Page 1 of 1

ข้อสงสัยในคำถามและเฉลยของ M7

Posted: Tue Nov 12, 2019 2:01 pm
by Wisitkarn_wij
เรียนคณาจารย์ที่เคารพรักอย่างสูง
เนื่องด้วยเฉลยที่อาจารย์ให้มาและโจทย์มีความผิดพลาดในการถามและการตอบ ซึ่งอาจมีผลต่อคะแนนที่เราประเมินเพื่อนและเพื่อนประเมินเรา เช่น
Text 1
เฉลยข้อ 1. และ ข้อ 3. => ควรเฉลยให้ละเอียด ไม่ควรเฉลยแค่ชื่อของพีระมิดหรือชื่อของฟาโรห์เท่านั้น ควรมี “The Pyramid of….” ด้วย
Text 2
คำถามข้อ 4. What are two countries that the findings are used or? => ในข้อนี้คิดว่าโจทย์ถามมาผิด คือโจทย์กำหนดมาเลยว่า 2 แต่จริง ๆ มีแค่ 1
ทำให้...เฉลยข้อ 4. ที่ให้มาจึงผิดไปด้วย => Singapore and The United States คือเฉลยที่ให้มา แต่จริง ๆ แล้วคิดว่าตอบน่าจะตอบแค่ Singapore เพราะ The United States ไม่ได้อยู่ในงานวิจัยนี้ เพียงแค่ถูกหยิบยกมาเทียบเท่านั้น
เฉลยข้อ 5. “The finding was based on a relatively small number of cases and it remains unclear whether it is a causal association or not” - คือ เฉลยที่ให้มา
ซึ่งส่วนตัวคิดว่า “A relatively small number of cases” เป็นส่วนหนึ่งของ some key limitations...
“Soft drink consumption with several other adverse health behaviors such as smoking and red meat intake” ควรเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่อยู่ในเฉลย พร้อมกับ “A relative small number of cases”
เพราะ ‘ … and red meat intake, which we can’t accurately control for.

ขอเสนอเพื่อโปรดพิจารณาและตอบข้อสงสัย
วิสิฐกาญจน์ วิจิตรพงษา
6210009368

Re: ข้อสงสัยในคำถามและเฉลยของ M7

Posted: Thu Nov 14, 2019 3:24 am
by Ananya
ขอตอบข้อสงสัยดังนี้ค่ะ
1. ในคำถามระบุคำว่า pyramid(s) อยู่แล้ว คำตอบจึงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำ สามารถละไว้ในฐานที่เข้าใจได้
2. ในบทอ่านระบุว่า "...these results from Singapore are likely applicable to the United States." แสดงให้เห็นว่าข้อค้นพบนี้ใช้ได้ในทั้งสองประเทศ คำถามข้อ4 นี้ต้องการให้ฝึกทักษะ scanning เพื่อหาว่าสองประเทศที่ระบุในคำถามคือประเทศใด อันที่จริงถ้าไม่ระบุว่าสองประเทศ สามารถตอบว่า other western countries ได้ด้วย
3. ข้อ5 ต้องการให้หาว่าข้อจำกัดที่สำคัญของงานวิจัยนี้คืออะไร ในบทอ่านระบุว่ากลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยจนทำให้ไม่ชัดเจนพอที่จะสรุปว่าเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผลการวิจัยครั้งนี้อาจมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อย ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอื่นๆที่เกี่ยวข้องอาจมองว่าเป็นประเด็นรอง เพราะไม่ได้อยู่ในการควบคุม