Module 1: วรรณยุกต์โทแบบเสียงลอย
Posted: Fri Sep 20, 2019 4:56 am
เรียน อาจารย์ประจำวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น
เรื่อง สอบถามข้อสงสัยในโมดูลที่ 1
ดิฉันนางสาวปรีดาพร ทับทอง ได้ศึกษาเนื้อหาในคู่มือการศึกษาชุดวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น แล้วพบว่ามีข้อสงสัยบางประการในตัวอย่างที่ถูกยกมาอธิบายในหัวข้อ 1.4 หน้าที่ของภาษา ข้อ 1.4.5 ภาษาเป็นเครื่องบ่งชี้ลักษณะบางประการของผู้ใช้ภาษา ในโมดูลที่ 1 หน้าที่ 1-16
"บางครั้งเอกลักษณ์ทางภาษาของคนกลุ่มหนึ่งเกิดขึ้นโดยที่คนกลุ่มนั้นเองไม่รู้ตัวหรือไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้ภาษาให้แตกต่างจากคนกลุ่มอื่น เช่น ในกรณีของเสียงวรรณยุกต์โทในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งเด็กไทยรุ่นใหม่ในปัจจุบันออกเสียงวรรณยุกต์โทเสียงลอยคล้ายเสียงวรรณยุกต์ตรี ต่างไปจากเสียงวรรณยุกต์โทแบบเดิมที่ใช้กันในกลุ่มผู้ใหญ่ แต่จากการที่ผู้เขียนสอบถามเด็กรุ่นใหม่ที่ใช้เสียงวรรณยุกต์โทแบบเสียงลอยก็พบว่าไม่มีใครสังเกตถึงความแตกต่างนี้เลย และไม่ได้มีเจตนาที่จะออกเสียงให้แตกต่างจากกลุ่มผู้ใหญ่แต่อย่างใด"
และ
"กิจกรรมที่ 4 ข้อ 2 เสียงวรรณยุกต์โทแบบหางเสียงต่ำ เป็นลักษณะของผู้พูดกลุ่มใด / ตอบ กลุ่มผู้ใหญ่"
ดิฉันสงสัยในความหมายของวรรณยุกต์โทแบบเสียงลอย จึงได้ตั้งกระทู้ถามอาจารย์ผู้รู้ค่ะ ดิฉันลองถามคุณแม่แล้วพบว่าทั้งตัวดิฉันเองและคุณแม่ต่างก็ออกเสียงเหมือนกันในคำว่า "ใกล้" ที่มีเสียงโท และจากการพยายามค้นหาในอิินเทอร์เน็ตก็ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกเสียงและสะกดเสียงโทในการเขียน "คะ/ค่ะ/วะ/ว่ะ/นะ/น่ะ/ละ/ล่ะ"
ข้อมูลนั้นกล่าวว่า
คะ อ่านว่า คะ / ค่ะ อ่านว่า ข้ะ ไม่ได้อ่านว่า ขะ
วะ อ่านว่า วะ / ว่ะ อ่านว่า หว้ะ ไม่ได้อ่านว่า หวะ
นะ อ่านว่า นะ / น่ะ อ่านว่า หน้ะ ไม่ได้อ่านว่า หนะ
ละ อ่านว่า ละ / ล่ะ อ่านว่า หล้ะ ไม่ได้อ่านว่าหละ
จากเพจ คำไทย บน Facebook
แต่ก็ยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยของดิฉันให้คลายลงได้ รบกวนอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมและยกตัวอย่างคำที่มีเสียงวรรณยุกต์โทแบบลอย/แบบต่ำได้ไหมคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ด้วยความเคารพ
ปรีดาพร ทับทอง
เรื่อง สอบถามข้อสงสัยในโมดูลที่ 1
ดิฉันนางสาวปรีดาพร ทับทอง ได้ศึกษาเนื้อหาในคู่มือการศึกษาชุดวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น แล้วพบว่ามีข้อสงสัยบางประการในตัวอย่างที่ถูกยกมาอธิบายในหัวข้อ 1.4 หน้าที่ของภาษา ข้อ 1.4.5 ภาษาเป็นเครื่องบ่งชี้ลักษณะบางประการของผู้ใช้ภาษา ในโมดูลที่ 1 หน้าที่ 1-16
"บางครั้งเอกลักษณ์ทางภาษาของคนกลุ่มหนึ่งเกิดขึ้นโดยที่คนกลุ่มนั้นเองไม่รู้ตัวหรือไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้ภาษาให้แตกต่างจากคนกลุ่มอื่น เช่น ในกรณีของเสียงวรรณยุกต์โทในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งเด็กไทยรุ่นใหม่ในปัจจุบันออกเสียงวรรณยุกต์โทเสียงลอยคล้ายเสียงวรรณยุกต์ตรี ต่างไปจากเสียงวรรณยุกต์โทแบบเดิมที่ใช้กันในกลุ่มผู้ใหญ่ แต่จากการที่ผู้เขียนสอบถามเด็กรุ่นใหม่ที่ใช้เสียงวรรณยุกต์โทแบบเสียงลอยก็พบว่าไม่มีใครสังเกตถึงความแตกต่างนี้เลย และไม่ได้มีเจตนาที่จะออกเสียงให้แตกต่างจากกลุ่มผู้ใหญ่แต่อย่างใด"
และ
"กิจกรรมที่ 4 ข้อ 2 เสียงวรรณยุกต์โทแบบหางเสียงต่ำ เป็นลักษณะของผู้พูดกลุ่มใด / ตอบ กลุ่มผู้ใหญ่"
ดิฉันสงสัยในความหมายของวรรณยุกต์โทแบบเสียงลอย จึงได้ตั้งกระทู้ถามอาจารย์ผู้รู้ค่ะ ดิฉันลองถามคุณแม่แล้วพบว่าทั้งตัวดิฉันเองและคุณแม่ต่างก็ออกเสียงเหมือนกันในคำว่า "ใกล้" ที่มีเสียงโท และจากการพยายามค้นหาในอิินเทอร์เน็ตก็ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกเสียงและสะกดเสียงโทในการเขียน "คะ/ค่ะ/วะ/ว่ะ/นะ/น่ะ/ละ/ล่ะ"
ข้อมูลนั้นกล่าวว่า
คะ อ่านว่า คะ / ค่ะ อ่านว่า ข้ะ ไม่ได้อ่านว่า ขะ
วะ อ่านว่า วะ / ว่ะ อ่านว่า หว้ะ ไม่ได้อ่านว่า หวะ
นะ อ่านว่า นะ / น่ะ อ่านว่า หน้ะ ไม่ได้อ่านว่า หนะ
ละ อ่านว่า ละ / ล่ะ อ่านว่า หล้ะ ไม่ได้อ่านว่าหละ
จากเพจ คำไทย บน Facebook
แต่ก็ยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยของดิฉันให้คลายลงได้ รบกวนอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมและยกตัวอย่างคำที่มีเสียงวรรณยุกต์โทแบบลอย/แบบต่ำได้ไหมคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ด้วยความเคารพ
ปรีดาพร ทับทอง