ติวสอบกันค่ะ
-
- Posts: 55
- Joined: Sat Apr 29, 2017 8:53 pm
Re: ติวสอบกันค่ะ
สระประสมสองเสียง มี 8 สระ
สิ่งที่ต้องจำคือ
1. เสียงสระประสมลงท้ายด้วย Close Vowel (ลงท้ายด้วยเสียง /I/ และ /U/)
2. เสียงสระประสมลงท้ายด้วย Mid Vowel (ลงท้ายด้วยเสียง /ə/)
3. ตำแหน่งลิ้น (จำมาจากสระเสียงเดี่ยวเลื่อนลิ้น -- ตารางคางหมู ลากเส้น)
ก่อนอื่น....เรามาดูว่า สระประสมสองเสียงมีอะไรบ้าง (อย่าอ่านออกเสียงแบบไทยจ๋า เพราะตำแหน่งลิ้นภาษาไทยกับอังกฤษคนละตำแหน่งกัน แต่ให้รู้ว่ามันออกเสียงประมาณไหน.....)
1. /Iə/ อิ เออะ = เอีย
2. /eɪ/ เอะ อิ = เอ
3. /eə/ เอะ เออะ = แอ
4. /aɪ/ อะ อิ = อาย ไอ
5. /ʊə/ อุ เออะ = อัว
6. /ɔɪ/ เอาะ อิ = ออย
7. /aʊ/ อะ อุ = อาว เอา
8. /əʊ/ เออะ อุ = โอ RP
/ɔʊ/ เอาะ อุ = โอ American (บทนี้เน้น RP)
สิ่งที่ต้องจำคือ
1. เสียงสระประสมลงท้ายด้วย Close Vowel (ลงท้ายด้วยเสียง /I/ และ /U/)
2. เสียงสระประสมลงท้ายด้วย Mid Vowel (ลงท้ายด้วยเสียง /ə/)
3. ตำแหน่งลิ้น (จำมาจากสระเสียงเดี่ยวเลื่อนลิ้น -- ตารางคางหมู ลากเส้น)
ก่อนอื่น....เรามาดูว่า สระประสมสองเสียงมีอะไรบ้าง (อย่าอ่านออกเสียงแบบไทยจ๋า เพราะตำแหน่งลิ้นภาษาไทยกับอังกฤษคนละตำแหน่งกัน แต่ให้รู้ว่ามันออกเสียงประมาณไหน.....)
1. /Iə/ อิ เออะ = เอีย
2. /eɪ/ เอะ อิ = เอ
3. /eə/ เอะ เออะ = แอ
4. /aɪ/ อะ อิ = อาย ไอ
5. /ʊə/ อุ เออะ = อัว
6. /ɔɪ/ เอาะ อิ = ออย
7. /aʊ/ อะ อุ = อาว เอา
8. /əʊ/ เออะ อุ = โอ RP
/ɔʊ/ เอาะ อุ = โอ American (บทนี้เน้น RP)
-
- Posts: 55
- Joined: Sat Apr 29, 2017 8:53 pm
Re: ติวสอบกันค่ะ
สระประสมสองเสียงประเภทลงท้ายด้วยเสียง Close Vowel (/I/ และ /U/)
(ตำแหน่งที่ออกเสียงสระตัวแรก...และเสียงท้าย ก็ยังต้องจำมาจากตำแหน่ง สระเสียงเดี่ยว ดังนั้นใครจำสระเสียงเดี่ยวไม่แม่น แนะนำให้กลับไปท่องสระเสียงเดี่ยวให้ได้ก่อน)
ถ้าจำสระเสียงเดี่ยวได้ /I/ จะอยู่ ตำแหน่ง Close Front และเสียง /U/ อยู่ตำแหน่ง Close Back
ดังนั้นจำจำว่าเส้นจะลากขึ้นไปหาเสียง /I/ และ /U/ เท่านั้น
(ตำแหน่งที่ออกเสียงสระตัวแรก...และเสียงท้าย ก็ยังต้องจำมาจากตำแหน่ง สระเสียงเดี่ยว ดังนั้นใครจำสระเสียงเดี่ยวไม่แม่น แนะนำให้กลับไปท่องสระเสียงเดี่ยวให้ได้ก่อน)
ถ้าจำสระเสียงเดี่ยวได้ /I/ จะอยู่ ตำแหน่ง Close Front และเสียง /U/ อยู่ตำแหน่ง Close Back
ดังนั้นจำจำว่าเส้นจะลากขึ้นไปหาเสียง /I/ และ /U/ เท่านั้น
- Attachments
-
- สระประสองสองเสียง3 สระลงท้ายด้วย close vowel.png (28.49 KiB) Viewed 6135 times
-
- Posts: 55
- Joined: Sat Apr 29, 2017 8:53 pm
Re: ติวสอบกันค่ะ
สระประสมสองเสียงประเภทลงท้ายด้วย mid vowel /ə/
สระประเภทนี้มีแค่ 3 ตัว เสียง /ə/ อยู่ตรงกลาง ดังนั้น เส้นทุกเส้น จะลากไปตำแหน่งกลาง เท่านั้น
(จำว่า เมีย กลัว แกง -- เอีย อัว แอ)
สระประเภทนี้มีแค่ 3 ตัว เสียง /ə/ อยู่ตรงกลาง ดังนั้น เส้นทุกเส้น จะลากไปตำแหน่งกลาง เท่านั้น
(จำว่า เมีย กลัว แกง -- เอีย อัว แอ)
- Attachments
-
- สระประสองสองเสียง3 สระลงท้ายด้วย mid vowel.png (25.22 KiB) Viewed 6134 times
-
- Posts: 55
- Joined: Sat Apr 29, 2017 8:53 pm
Re: ติวสอบกันค่ะ
สุดท้าย เสียงประสมสามเสียง Triphthong
อันนี้จำง่ายที่สุดแล้วครับ
คือเอา สระประสมสองเสียงประเภทลงท้ายด้วยเสียง Close Vowel มาเติม /ə/ เพิ่มเท่านั้นเอง คือ
/eIə/ เอ+เออะ เช่นคำว่า layer, player
/aIə/ อาย+เออะ เช่นคำว่า tyre, fire, liar
/ɔIə/ ออย+เออะ เช่นคำว่า royal, loyal, employer,soya
/aʊə/อาว+เออะ เช่นคำว่า power, shower, tower, hour
/əʊə/ โอ+เออะ เช่นคำว่า slower, lower, mower
อันนี้จำง่ายที่สุดแล้วครับ
คือเอา สระประสมสองเสียงประเภทลงท้ายด้วยเสียง Close Vowel มาเติม /ə/ เพิ่มเท่านั้นเอง คือ
/eIə/ เอ+เออะ เช่นคำว่า layer, player
/aIə/ อาย+เออะ เช่นคำว่า tyre, fire, liar
/ɔIə/ ออย+เออะ เช่นคำว่า royal, loyal, employer,soya
/aʊə/อาว+เออะ เช่นคำว่า power, shower, tower, hour
/əʊə/ โอ+เออะ เช่นคำว่า slower, lower, mower
-
- Posts: 203
- Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am
Re: ติวสอบกันค่ะ
Module 5 Word stress การลงเสียงหนักระดับคำ
ภาษาอังกฤษเป็นแบบ stress-timed language คือ คำ 2 พยางค์ขึ้นไป แต่ละพยางค์ออกเสียงหนัก-เบาไม่เท่ากัน
พยางค์หนัก = stressed syllable
พยางค์เบา = unstressed syllable
ถ้ามี 4-5 พยางค์ อาจมีพยางค์หนักมากกว่า 1 พยางค์ แต่ก็หนักไม่เท่ากัน
หนักกว่า = primary stressed syllable
หนักรอง = secondary stressed syllable
การลงเสียงหนัก
1. ในมุมของการเปล่งเสียง (Production point of view) พยางค์ที่ลงหนัก = พยางค์ที่ใช้กล้ามเนื้อมากกว่า
2. ในมุมของการรับรู้ (Perception point of view) พยางค์ที่ลงหนัก = พยางค์นั้นเด่นกว่า (Prominence) ทั้ง ยาว, ดัง, เสียงสูง, ชัดเจนกว่า
Word class pair คือ คำที่เขียนเหมือนกันทุกประการ แต่หน้าที่ต่างกัน ลงเสียงหนักต่างกัน
ส่วนมาก noun/adj จะหนักพยางค์แรก
และ verb หนักพยางค์ท้าย
เช่นคำว่า present, export, object, record
ยกเว้น answer, picture, promise, travel, visit หนักพยางค์แรก และ reply หนักพยางค์หลัง ไม่ว่าจะเป็น noun/adj/verb
ภาษาอังกฤษเป็นแบบ stress-timed language คือ คำ 2 พยางค์ขึ้นไป แต่ละพยางค์ออกเสียงหนัก-เบาไม่เท่ากัน
พยางค์หนัก = stressed syllable
พยางค์เบา = unstressed syllable
ถ้ามี 4-5 พยางค์ อาจมีพยางค์หนักมากกว่า 1 พยางค์ แต่ก็หนักไม่เท่ากัน
หนักกว่า = primary stressed syllable
หนักรอง = secondary stressed syllable
การลงเสียงหนัก
1. ในมุมของการเปล่งเสียง (Production point of view) พยางค์ที่ลงหนัก = พยางค์ที่ใช้กล้ามเนื้อมากกว่า
2. ในมุมของการรับรู้ (Perception point of view) พยางค์ที่ลงหนัก = พยางค์นั้นเด่นกว่า (Prominence) ทั้ง ยาว, ดัง, เสียงสูง, ชัดเจนกว่า
Word class pair คือ คำที่เขียนเหมือนกันทุกประการ แต่หน้าที่ต่างกัน ลงเสียงหนักต่างกัน
ส่วนมาก noun/adj จะหนักพยางค์แรก
และ verb หนักพยางค์ท้าย
เช่นคำว่า present, export, object, record
ยกเว้น answer, picture, promise, travel, visit หนักพยางค์แรก และ reply หนักพยางค์หลัง ไม่ว่าจะเป็น noun/adj/verb
-
- Posts: 203
- Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am
Re: ติวสอบกันค่ะ
Module 5 (ต่อ)
1. คำ 2 พยางค์ที่มาจากพยางค์เดียว ลงเสียงหนักที่รากศัพท์
เช่น friendly
2. คำ noun/adj 2 พยางค์ส่วนใหญ่ ลงเสียงหนักพยางค์แรก
เช่น butter
ยกเว้น machine, police, success, absurd, extreme, alone,
mistake, hotel, enough, insane, asleep, inspect หนักพยางค์ที่ 2
3.กริยา 2 พยางค์ ส่วนใหญ่หนักพยางค์ 2
เช่น destroy
ยกเว้น copy, offer, open, enter, listen หนักพยางค์แรก
4. คำประสม จะกี่พยางค์ก็ตาม หนักพยางค์แรก
ข้อควรระวังคือ ถ้าเป็น adj+noun ต้องเน้น 2 พยางค์
เช่น black bird ถ้าแปลว่า นกเดินดงสีดำ อันนี้เป็นคำประสม จึงหนักพยางค์แรก
แต่ถ้า black bird หมายถึง นกสีดำทั่วๆไป อันนี้เป็น adj+noun เน้น 2 พยางค์
- คำประสมที่คำที่ 2 ทำมาจากคำแรก เน้น 2 พยางค์
เช่น chicken soup ซุปไก่ (ซุปทำมาจากไก่ จึงเน้นทั้ง 2 พยางค์)
- คำประสม phrasal verb เน้น adv แต่ถ้าเป็น verb+prep จำเน้นพยางค์ที่เป็น verb
เช่น turn down = ลดเสียง ความหมายใหม่ เป็น phrasal verb จึงเน้นที่คำว่า down
depend on ขึ้นอยู่กับ ความหมายใกล้เคียงกับ depend เฉยๆ เน้นพยางค์กริยา
5. prefix, suffix เน้นเหมือนก่อนเติม prefix, suffix
6.ลงท้ายด้วย -tion, -cian, -sion, -ic เน้นพยางค์ที่อยู่หน้าคำนี้
เช่น education
7. คำหลายพยางค์ลงท้ายด้วย -y เน้นเสียงพยางค์ที่ 3 นับจากท้าย
เช่น chemistry
8. คำ 3 พยางค์ ส่วนใหญ่เน้นพยางค์ที่ 2
เช่น official
1. คำ 2 พยางค์ที่มาจากพยางค์เดียว ลงเสียงหนักที่รากศัพท์
เช่น friendly
2. คำ noun/adj 2 พยางค์ส่วนใหญ่ ลงเสียงหนักพยางค์แรก
เช่น butter
ยกเว้น machine, police, success, absurd, extreme, alone,
mistake, hotel, enough, insane, asleep, inspect หนักพยางค์ที่ 2
3.กริยา 2 พยางค์ ส่วนใหญ่หนักพยางค์ 2
เช่น destroy
ยกเว้น copy, offer, open, enter, listen หนักพยางค์แรก
4. คำประสม จะกี่พยางค์ก็ตาม หนักพยางค์แรก
ข้อควรระวังคือ ถ้าเป็น adj+noun ต้องเน้น 2 พยางค์
เช่น black bird ถ้าแปลว่า นกเดินดงสีดำ อันนี้เป็นคำประสม จึงหนักพยางค์แรก
แต่ถ้า black bird หมายถึง นกสีดำทั่วๆไป อันนี้เป็น adj+noun เน้น 2 พยางค์
- คำประสมที่คำที่ 2 ทำมาจากคำแรก เน้น 2 พยางค์
เช่น chicken soup ซุปไก่ (ซุปทำมาจากไก่ จึงเน้นทั้ง 2 พยางค์)
- คำประสม phrasal verb เน้น adv แต่ถ้าเป็น verb+prep จำเน้นพยางค์ที่เป็น verb
เช่น turn down = ลดเสียง ความหมายใหม่ เป็น phrasal verb จึงเน้นที่คำว่า down
depend on ขึ้นอยู่กับ ความหมายใกล้เคียงกับ depend เฉยๆ เน้นพยางค์กริยา
5. prefix, suffix เน้นเหมือนก่อนเติม prefix, suffix
6.ลงท้ายด้วย -tion, -cian, -sion, -ic เน้นพยางค์ที่อยู่หน้าคำนี้
เช่น education
7. คำหลายพยางค์ลงท้ายด้วย -y เน้นเสียงพยางค์ที่ 3 นับจากท้าย
เช่น chemistry
8. คำ 3 พยางค์ ส่วนใหญ่เน้นพยางค์ที่ 2
เช่น official
-
- Posts: 203
- Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am
Re: ติวสอบกันค่ะ
เพิ่มเติม จากความรู้เดิมในวิชา 14215 ค่ะ
-
- Posts: 203
- Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am
Re: ติวสอบกันค่ะ
Module 6 Sentence stress
- ประโยคในภาษาอังกฤษมีการออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากันในแต่ละคำ ทำให้เกิด rhythm (จังหวะ)
จังหวะในภาษา แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. Syllable-timed language = ออกเสียงหนักเท่าๆ กันทุกพยางค์ในคำ เน้นเสียงทุกคำ ความยาวของประโยคจึงขึ้นกับจำนวนคำ เช่น ภาษาไทย จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
2. Stress-timed language = ออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากัน ความยาวของประโยคขึ้นกับจำนวนพยางค์ที่ลงเสียงหนัก เช่น ภาษาอังกฤษ
คำในประโยคแบ่งเป็น 2 แบบ
1. content word คำที่ให้ความหมาย (lexical meaning) เช่น noun, verb, adj เน้นเสียงหนัก
2. function word คำที่บ่งบอกหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่น preposition, conjunction มักไม่เน้นเสียงหนัก
(ยกเว้น ผู้พูดต้องการเน้น เพื่อความหมาย/สื่ออารมณ์)
***ระวัง have กับ do ถ้าเป็นกริยาหลักต้องเน้นเสียงหนัก
***auxiliary verb ท้ายประโยคบอกเล่า และ tag question ต้องเน้น
เช่น You can't swim, can you?
No, I can't
*** การออกเสียงคำพยางค์เดียวที่ไม่เน้นเสียงหนักในประโยค มักถูกกร่อนเสียงโดยใช้สระ ə, ɪ, ʊ
หรือไม่ออกเสียงพยัญชนะบางเสียง
เช่น have ถ้าเน้นเสียงหนักต้องเป็น /hæv/ แต่จะถูกกร่อนเป็น /əv/
- ประโยคในภาษาอังกฤษมีการออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากันในแต่ละคำ ทำให้เกิด rhythm (จังหวะ)
จังหวะในภาษา แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. Syllable-timed language = ออกเสียงหนักเท่าๆ กันทุกพยางค์ในคำ เน้นเสียงทุกคำ ความยาวของประโยคจึงขึ้นกับจำนวนคำ เช่น ภาษาไทย จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
2. Stress-timed language = ออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากัน ความยาวของประโยคขึ้นกับจำนวนพยางค์ที่ลงเสียงหนัก เช่น ภาษาอังกฤษ
คำในประโยคแบ่งเป็น 2 แบบ
1. content word คำที่ให้ความหมาย (lexical meaning) เช่น noun, verb, adj เน้นเสียงหนัก
2. function word คำที่บ่งบอกหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่น preposition, conjunction มักไม่เน้นเสียงหนัก
(ยกเว้น ผู้พูดต้องการเน้น เพื่อความหมาย/สื่ออารมณ์)
***ระวัง have กับ do ถ้าเป็นกริยาหลักต้องเน้นเสียงหนัก
***auxiliary verb ท้ายประโยคบอกเล่า และ tag question ต้องเน้น
เช่น You can't swim, can you?
No, I can't
*** การออกเสียงคำพยางค์เดียวที่ไม่เน้นเสียงหนักในประโยค มักถูกกร่อนเสียงโดยใช้สระ ə, ɪ, ʊ
หรือไม่ออกเสียงพยัญชนะบางเสียง
เช่น have ถ้าเน้นเสียงหนักต้องเป็น /hæv/ แต่จะถูกกร่อนเป็น /əv/
-
- Posts: 203
- Joined: Tue Mar 21, 2017 2:51 am
Re: ติวสอบกันค่ะ
Module 8 Intonation 1
ลองทำสรุปเป็นแผนภาพแบบนี้ แล้วโมดูลนี้จะไม่ยากค่ะ
ปล. ภาพอาจจะไม่ชัด แต่เอาไว้เป็นแนวทางให้ลองทำดูเองนะคะ
โดยบทนี้จะยาก ถ้าเรายังจำไม่ได้ว่า คำไหนในประโยคที่ต้องลงเสียงหนัก
ต้องไปทวนเนื้อหา โมดูล 6 ดีๆ ค่ะ จำไว้ว่าเสียงสูงที่คำที่ลงเสียงหนัก(Content words)
ลองทำสรุปเป็นแผนภาพแบบนี้ แล้วโมดูลนี้จะไม่ยากค่ะ
ปล. ภาพอาจจะไม่ชัด แต่เอาไว้เป็นแนวทางให้ลองทำดูเองนะคะ
โดยบทนี้จะยาก ถ้าเรายังจำไม่ได้ว่า คำไหนในประโยคที่ต้องลงเสียงหนัก
ต้องไปทวนเนื้อหา โมดูล 6 ดีๆ ค่ะ จำไว้ว่าเสียงสูงที่คำที่ลงเสียงหนัก(Content words)
şişli travesti
Who is online
Users browsing this forum: No registered users and 1 guest