีกสองตัวที่เห็นแล้วน่าหงุดหงิดเป็นยิ่งนักก็คือ Isaac กับ Alexander เห็นทับศัพท์กันอย่างแพร่หลาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำราเรียน) คือ ไอแซก กับ อเล็กซานเดอร์ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว aa ใน Isaac ออกเสียงเป็น /ɪ/ ก็ได้ เป็น /ə/ ก็ได้ ในขณะที่ e ตัวแรกใน Alexander ออกเสียงเป็น /ɪ/ ดังนั้นถ้านักแปลทับศัพท์เป็น ไอสิก หรือ ไอเสิก กับ อลิกแซนเดอร์ จะเกิดอะไรขึ้น เราจะถือว่าคำศัพท์สองตัวนี้ก็กลายเป็นวิสามานยนามในภาษาไทยไปซะแล้วได้หรือไม่
เราเคยถามเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นนักแปลว่าเขามีความเห็นในเรื่องนี้เช่นไร เขาตอบเป็นมุกตลกๆว่า
“ใครทับศัพท์แบบออกเสียงผิดๆเป็นคนแรกก็มักจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้คนอื่นๆทำตาม555”
^
อยากเรียนถามท่านอาจารย์หลายๆท่านและเพื่อนๆนักศึกษาทั้งหลายว่า มีความเห็นในเรื่องนี้เช่นไร
เวลาทำงานแปลแล้วเจอคำว่า London กับ Paris เราทับศัพท์เป็น ลอนดอน กับ ปารีส มันก็ดูปกติเพราะ (ตามที่ตัวเองเข้าใจ) ลอนดอน กับ ปารีส มันน่าจะเป็นวิสามานยนามในภาษาไทยไปซะแล้ว
แต่เวลาเจอคำว่า village กับ package ถ้าผู้แปลทับศัพท์เป็น วิลลิจ กับ แพคกิจ เพราะตัว a ใน village และ ตัว a ตัวที่สองใน package ที่ถูกต้องออกเสียงเป็น /ɪ/ หากแต่คนไทยเป็นจำนวนมากออกเสียงผิดเป็น /eɪ/ ในกรณีที่นักแปลทับศัพท์ตามการออกเสียงที่ถูกต้องไป แล้ว (กรณีแปลหนังสือ) โดนบรรณาธิการต้นฉบับแก้มา หรือ (กรณีแปลเอกสาร) โดนลูกค้าต่อว่ามา ว่าต้องเป็น วิลเลจ กับ แพคเกจ นักแปลมีทางโต้แย้งหรือดำเนินการเช่นใด
คำศัพท์อีกสองตัวที่เห็นแล้วน่าหงุดหงิดเป็นยิ่งนักก็คือ Isaac กับ Alexander เห็นทับศัพท์กันอย่างแพร่หลาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำราเรียน) คือ ไอแซก กับ อเล็กซานเดอร์ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว aa ใน Isaac ออกเสียงเป็น /ɪ/ ก็ได้ เป็น /ə/ ก็ได้ ในขณะที่ e ตัวแรกใน Alexander ออกเสียงเป็น /ɪ/ ดังนั้นถ้านักแปลทับศัพท์เป็น ไอสิก หรือ ไอเสิก กับ อลิกแซนเดอร์ จะเกิดอะไรขึ้น เราจะถือว่าคำศัพท์สองตัวนี้ก็กลายเป็นวิสามานยนามในภาษาไทยไปซะแล้วได้หรือไม่
เราเคยถามเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นนักแปลว่าเขามีความเห็นในเรื่องนี้เช่นไร เขาตอบเป็นมุกตลกๆว่า
“ใครทับศัพท์แบบออกเสียงผิดๆเป็นคนแรกก็มักจะกลายเป็นบรรทัดฐานให้คนอื่นๆทำตาม555”
^
อยากเรียนถามท่านอาจารย์หลายๆท่านและเพื่อนๆนักศึกษาทั้งหลายว่า มีความเห็นในเรื่องนี้เช่นไร